Container Icon

ผักขี้หูด

ผักขี้หูด  (Raphanus sativus Linn.)


1. ชื่อ ผักขี้หูด
2. ชื่ออื่น ขี้หูด
3. ชื่อวิทยาศาสตร์ Raphanus sativus Linn.
4. วงศ์ CRUCIFERAE
5. ชื่อสามัญ        -
6. แหล่งที่พบ  ภาคเหนือ
7. ประเภทไม้  ไม้ล้มลุก
8. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
     ต้น   เป็นไม้ล้มลุก อายุ 1 ปี หรือ 2 ปี สูง 30-90 ซม.
     ใบ   ใบมีรูปร่างคล้ายใบผักกาด ผิวใบเรียบหรือมีขนเล็กน้อยสีเขียว ส่วนปลายของใบ
            ยาวได้ถึง 20 ซม. ส่วนข้างของใบมี 1-3 คู่
     ดอก  เป็นช่อดอกมีขนาดเล็กสีขาวอมม่วง กว้าง 8-10 มม. ยาว 10-30 มม.
     ผล   เป็นฝักขนาดเล็ก ขนาด 0.5 ซม. ยาว 7-8 ซม. ภายในมีเมล็ด 1-6 เมล็ด

9. ส่วนที่ใช้บริโภค ดอกอ่อน ฝักอ่อน
10. การขยายพันธุ์ เมล็ด
11. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ปลูกในช่วงฤดูหนาว บริเวณภาคเหนือ
12. ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ฤดูหนาว
13. คุณค่าทางอาหาร คุณค่าทางอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม ประกอบด้วย
14. การปรุงอาหาร ดอกและฝักอ่อน นำมาลวกหรือต้มให้สุกรับประทานเป็นผักร่วมกับน้ำพริก และนำมาปรุง อาหาร เช่น ผัด แกงแค
15. ลักษณะพิเศษ ผักขี้หูด มีรสเผ็ดเล็กน้อย แต่เมื่อทำให้สุกจะมีรสหวาน มัน
16. ข้อควรระวัง : (จะติดใจ) 


เพิ่มเติมครับ..

               ผักขี้หูด หรือผักผ่อง ในภาษาอีสาน เป็นผักพื้นบ้านที่นิยมนำฝักอ่อน มาประกอบอาหาร เช่น แกง ลวกหรือนึ่งจิ้มน้ำพริก รสหวาน เหมือนกวางตุ้ง

             มีเมล็ดพันธุ์จำหน่าย  บรรจุ ประมาณ 100-150 เมล็ด ต้นทรงพุ่ม สูงประมาณ 80-100 ซม. ติดฝักไวและให้ผลผลิตสูงอัตราการงอก 70-80%




0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น