Container Icon

ตะขบป่า

ตะขบป่า

            วันนี้ขอแนะนำให้รู้จักผลไม้ป่ามหัศจรรย์ทางป่าภาคเหนือ ชื่อ มะเกว๋น
(มีหลายชื่อเรียกครับตานเสี้ยน ภาษากลางตะขบป่า ภาคเหนือมะเกว๋นอีสาน
หมากเบน) ไม้ยืนต้นสูงใหญ่ ลำต้นมีหนามเล็กน้อย เรียนเชิญดูรูปภาพประกอบครับ
 
 
ชื่อสมุนไพร
ตะขบป่า
ชื่ออื่นๆ
เบนโคก (อุบลราชธานี) ตานเสี้ยน มะแกว๋นนก มะแกว๋นป่า มะขบ หมากเบน
ชื่อวิทยาศาสตร์
Flacourtia indica (Burm.f.) Merr.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์
Flacourtiaceae
วงศ์ Salicaceae (Flacourtiaceae)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Flacourtia indica (Burm.f.) Merr.
ชื่อไทย ตะขบป่า, มะเกว๋น
ชื่อท้องถิ่น ตะเพซะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), มะเกว๋น(เมี่ยน,คนเมือง), ลำเกว๋น(ลั้วะ), บีหล่อเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), ตุ๊ดตึ๊น(ขมุ)
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ มะเกว๋นเป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง สูง 7-10 เมตร ลำต้นมีเปลือกสีน้ำตาล กิ่งก้านจะ อ่อนห้อยลู่ลง
ใบ ใบเดี่ยวออกสลับ ใบมีรูปร่างหลายแบบ ทั้งรูปขอบขนานรี รูปไข่ หรือไข่กลับ
ดอก ดอกออกเป็นช่อแบบกระจะที่ปลายยอด มีดอกย่อย 4-6 ดอก ดอกเพศผู้และเพศเมียแยกกันอยู่คนละต้น เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก ดอกเพศเมียมีกลีบเลี้ยงคล้ายดอกเพศผู้
ผล ผลรูปกลมรี เนื้อเละ เมล็ดจำนวนมาก ผลสุกมีสีดำหรือแดง
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผลสุก รับประทานได้(เมี่ยน,คนเมือง,กะเหรี่ยงแดง,ลั้วะ,ขมุ)
- ราก ต้มน้ำดื่มแก้อาการปวดเมื่อย(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
- เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน เป็นโครงสร้างต่างๆ ของบ้าน เช่น เสาบ้าน(ลั้วะ)
อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
สภาพนิเวศ พบในป่าโปร่งทั่วไป ชอบพื้นที่กลางแจ้ง ทนแล้งและน้ำท่วมขังได้ดี


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
 
         ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 2-15 เมตร ลำต้น และกิ่งใหญ่ๆมีหนามแหลม กิ่งแก่ๆมักจะไม่มีหนาม กิ่งอ่อนมีหนามแหลมตามซอกใบ หนามยาว 2-4 เซนติเมตร เรือนยอดแผ่กว้าง ปลายกิ่งโค้งลง เปลือกสีเหลืองอมเทาแตกเป็นร่องลึก มีช่องอากาศรูปรีกระจายห่างๆ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ขนาดค่อนข้างเล็ก มักเรียงชิดกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง รูปร่าง ขนาด เนื้อใบ และขนที่ปกคลุมแตกต่างกัน ส่วนใหญ่แผ่นใบรูปไข่กลับ กว้าง 1.5-3 เซนติเมตร ยาว 2-4 เซนติเมตร ปลายกลม โคนสอบแคบ ขอบใบค่อนข้างเรียบ หรือจัก มักจักใกล้ปลายใบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษถึงหนาคล้ายแผ่นหนัง เกลี้ยงถึงมีขนสั้นหนานุ่มทั้งสองด้าน ใบอ่อนและเส้นกลางใบสีแดงอมส้ม เส้นแขนงใบมี 4-6 คู่ เส้นใบย่อยสานกันเป็นร่างแห พอเห็นได้ลางๆ ก้านใบยาว 3-5 มิลลิเมตร ก้านใบสีเขียวหรือแดง มีขน ก้านใบยาว 3-8 มิลลิเมตร ดอกแบบ ช่อกระจะ ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามซอกใบ และปลายกิ่ง มีขน ดอกย่อยจำนวนน้อย ดอกขนาดเล็ก สีขาว แยกเพศอยู่คนละต้น ที่โคนช่อมีใบประดับ บางทีมีหนาม ก้านดอกยาว 3-5 เซนติเมตร มีขน กลีบดอก 5-6 กลีบ รูปไข่ ปลายมน ยาว 1.5 มิลลิเมตร ด้านนอกค่อนข้างเกลี้ยง ด้านในและที่ขอบกลีบมีขนแน่น ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้ จานฐานดอกแยกเป็นแฉกเล็กน้อย หรือหยักมน มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ก้านเกสรยาว 2-2.5 มิลลิเมตร มีขนเฉพาะที่โคน ดอกเพศเมีย จานฐานดอกเรียบ รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มีรังไข่กลม ปลายสอบแคบ มี 1 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียมี 5-6 อัน ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร แต่ละก้านปลายแยกเป็นสองแฉก และม้วนออก กลีบเลี้ยง 5-6 กลีบ รูปไข่ กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ปลายมน ผิวด้านนอกเกลี้ยง ด้านในและขอบมีขนหนาแน่น ผลกลม หรือรี เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.8-1 เซนติเมตร ออกเดี่ยว หรือเป็นกลุ่ม เป็นพวงเล็กๆ ตามกิ่ง เมื่ออ่อนสีเขียว สุกสีแดงคล้ำ ลักษณะชุ่มน้ำ มี 5-8 เมล็ด มีก้านเกสรเพศเมียติดอยู่ที่ปลายผล ผลจะสุกประมาณเดือนกรกฎาคม ถึงสิงหาคม รับประทานได้ รสหวานอมฝาด พบตามป่าเต็งรัง ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าผสมผลัดใบ ตลอดจนตามริมแม่น้ำ








ใบ และ หนาม




ใบ และ หนาม


ภาพแสดงตัวอย่างพรรณไม้


ประโยชน์ของตะขบป่า

          ตะขบป่า คือ พืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์และสรรพคุณมากมาย ตะขบป่า เป็นชื่อที่เรียกกันในภาคกลาง ส่วนชื่ออื่น ๆ ที่เรียกกันเช่น ตานเสี้ยน มะเกว๋นนก มะเกว๋นป่า (ภาคเหนือ) ต้นตะขบป่าจะถูกพบมากตามป่าเบญจพรรณ ป่าชายหาด และขึ้นประปรายทั่วไป ในที่ระดับนํ้าทะเลถึงความสูง 1,100เมตร มีการเพาะปลูกกันบ้างตามสวนเพื่อกินผล

ตะขบป่า


ลักษณะของตะขบป่า

       ไม้พุ่ม หรือ ไม้ต้น ขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 2-5(-15)เมตร ตามลำต้นและกิ่งใหญ่มีหนามแหลม ยาว 2-4 ซม. เรือนยอดแผ่กว้าง ปลายกิ่งโค้งลง เปลือกสีเหลืองอมเทา แตกเป็นร่องลึก มีช่องอากาศรูปรีกระจายห่าง ๆ
       ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับ ขนาดค่อนข้างเล็ก รูปร่าง ขนาด เนื้อใบ และขนที่ปกคลุมแตกต่างกัน ส่วนใหญ่เป็นรูปไข่กลับ กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 2-4 ซม. ปลายใบกลม โคนใบสอบแคบ ขอบใบค่อนข้างเรียบ หรือ จัก มักจักใกล้ปลายใบ ใบอ่อนและเส้นกลางใบสีแดงอมล้ม เส้นใบมี 4-6 คู่ เส้นใบย่อยสานกันเป็นร่างแห พอเห็นได้ลาง ๆ ก้านใบยาว 3-5 มม. สีแดง มีขน
        ดอก ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบ และที่ปลายกิ่ง มีขน แต่ละช่อมีดอก จำนวนน้อย ที่โคนช่อมีใบประดับ บางทีมีหนาม ก้านดอกยาว 3-5(-7) มม. มีขน
กลีบดอก 5-6 กลีบ รูปไข่ ปลายมน ยาว 1.5 มม. ด้านนอกค่อนข้างเกลี้ยง ด้านในและที่ขอบกลีบมีขนแน่น ดอกแยกเพศ
ดอกเพศผู้ฐานดอกจักมน เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ก้านเกสรยาว 2-2.5 มม. มีฃน เฉพาะที่โคน
ดอกเพศเมีย ฐานดอกเรียบ หรือ ค่อนข้างเรียบ รังไข่กลม ปลายสอบแคบ ก้าน เกสรเพศเมียมี 5-6 อัน ยาวประมาณ 1 มม. แต่ละก้านปลายแยกเป็นสองแฉก และม้วนออก
ผลกลม หรือ รี เล็ก ออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นกลุ่มตามกิ่ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.8-1 ซม. เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีแดงคลํ้า มีก้านเกสรเพศเมียติดอยู่ที่ปลายผล มีเมล็ด 5-8 เมล็ด

ผลตะขบป่า


ประโยชน์และสรรพคุณของตะขบป่า
- ราก กินแก้ไตอักเสบ
- ยางจากต้นใช้เข้าเครื่องยา แก้อหิวาตกโรค
- เปลือกต้น ชงกินแก้เสียงแห้ง อมกลั้วคอแก้เจ็บคอ
- เปลือกตำรวมกับนํ้ามัน ใช้ทาถูนวด แก้ปวดท้อง แก้คัน
- นํ้ายางจากต้น และใบสด กินเป็นยาลดไข้สำหรับเด็ก แก้โรคปอดอักเสบ แก้ไอ แก้บิด และท้องเสีย ช่วยย่อย
- นํ้าต้มใบแห้งกินเป็นยาฝาดสมาน ขับเสมหะ แก้หืด หอบ หลอดลมอักเสบ ขับลม และบำรุงร่างกาย
- ใบที่ย่างไฟจนแห้งใช้ชงกินหลังคลอดบุตร
- ผล กินได้ มีปริมาณวิตามินบีสูง แก้อ่อนเพลีย บรรเทาอาการโรคดีซ่าน ม้ามโต แก้คลื่นไส้ อาเจียน และเป็นยาระบาย
- เมล็ด ตำพอกแก้ปวดข้อ

วิธีทานตะขบป่า




ข้อมูลเพิ่มเติม :   myfirstbrain.com
                         
                          
ภาพประกอบ



























ตะขบป่าที่ได้สายพันธุ์จากตลาดแม่สาย เชียงราย
             ปลูกแบบไม่ได้ดูแล 4 ปี ยังไม่มีผล มีแต่หนาม..(อิ ๆๆ) ต้องบำรุงกันหน่อยแล้ว..(ที่ศูนย์โนอาห์)

























ข้อมูลข้างเคียง : Kaijeaw

4 ความคิดเห็น :

Unknown กล่าวว่า...

มีกิ่งพันธุ์ไหมครับ

Somchai Thonglek กล่าวว่า...

ยังไม่ได้ลองตอนดูครับ แต่..ส่วนมากจะปลูกจากเม็ด นานกว่าจะได้ผล ในป่าธรรมชาติก็ถูกตัดทำลายไปมากจนหาชิมได้ยากมากแล้ว หากตอนได้สำเร็จจะแจ้งอีกครั้งนะครับ.. ขอบคุณที่สนใจ

Unknown กล่าวว่า...

ตอนได้ครับ ขอยืนยัน

Unknown กล่าวว่า...

ดอกเพศผู้เพศเมียแยกกันคนละต้น ถ้าเราปลูกต้นเดียวก็ไม่มีโอกาสได้กินลูกใช่ไหมคะ จะได้ฟันทิ้ง เพราะมีแค่ต้นเดียวเพาะเมล้ดตอนนี้สูง 3 เมตรกว่าแล้วมั๊ง คอนตัดกิ่งล่างๆมีหนามกลัวต่ำหัว

แสดงความคิดเห็น