Container Icon

ปลูกตะลิงปลิง วิตามินซีสุดยอด

มาปลูกตะลิงปลิง ผลไม้ไทย

 ตะลิงปลิง สรรพคุณและประโยชน์ของตะลิงปลิง 26 ข้อ

ตะลิงปลิง

ตะลิงปลิง

          ตะลิงปลิง ภาษาอังกฤษ Bilimbi, Bilimbing, Cucumber Tree, Tree Sorrel ตะลิงปลิง ชื่อวิทยาศาสตร์ Averrhoa bilimbi L. จัดอยู่ในวงศ์ Oxalidaceae มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกเช่น มูงมัง (เกาะสมุย), กะลิงปริง ลิงปลิง ลิงปลิง ปลีมิง (ระนอง), บลีมิง (นราธิวาส), มะเฟืองตรน, หลิงปลิง(ใต้) เป็นต้น โดยมีถิ่นกำเนิดในแถบชายฝั่งทะเลของบราซิล เป็นไม้ผลที่นิยมปลูกทั่วไปเพราะลำต้นมีพวงแน่นที่สวยงาม และยังเป็นพืชร่วมวงศ์กับมะเฟือง แต่จะแตกต่างกันอย่างชัดเจนตรงขนาดของผล โดยผลมะเฟืองจะมีขนาดใหญ่กว่าผลตะลิงปลิง

          ลักษณะตะลิงปลิง เป็นพืชในเขตร้อน ต้นตะลิงปลิง เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 5-15 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นสีชมพู ผิวเรียบมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ตามกิ่ง ลักษณะของใบตะลิงปลิง เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบสีเขียวอ่อนมีขยยุ่มปกคลุม ใบคล้ายรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบมน ในหนึ่งก้านจะมีใบย่อยประมาณ 11-37 ใบ ขนาดใบกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 2-5 เซนติเมตร ส่วนลักษณะของดอกตะลิงปลิง จะออกดอกเป็นช่อหลายช่อ ตามกิ่งและลำต้น โดยในแต่ละช่อจะมีความยาวไม่เกิน 6 นิ้ว ลักษณะดอกมีกลีบ 5 กลีบ ดอกสีแดงเข้ม มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบสีเขียวอมชมพู มีเกสรกลางดอกสีขาว

ต้นตะลิงปลิง 

           ผลตะลิงปลิง ลักษณะกลมยาวปลายมน ผลยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร เป็นพูตามยาว ออกผลเป็นช่อห้อย ผิวของผลมีลักษณะเรียบสีเขียว แต่เมื่อสุกแล้วจะกลายเป็นสีเหลือง เนื้อข้างในเป็นเนื้อเหลว มีรสเปรี้ยว และมีเมล็ด ลักษณะของเมล็ดตะลิงปลิงจะแบนยาวมีสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของตะลิงปลิง (เฉพาะส่วนที่กินได้) ต่อ 100 กรัม

ข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN)

สรรพคุณของตะลิงปลิง

  1. ตะลิงปลิงช่วยทำให้เจริญอาหาร (ผล)
  2. ช่วยแก้พิษร้อนใน แก้กระหายน้ำ (ราก)
  3. ผลใช้ผสมกับพริกไทย นำมารับประทานจะช่วยขับเหงื่อได้ (ผล)
  4. ตะลิงปลิง สรรพคุณช่วยฟอกโลหิต (ผล)
  5. ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ผล)
  6. ในประเทศฟิลิปปินส์ใช้ใบพอกรักษาคางทูม (ใบ,ราก)
  7. สมุนไพรตะลิงปลิง ช่วยลดไข้ (ผล)
  8. ช่วยดับพิษร้อนของไข้ (ราก)
  9. ดอกตะลิงปลิง นำมาชงเป็นชาดื่มช่วยแก้อาการไอ (ดอก,ผล)
  10. ช่วยละลายเสมหะ แก้เสมหะเหนียวข้น (ผล)
  11. ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร (ผล,ราก)
  12. ช่วยแก้อาการเลือดออกตามกระเพาะอาหารและลำไส้ (ราก)
  13. ช่วยรักษาอาการอักเสบของลำไส้ (ใช้ใบต้มดื่ม,ราก)
  14. ช่วยรักษาซิฟิลิส (Syphilis) (ใช้ใบต้มดื่ม,ราก)
  15. ช่วยบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร (ผล,ราก)
  16. ลูกตะลิงปลิงสรรพคุณของตะลิงปลิงใช้เป็นยาบำรุงแก้อาการปวดมดลูก (ผล)
  17. ช่วยบรรเทาอาการของโรคเก๊าท์ (ราก)
  18. ใบใช้รักษาโรครูมาตอยด์ (ใบ)
  19. ช่วยแก้ไขข้ออักเสบ (ใบ,ราก)
  20. ช่วยฝาดสมาน (ผล,ราก)
  21. ใบช่วยรักษาอาการอักเสบ (ใบ)
  22. ใบตะลิงปลิง ใช้พอกแก้อาการคันลดอาการบวมแดงให้หายเร็วขึ้น หรือใช้ต้มอาบก็ได้ (ใบ,ราก)
  23. ประโยชน์ของตะลิงปลิง ใบสามารถนำพอกใช้รักษาสิวได้ (ใบ,ราก)
  24. มีผลงานวิจัยที่ประเทศสิงคโปร์พบว่าสารสกัดน้ำของสารสกัดเอทานอลของใบ ตะลิงปลิง สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดของสัตว์ทดลองได้เป็นอย่างดี
  25. งานวิจัยในประเทศฟิลิปปินส์ชี้ว่าน้ำคั้นจากผลตะลิงปลิงมีฤทธิ์ในการคุม กำเนิด โดยได้ทดลองกับสุกรและหนู พบว่าร้อยละ 60 ของหนูทดลองหลังผสมพันธุ์แล้วไม่ติดลูก โดยเชื่อว่าสเตอรอยด์ไกลโคไซด์และกรดออกซาลิกในน้ำคั้นมีส่วนในการออกฤทธิ์ คุมกำเนิดดังกล่าว
  26. ประโยชน์ตะลิงปลิง ผลสามารถนำมารับประทานร่วมกับพริกเกลือ หรือนำไปใส่แกงก็ได้ ทำเป็นตะลิงปลิงตากแห้ง หรือทำเป็นเครื่องดื่ม นํ้าตะลิงปลิง

น้ำตะลิงปลิง

  1. วิธีทำน้ำตะลิงปลิง อย่างแรกให้เตรียมวัตถุดิบ โดยส่วนผสมน้ำตะลิงปลิง มีดังนี้ ตะลิงปลิง 1/2 กิโลกรัม / เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ / น้ำตาล 2 ถ้วย / น้ำ 3 1/2 ถ้วย / น้ำเชื่อม
  2. สำหรับสูตรการทำน้ำตะลิงปลิง ให้เอาน้ำกับน้ำตาลตั้งไฟพอเดือดจนละลายดีแล้วให้ยกลง ทิ้งไว้ให้เย็น
  3. นำตะลิงปลิงมาล้างให้สะอาด เอาขั้วและเมล็ดออก แล้วนำมาเป็นชิ้นๆ แบ่งเป็น 2 ส่วน
  4. นำตะลิงปลิงใส่เครื่องปั่น 1 ส่วน และเติมน้ำเชื่อมลงไปครึ่งหนึ่งจนถึงจุดที่ปั่นแล้วไม่ล้นเครื่องปั่น แล้วเติมเกลือ 1/2 ช้อนโต๊ะลงไป แล้วปั่นให้ละเอียด
  5. เมื่อปั่นเสร็จให้เทลงในตะแกรง กรองเอากากออก แล้วทำแบบเดิมกับตะลิงปลิงส่วนที่เหลือก็จะได้น้ำตะลิงปลิงที่เข้มข้นมากข้น ประมาณเหยือก 1 ลิตร
  6. เสร็จแล้ว “น้ำตะลิงปลิง” ลองชิมรสชาติดูได้เลย ถ้าชอบเค็มก็เติมเกลือเพิ่ม แต่ถ้าอยากให้หวานน้อยลงก็ให้เติมน้ำสุกเย็นตามความเหมาะสม กะให้รสหวานเปรี้ยวกำลังดีเมื่อผสมกับน้ำแข็งเกล็ด
แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), เว็บไซต์หมอชาวบ้าน, เว็บไซต์โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย, เว็บไซต์ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ขอบคุณแหล่งข้อมูล

ภาพประกอบ



















0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น