Container Icon

การปลูกน้ำเต้า(bottle gourd)

 น้ำเต้า


          น้ำเต้าเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งในตระกูลแตง ที่ดูเหมือนว่าจะไม่ได้รับความนิยม เท่าไหร่ในบ้านเรา ทั้ง ๆ ที่น้ำเต้าเป็นพืชที่รับประทานได้ทั้งผลและยอดอ่อน และยังใช้เป็นภาชนะใส่ของเหลวเช่นน้ำได้อีกด้วย
น้ำเต้าเป็นพืชล้มลุกประเภทเถาเลื้อยมีมือไว้ยึดเกาะเกี่ยว มีดอกตัวผู้ และดอกตัวเมียอยู่แยกกันในต้นเดียวกัน ดอกของน้ำเต้าต่างจากพืชชนิดอื่นในตระกูลเดียวกันซึ่งมักจะมีสีเหลือง แต่ดอกน้ำเต้ากลับมีสีขาว จนได้ชื่อว่าฟักดอกขาว (White flower gourd)
            เชื่อกันว่า น้ำเต้ามีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย นักโบราณคดีเชื่อว่า น้ำเต้า เป็นพืชชนิดแรกที่มนุษย์นำมาปลูกก่อนพืชชนิดใด ๆ ที่รู้จักกัน เพราะมีหลักฐานว่าพบเศษเปลือกแห้งของน้ำเต้าอยู่กับหลุมศพของมนุษย์ก่อน ประวัติศาสตร์ซึ่งเมื่อนำไปตรวจหาอายุก็พบว่า น้ำเต้าชิ้นนั้นมีอายุอย่างน้อย 12,000 ปีมาแล้ว น้ำเต้ามีปลูกแพร่หลายทั้งในเขตร้อนและเขตหนาว แม้ว่าจะชอบอากาศร้อนมากกว่า จึงนับได้ว่าน้ำเต้าเป็นพืชที่มีแหล่งปลูกกว้างขวางมากพืชหนึ่ง
            แม้ว่าน้ำเต้าจะเป็นพืชประเภทผัก แต่มนุษย์นำน้ำเต้ามาใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ มากกว่าใช้เป็นอาหารเสียอีก เช่น ใช้เป็นภาชนะใส่ของเหลว เช่นน้ำ หรือเหล้า ใช้แขวนทำเป็นรังนก และใช้ทำเครื่องดนตรี เช่น ชาวอินเดียแดงเผ่า จิวาโร (Jivaro) นำผลน้ำเต้าที่มีส่วนคอยาวกว่า 3 ฟุต มาประดิษฐ์เป็นขลุ่ย ชาวฮินดูในประเทศอินเดีย และชาวอินคาในทวีปอเมริกาใต้สมัยโบราณ ใช้น้ำเต้าแห้งชนิดผลกลมมาทำเครื่องดนตรีชนิดใช้สาย เช่น ซีต้าร์ (Sitar) นอกจากนั้นยังใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้านเรือนเพื่อความสวยงามได้อีก ด้วย
            น้ำเต้าเป็นพืชที่มีขนาดและรูปทรงต่าง ๆ มากมายซึ่งขึ้นอยู่กับพันธุ์ มีทั้งผลกลม ยาวแป้น ทรงกระบอก เรียว ตรง บูดเบี้ยว คดงอ ซึ่งทำให้เกิดความงามไปอีกแบบหนึ่ง
ผลน้ำเต้าที่ใช้รับประทานได้ควรจะเป็นผลเมื่อยังอ่อนอยู่เพราะเมื่อผลแก่ จะมีเนื้อน้อยลง เปลือกหนาขึ้น รังเมล็ดจะมีมากขึ้นจนเนื้อแท้ ๆ แทบไม่มี และรสชาติเลวลงไม่อร่อยเหมือนเมื่อผลยังอ่อนอยู่
น้ำเต้าเป็นพืชที่ปลูกง่ายและขึ้นได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย และไม่ต้องกังวลกับปัญหาเรื่องโรคและแมลงเพราะมีน้อยมาก

การปลูก
             วิธีการปลูกน้ำเต้า และการปฏิบัติบำรุง ทำเช่นเดียวกับการปลูกฟักทอง ถ้าปลูกให้เลื้อยไปตามดินก็ได้ผลดี แต่ถ้าใช้พันธุ์ผลยาวปลูกควรทำค้างหรือร้านให้น้ำเต้าเลื้อยขึ้นจะได้ผลงาม น้ำเต้าสามารถทนแห้งแล้ง ทนแดด ทนน้ำได้ดีกว่าฟักทองเสียอีก


ข้อมูลเพิ่มเติม

น้ำเต้า (bottle gourd) 

น้ำเต้า bottle gourd

น้ำเต้า (bottle gourd) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagenaria siceraria Standl. ชื่อ เรียกในท้องถิ่น : คิลูส่า, มะน้ำเต้าเป็นไม้เถา ขนาดใหญ่ ซึ่งอาจมีความยาวกว่า 10 เมตร ลำต้นเป็นเหลี่ยม มีมือเกาะที่แยกออกเป็น 2 ทาง ใบมีขนาดใหญ่คล้ายรูปหัวใจ ผิวใบ ขนนุ่มทั้ง 2 ด้าน มีรอยหยักบริเวณใบ 5-9 หยัก ก้านใบยาวประมาณ 20 ซม. รากจะเป็นระบบรากตื้น ในส่วนของผลมีตั้งแต่ ขนาด เล็กจนถึงขนาดใหญ่
ผลมีเนื้อในสีขาวหรือสีเขียวค่อนข้างจะนุ่ม เปลือกมีสีเขียวเป็นลาย จริง ๆ แล้วน้ำเต้ามีอยู่หลายสายพันธุ์ อาทิ น้ำเต้าพื้นบ้าน น้ำเต้าทรงเซียน ซึ่งเป็นทรงที่นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับ ถ้าเราดูหนังจีนจะเห็นว่ามีน้ำเต้าทรงเซียนที่นักแสดงนำมาประกอบฉาก แต่น้ำเต้าพื้นบ้านเราก็สามารถนำมาตากแห้งเคลือบแล็กเกอร์ทำเป็นเครื่อง ประดับ ก็ได้แต่ไม่ค่อยนิยม กันเท่าไรนัก เนื่องจากผิดกัน ตามรูปทรง ส่วนใหญ่จะนิยมรับประทานมากกว่า
แหล่งที่พบ น้ำเต้า (bottle gourd) จะเห็นว่าน้ำเต้าสามารถปลูกที่ใดก็ได้ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินและถ้านำไป ปลูกก็จะขึ้นอยู่กับ ผู้ที่ปลูกว่ามีการดูแลรักษามาก น้อยเท่าใด นิยมใช้เมล็ดในการขยายพันธุ์
การปลูกน้ำเต้า (bottle gourd) จะต้องเตรียมดินให้มีการไถพรวน และยกร่องแปลงปลูกกว้างประมาณ 4 เมตร จะนิยมขุดหลุมปลูกให้กว้าง 15-20 เซนติเมตร ลึก 2-3 เซนติเมตร ขุดกลุมห่างกัน 2 เมตร แล้วนำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักมารองก้นหลุม หลังจากนั้นก็หยอดเมล็ดลงในหลุมปลูกที่เตรียมไว้ ในพื้นที่ปลูก 1 ไร่ จะใช้เมล็ดน้ำเต้าจำนวน 1.5 กิโลกรัม หยอดหลุมละ 2-3 เมล็ด กลบด้วยดินร่วนให้มีความหนาประมาณ 1-2 เซนติเมตร นำฟางข้าวแห้งหรือหญ้าคาคลุมบนหลุมเพื่อรักษาความชื้นในดินให้มากที่สุด หลังจากนั้นรดน้ำให้ชุ่มไปเรื่อย ๆ ประมาณ 7- 10 วัน จนกว่าน้ำเต้าจะงอก หมั่นดูแลหากต้นน้ำเต้าขึ้นมาทั้งหมดให้ถอนทิ้งให้เหลือเพียง 2 ต้นก็พอ เพื่อให้เจริญเติบโตเต็มที่
การดูแลรักษา น้ำเต้า (bottle gourd) หลังการปลูก น้ำเต้าเป็นพืชที่มีระบบรากตื้น ต้องการความชื้นปานกลาง หลังจากต้นโตให้รดน้ำประมาณ 3-5 วัน/ครั้ง แต่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพของ ดินปลูก ว่ามีความแห้งแล้งเพียงใด ถ้าอากาศร้อนมาก ๆ ดินปลูกเริ่มแห้งก้ต้องรดน้ำให้ถี่ขึ้น แต่ต้องคอยดูไม่ให้ดินแฉะมากเกินไป อาจทำให้เกิดโรครากเน่า หลังปลูกไปได้ประมาณ 25-30 วัน หรือเริ่มมีใบจริง 4-5 ใบ จึงเริ่มใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ในอัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่บริเวณโคนต้น ไม่ควรพรวนดินให้ลึกเกินไป เพราะอาจเกิดความเสียหายต่อระบบรากไปจนถึงต้นเลยทีเดียว
การกำจัดวัชพืช ควรจะมีการกำจัดวัชพืชให้น้ำเต้า อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องในช่วงที่น้ำเต้ายังเล็กอยู่ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะคลุมพื้นที่ปลูกทั้งหมด จะช่วยลดการกำจัดวัชพืชลงได้บ้างบางส่วน
โรคและแมลง น้ำเต้า มีโรคและแมลงรบกวนค่อนข้างน้อย เนื่องจากใบของน้ำเต้ามีกลิ่นเหม็น แมลงไม่ชอบ มีข้อควรระวังอย่างเดียวคือ เรื่องของการให้น้ำอย่าแฉะเกินไปจนทำให้เกิดโรคราก-โคนเน่า
การเก็บเกี่ยวผลผลิต น้ำเต้า (bottle gourd) หลังจากปลูกไปแล้วประมาณ 55-60 วัน ก็เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิต ให้เราเลือกผลที่เหมาะที่จะนำมารับประทานมากที่สุดให้สังเกตในช่วง หลังดอกบาน 6-7 วัน ให้เริ่มทยอยเก็บ จะเก็บในลักษณะวันเว้นวัน ทำเช่นนี้ไปจนหมดผลผลิต
การใช้ประโยชน์ของน้ำเต้า (bottle gourd) ผลน้ำเต้าสามารถนำมารับประทานกับน้ำพริก ผัดกับหมูและไข่ แกงส้ม สรรพคุณทางยา ใบ แก้ตัวร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เริม เป็นต้น
คุณสมบัติในการใช้รักษาโรคของน้ำเต้า (bottle gourd)
1. โรคเบาหวาน
2. ท่อปัสสาวะอักเสบ
3. โรคปอดอักเสบ จะใช้ส่วนที่เป็นเปลือกสดรับประทาน
4. แก้ปวดฝีในเด็ก โดยใช้น้ำเต้าหั่นเป็นชิ้น ๆ ผสมขิงต้มเป็นน้ำซุปรับประทาน
5. โรคลูกอัณฑะบวมให้ใช้ลูกน้ำเต้ามาต้มรับประทาน
6. โรคทางลำคอให้ใช้ลูกน้ำเต้าที่แก่ ๆ ตัดจุก แล้วใส่น้ำไว้รับประทานเป็นโรคประจำจะสามารถป้องกันรักษาโรคทางลำคอได้

4 ความคิดเห็น :

nokeyak กล่าวว่า...

มีลูกน้ำเต้าเซียนขายไหมค่ะ

Unknown กล่าวว่า...

น้ำต้ำเป็นโรครากเน่าเริ่มตายไปเรื่อยๆมีวิธีแก้ไหมคะ

Unknown กล่าวว่า...

น้ำเต้าที่ได้เก็บผลิตแล้วควรใส่ปุ๋ยอะไรเพื่อให้ลูกดกคะ

เกียรติยศ สูญราช กล่าวว่า...

ขออ้างอิงได้ไหมครับผมอยากทำวิจัยต่อครับผม

แสดงความคิดเห็น