Container Icon

การปลูกมะดัน

มะดัน




ชื่อวิทยาศาสตร์   Garcinia  schomburgkiana  Pierre 

ชื่อวงศ์   GUTTIFERAE  

ชื่อสามัญ     มะดัน 
ชื่อพื้นเมือง  มะดัน (ภาคกลาง) 

         มะดัน เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก-กลาง  สูง  5-10  ม.  ไม่ผลัดใบ  ทรงพุ่มเขียวชอุ่ม  มีรัศมีทรงพุ่มประมาณ  4-5  ม.  เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม  ลำต้นตรงมีกิ่งแขนงแตกตั้งฉาก  ออกรอบลำต้น  ปลายกิ่งโค้งลง กิ่งแขนงมีเปลือกสีเขียวเข้ม 

รูปทรง (เรือนยอด)  พุ่มทรงกรวย 

         ใบ   ใบเดี่ยว  เรียงตรงกันข้าม  ใบรูปหอก  เนื้อใบหนาและเหนียว  ขนาด 2.5-6x9-12 ซม.  ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน  ไม่มีขน  บางครั้งออกเป็นคู่หรือช่อ  3  ดอก  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม.  กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ  4  กลีบ  ดอก  เดี่ยว  ออกตามซอกใบ  สี    แดงเรื่อหรือสีชมพูออกดอกประมาณปีละ  2  ครั้ง  ระหว่างเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน และระหว่างเดือนธันวาคม - มกราคม 

          ผล  เป็นผลเดี่ยวแบบมีเนื้อหลายเมล็ด  เนื้อหุ้มเมล็ดฉ่ำน้ำรสเปรี้ยว  ผลรูปทรงกระบอกกลม ยาวปลายแหลม ขนาด 2-3x5-7 ซม. ผิวผลเรียบเขียวเป็นมัน  ภายในผลมีเมล็ด 3-6 เมล็ด  ถ้าเมล็ดลีบพูใดพูหนึ่งจะทำให้ผลเบี้ยว  ผลแก่  จะติดผล 2  ครั้ง  ระหว่างเดือนสิงหาคม - ตุลาคม  และระหว่างเดือนเมษายน - มิถุนายน 
 
         พบตามลำธาร  และหนองบึงในป่าดงดิบแล้ง  มีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซีย  ปัจจุบันมีการปลูกทั่วไปตามบ้านเรือนหรือสวน  พบได้ทุกภาคของประเทศไทย 

การขยายพันธุ์และการผลิตกล้า    เพาะเมล็ด 

ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก

ดิน    เกือบทุกชนิดแต่ชอบดินร่วนโปร่ง  มีการระบายน้ำดี  ความอุดมสมบูรณ์และมีความชื้นสูง 

ความชื้น      สูง 

แสง    น้อย - ปานกลาง

การปลูกดูแลบำรุงรักษา   การคัดเลือกพื้นที่และเตรียมพื้นที่ปลูก 

วิธีการปลูกและระยะปลูกที่เหมาะสม   
การเก็บรักษา   ผลมะดันสุกนิยมนำมาเก็บรักษาให้นานโดยการดองเค็ม  แช่อิ่ม  หรือเชื่อม

การแปรรูป  ผลมะดันสุกนิยมนำมาเก็บรักษาให้นานโดยการดองเค็ม  แช่อิ่ม  หรือเชื่อม
การใช้ประโยชน์ทางด้านเนื้อไม้ 

การใช้ประโยชน์ทางด้านนิเวศน์   ป้องกันการพังทลายของหน้าดิน  รักษาความชุ่มชื้นในบรรยากาศ  เป็นแนวกันลม  ฯลฯ

การใช้ประโยชน์ทางด้านโภชนาการ 
         ใบอ่อน  มีรสเปรี้ยวนำมาใช้เป็นผัก  หรือประกอบอาหารได้หลายชนิด  เช่น  ต้มส้ม  แกง  หรือยำใบมะดันอ่อน 

ผล  มีรสเปรี้ยวมากนิยมรับประทานสด โดยจิ้มเกลือ กะปิ หรือน้ำปลาหวาน  ใช้แต่งรสอาหารให้เปรี้ยวแทนมะนาว ได้ดี  นำมาทำน้ำพริกกะปิ  อาหารประเภทยำต่างๆ  หล่นต่างๆ  กินแก้มข้างคลุกกะปิ  นอกจากนี้ยังมีการนำมา แปรรูปได้หลายแบบ  เช่น แช่อิ่ม  ดองเค็ม  เชื่อม  เป็นต้น 

การใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร  
           ราก  มีรสเปรี้ยว  แก้เบาหวาน  แก้ไข้หวัด  แก้ไข้ทับระดู  ขับฟอกโลหิต  กัดเสมหะในลำคอ  แก้กระษัย  แก้ระดูเสีย  เป็นยาระบายอ่อนๆ 

เปลือกต้น  แก้ไข้ทับระดู  แก้โลหิตระดู 
ใบ  มีรสเปรี้ยวแก้หวัด  แก้ไอ  แก้กระษัย  แก้เสมหะพิการ  แก้น้ำลายเหนี่ยว  กัดเสมหะ  แก้ประจำเดือนพิการ  แก้ระดูเสีย  ขับฟอกโลหิต  เป็นยาระบายอ่อน  ขับปัสสาวะ 

ผล  มีรสเปรี้ยว  ล้างเสมหะ  กัดเสมหะ  ฟอกโลหิต  แก้ไอ  แก้ประจำเดือนพิการ 

          มะดัน เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ทั้งด้านการเป็นอาหารที่มีคุณค่าด้านโภชนาการมี วิตามินซีสูง  และเป็นพืชสมุนไพร ที่คนนิยมบริโภคกันมาก  แต่เนื่องจากในปัจจุบันนี้มีจำนวนลดลง  มีการปลูกน้อยมาก  พบเห็นได้ยากจึงหามาใช้ ประกอบอาหารลำบาก  เราจึงไม่ค่อยพบอาหารที่ปรุงจากมะดันเหมือนสมัยก่อน  ดังนั้นน่าจะควรส่งเสริมและ อนุรักษ์ไว้

1 ความคิดเห็น :

Unknown กล่าวว่า...

กระผมขอเนียนถามเรื่องการตอนมะดันครับ
1)มะดันตอนกิ่งได้มั้ยครับ
2)ถ้าตอนได้ช่วยแนะนำด้วยครับ
ขอบคุณครับ

แสดงความคิดเห็น