Container Icon

มันเทศ มันไทย (The sweet potato)

มันเทศ  Sweet potato 

การปลูกมันเทศ


มันเทศ
ชื่อวงศ์
Convolvulaceae
ชื่อสามัญ
Sweet potato



ชื่อวิทยาศาสตร์
Ipomoea batatas (L.) Lam.
ชื่ออื่นๆ
-
             ทุกวันนี้มันเทศไทยดั้งเดิมค่อนข้างหาทานลำบากแล้ว แต่จะพบขายในห้างสรรพสินค้า ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นสายพันธุ์เมืองนอก นำเข้ามาราคาแพงเกินกว่าคนชาวบ้านทั่ว ๆไปจะซื้อมากินได้บ่อย ๆนัก มันเทศไทยดั้งเดิมชาวบ้านขายในไร่กิโลกรัมและ 2-5 บาท ไปถึงกรุงเทพฯก็ 25 บาท แต่มันเทศต่างประเทศที่เข้ามาในตลาดกลางเมือง เช่น มันเทศจากญี่ปุ่น  มันเทศจากเกาหลี มันเทศจากไต้หวัน หรือมันเทศจากจากอินโดนีเซีย เป็นต้น ราคาจะหลัก100-1,000 บาท ส่วนสายพันธุ์ไทยนั้นขาดการดูแล อนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ ก็มีอันจะสูญหายไป และหายากมากขึ้นแล้วจริง ๆ
              มันเทศเป็นพืชอาหารที่มีความสำคัญอันดับที่ ๕ ของโลกรองจากข้าวสาลี ข้าวเจ้า ข้าวโพด และมันฝรั่ง ในประเทศไทยเราแม้จะปลูกมันเทศกันทั่วๆ ไป แต่ไม่ใคร่เป็นล่ำเป็นสันเท่าใดนัก เพราะเรามีข้าวเจ้าเป็นอาหารหลักอยู่แล้ว
         มันเทศมีหลายสายพันธุ์ หลายสี เช่น เนื้อสีขาว สีส้ม สีม่วง เฉพาะในประเทศไทยมีมันเทศกว่า 500 สายพันธุ์
      แม้รสชาติพันธุ์ดั้งเดิมในไทยและต่างประเทศจะแตกต่างกัน หรือแม้แต่สายพันธุ์เดียวกันปลูกพื้นที่ต่างกัน สภาพดิน อากาศต่างกัน การดูแลรักษาที่ต่างกันอาจจะทำให้รสชาติและคุณภาพแตกต่างกันได้
  จากการศึกษาเพิ่มเติมคุณค่าทางโภชนาการของมันเทศสายพันธุ์ไทย เกี่ยวกับการต้านการเกิดไกลเคชั่น ซึ่งเป็นการทำปฏิกิริยาระหว่างน้ำตาลกับโปรตีนในร่างกาย ทำให้เซลล์แก่ และมักพบในผู้สูงอายุ หรือในกรณีผู้ป่วยเบาหวาน น้ำตาลจะไปจับโปรตีนในเซลล์ เส้นเลือดเสื่อมสภาพเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น
  และจากการทดลองกับแมลงหวี่ ซึ่งมีระบบเอนไซม์คล้ายกับมนุษย์พบว่า มันเทศเนื้อสีม่วงมีส่วนช่วยในการชะลอความแก่ได้ 13% มันเทศสีเหลือง 11% มีประสิทธิภาพในการชะลอความแก่ให้มนุษย์เพิ่มเติม และศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องของการยับยั้งโรคเบาหวาน โรคอัลไซเมอร์ ความดัน โลหิตสูง ต้านการอักเสบ และโรคอ้วน ต่อไป
                แต่ไม่ว่าจะเป็นมันเทศสายพันธุ์ไทยหรือสายพันธุ์ใหม่จากต่างประเทศ รูปร่างไม่ค่อยสวยงาม แต่เรื่องคุณค่าทางโภชนาการนั้นไม่ได้แพ้สายพันธุ์นอกเลย
1.สายพันธุ์ ได้แก่
1.1 พันธุ์โอกุด เถาเลื้อยยาวพอควร ใบเป็นแฉก เนื้อในสีเหลืองอ่อนนิยมมากในบ้านเรา
1.2 พันธุ์ไทจุง เถาไม่เลื้อยมากนัก ลำต้นลักษณะคล้ายทรงพุ่ม ใบเป็นแฉก หัวรูปร่างคล้ายรูปไข่ เนื้อในมีสีเหลีองต้มหรือนึ่งจะไม่เละ
1.3 พันธุ์ห้วยสีทน 1 เถาว์เลื้อยยาว ใบกว้างพอประมาณ เนื้อในสีแดงรสหวาน
2. การเตรียมดิน ควรไถดินลึกไม่ตํ่ากว่า 25-30 เซนติเมตรตากดิน 7-10 วันใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วประมาณ 1.5-2 ตันต่อไร่พรวนดินหรือย่อยดินคลุกเคล้าให้เข้ากันและควรใส่ปูนขาวเพื่อ ปรับสภาพดินด้วย ทำการยกร่องแบบร่องปลูกข้าวโพดหวานเพื่อจะปลูกบนสันร่อง
3. การปลูก ใช้ ระยะปลูกระหว่างต้น 30-50 เซนติเมตรระหว่างแถว 100 เซนติเมตรขุดหลุมบนสันร่องตามระยะปลูกใช้ท่อนพันธุ์วางทำมุมกับพื้นประมาณ 40-60 องศา ลึกลงไปในดินประมาณ 8-10 เซนติเมตรกลบดินด้วยดินผสมหรือดินละเอียดรดนํ้าให้ชุ่ม
4.การให้นํ้าระยะแรกที่ปลูกต้องให้นํ้าจนกว่าจะติดหรือเจริญเติบโตดีแล้วสามารถงดการให้นํ้าได้
เพราะมันเทศเป็นพืชทนแล้งได้ดีและควรงดการไห้นํ้าก่อนการเก็บเกี่ยวประมาณ 3-4 สัปดาห์เพื่อสะดวกในการขุดหัว
5. การใส่ปุ๋ย ครั้ง แรกใส่รองก้นหลุมใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 10-10-20 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ครั้งที่ 2 เมื่อต้นมันอายุได้ประมาณ 15 วัน และครั้งที่ 3 เมื่อมันอายุได้ 30 วันอัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ตามความอุดมสมบูรณ์ของดินแล้วพรวนดินกลบโคน
7. การเก็บเกี่ยว อายุการเก็บเกี่ยวหัวมันเทศประมาณ 90-150 วันแล้วแต่พันธุ์ที่ปลูกสังเกตจากผิวต้นบริเวณโคนต้นมันเทศจะแตกแยกออกเป็น รอยหรือทดลองขุดดูสัก 2-3 ต้นใช้มีดตัดหัวมันเทศถ้าแก่เต็มที่รอยตัดจะมียางไหลซึมออกมาและแห้งไปอย่างรวดเร็ว การขุดต้องระมัดระวังอย่าให้บอบชํ้าหรือมีรอยแผล นำหัวที่ขุดมาไปผึ่งลมให้ดินที่ติดมาแห้งและหลุดร่วงไป ทำความสะอาด คัดขนาดบรรจุถุงรอการจำหน่าย
8. โรค โรคใบจุด โรคหัวเน่าควรฉีดพ่นด้วย มาเน็บ หรือรอยตัดที่หัวหรือแผลทาด้วยนํ้าปูนใสหรือบอร์โดมิกซ์เจอร์
9. แมลง ได แก่ ด้วงงวงมันเทศ หนอนชอนใบมันเทศควรฉีด พ่นด้วยคาร์โบซัลแฟนหรือใช้รองก้นหลุม ด้วยคาร์โบซัลแฟน หรือคาร์โบฟูรานและฉีดพ่นด้วย อะบาเม็กติน

ขอบคุณแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม :

มันเทศและคุณค่าทางอาหาร







เมนูอาหารมันเทศ







ประโชชน์ดี ๆ 8 ข้อ ของมันเทศ







มันเทศ มันไทย







ขนมไข่นกกระทา จากมันเทศ







สูตรมันเทศทอด







มันเทศทำขนมรังนก







มันเทศไทย อร่อย คุณค่าสูง








การปลูกมันเทศ ที่ญี่ปุ่น








เทคนิคการปลูกมันเทศให้หัวดก








การปลูกมันเทศหลังฤดูทำนาปี







การปลูกมันเทศพันธ์ดีสร้างรายได้ดี








ปลูกมันเทศญี่ปุ่นสลับผักสวนครัวแบบพอเพียง

ผักไชยา คะน้าเม็กซิโก

ผักไชยา คะน้าเม็กซิโก



คะน้าเม็กซิโกผักโขมต้น หรือ ชายา (สเปนchaya) เป็นไม้พุ่มหลายปีชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์เดียวกับยางพาราและสบู่ดำ เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดในคาบสมุทรยูกาตันของประเทศเม็กซิโก[3] มีลำต้นอวบน้ำซึ่งจะคายน้ำยางขาวออกมาเมื่อถูกตัด ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่ โตเร็ว สามารถสูงได้ถึง 6 เมตร แต่มักถูกลิดกิ่งก้านออกให้สูงประมาณ 2 เมตรเพื่อให้เด็ดใบมาใช้ประโยชน์ง่ายขึ้น ใบกว้าง มีแฉกตั้งแต่ 3 แฉกขึ้นไป คะน้าเม็กซิโกเป็นผักกินใบยอดนิยมชนิดหนึ่งในตำรับอาหารเม็กซิโก กัวเตมาลา และอเมริกากลาง (บริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากตำรับอาหารมายา)


คะน้าเม็กซิโกเป็นแหล่งที่ดีของโปรตีนวิตามินแคลเซียมโพแทสเซียม และเหล็ก และยังเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ของสารต้านอนุมูลอิสระ[5] ที่จริงแล้ว ใบคะน้าเม็กซิโกยังมีระดับสารอาหารสูงกว่าผักใบเขียวชนิดใด ๆ ที่ปลูกบนดินถึง 2-3 เท่าอีกด้วย[6][7] อย่างไรก็ตาม ใบคะน้าเม็กซิโกดิบนั้นมีพิษเนื่องจากมีสารกลูโคไซด์ซึ่งจะปลดปล่อยสารพิษจำพวกไซยาไนด์ออกมา จึงจำเป็นต้องทำให้สุกก่อนรับประทาน โดยใช้เวลาประมาณ 15 นาทีในการทำให้สุกเพื่อลดฤทธิ์ของสารที่เป็นพิษให้อยู่ในระดับปลอดภัย[8] การต้มในภาชนะอะลูมิเนียมอาจทำให้น้ำต้มเป็นพิษและก่อให้เกิดอาการท้องร่วงได้[7]






คะน้าเม็กซิโกสามารถนำไปปรุงอาหารได้หลายอย่าง วิธีปรุงดั้งเดิมอย่างหนึ่งในเม็กซิโกและอเมริกากลางจะนำใบไปแช่น้ำแล้วต้มไฟอ่อนประมาณ 20 นาที จากนั้นเสิร์ฟกับน้ำมันหรือเนย นอกจากนี้ยังมีการนำใบที่หั่นและทำให้สุกแล้วไปคลุกข้าวรับประทานกับอาหารรสจัด, นวดผสมกับมันฝรั่งบดแล้วทอด, นวดผสมกับแป้งข้าวโพดแล้วจี่เป็นตอร์ตียาหรือนึ่งเป็นตามัล, ผสมกับมะเขือเทศ หัวหอม ผักชี และพริกหั่นลูกเต๋าทำเป็นเครื่องจิ้ม หรือนำใบอ่อนและยอดอ่อนที่หนานุ่มไปต้มแล้วปรุงรับประทานอย่างผักโขม เป็นต้น


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง :



เมนูอาหารผักไชยา

จิงจูฉ่าย Artemisia lactiflora ‘Guizhou’

จิงจูฉ่าย

จิงจูฉ่าย ชื่อภาษาไทยควรชื่อ โกฐจุฬาลัมพา'กุ้ยโจว'


               จิงจูฉ่าย (Artemisia lactiflora) ถูกนำเข้ามาสู่ประเทศไทยโดยชาวจีนช่วงเวลาไม่ทราบแน่ชัด ถือกำเนิดจากมณฑล กุ้ยโจว ประเทศจีน เป็นพืชชนิดไม้ยืนต้นคือมีอายุเกิน3ปี ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในเมกาหรือยุโรป ฝรั่งนิยมเลี้ยงเป็นไม้ประดับเพราะดอก, ถูกค้นพบในประเทศจีนในปลายศตวรรษที่ 19 โดยนักล่าต้นไม้ชาวอังกฤษี ชื่อ เออร์เนส วิลสัน(Earnest H. Wilson) สูงประมาณ 5 ฟุต ดอกเล็ก ๆ ดอกสีครีมสีขาวส่งกลิ่นหอมในฤดูหนาว ตามช่วงปลายกิ่งแขนง panicled กระจายที่ปลายสุดของกิ่งสีแดงแผ่ก้านสาขาปกคลุมลำต้นมีใบสีเขียว ใบมีฟันลึก, ลำต้นสีม่วงเข้มที่เกือบดำที่ฐานของพืช ดอกมีกลิ่นหอมคล้ายองุ่น,
                ใช้ในการปรุงอาหารทางเอเชีย - มันถูกเรียกว่า Yomogi-na ในประเทศญี่ปุ่นและ "Junn jui" ในประเทศจีน -  ถือได้ว่าเป็น potherb และเครื่องปรุงสำหรับเค้กข้าว ส่วนที่ในเมกา  ไม่เป็นที่รู้จักว่าเป็นสมุนไพร ฝรั่งใช้สำหรับการจัดดอกไม้หรืองานฝีมือดอกไม้แห้ง

               ต้นจิงจูฉ่าย ชอบความชื้นสูงออกดอกในฤดูใบไม้ร่วงและจะบานอยู่หลายอาทิตย์ มันยังเจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มหรือใต้เงาไม้ใหญ่
               ตามการวิเคราะห์ต่อ 100 กรัมในนอกจากจะมีวิตามินขึ้นถึง 4, 500 หน่วยสากลของวิตามิน C 36 mg, ฟอสฟอรัส 48 mg, แคลเซียม 45 มิลลิกรัม ยังมีโปรตีนไขมัน คาร์โบไฮเดรตเหล็กและวิตามิน B1, B2 และสารอาหารอื่น ๆมากมายและมีกลิ่นหอมใช้เป็นประจำจะส่งเสริมการเจริญเติบโตของกระดูกและการเผาผลาญอาหารและยังทำให้เจริญอาหารอาหาร,การเจริญเติบโตทางกายภาพและเสริมเม็ดเลือดและคลายความเครียดอาการปวดฟันป้องกัน ความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ละเอียดอ่อนมาก Carraghenates ใย Youzhu มียังช่วยย่อยอาหารและ การรับรู้ความสามารถของอาการท้องผูก


ชื่อสากล: 
Common Names: White mugwort, wormwood, ghostplant, angle dish, pearl dish, (En); artémise (Fr); ajenjo blanco (Sp);Junn Jui, 角菜, 珍珠菜 (Cn) จิงจูฉ่าย(Th)
Type: Herbaceous perennial / เป็นสมุนไพรยืนต้น
Family: Asteraceae
Zone: 3 to 8
Height: 4 to 5 feet / สูง 1.5 เมตร
Spread: 1.5 to 2 feet พุ่มกว้าง 0.5 เมตร
Bloom Time: August to September / ออกดอก สค-กย
Bloom Description: Creamy white / ดอกสีครีม'ขาว
Sun: Full sun / ชอบแดด
Water: Medium / ชอบความชื้นสูง
Maintenance: Medium
Flowers: Showy Flowers
Wildlife: Attracts Butterflies
Tolerates: Drought, Deer, Rabbits

ชื่อภาษาอังกฤษ: White Mugwort
ชื่อวิทยาศาสตร์: Artemisia lactiflora Wall, Artemisia lactiflora Wallich Dc
ครอบครัว:แอสเทอ (แอสเท) Artemisia (อาร์ที)
นามทั่วไป White mugwort, wormwood, ghostplant, angle dish, pearl dish, (En); artémise (Fr); ajenjo blanco (Sp);Junn Jui, 角菜, 珍珠菜 (Cn) จิงจูฉ่าย(Th) (จากเภสัชไต้หวัน: ผักมุก Loosestrife,
ผักชีฝรั่ง, ผักตามฤดูกาล, สีขาวครีม Ai, beets, ผักหวานจักรพรรดิจาน Nayi ฮ่องกง, เป็ด Ai )
ประเทศแหล่งกำเนิด: มณฑลกุ้ยโจว, จีนแผ่นดินใหญ่
กระจาย :แพร่หลายมากขึ้นในภาคเหนือของไต้หวัน

คุณค่าทางยาและอาหาร
ใบและก้านใบ :
          ใบที่มีรสชาติอ่อน ค่าทางโภชนาการสูงที่จะเก็บเกี่ยวยอดหรือใบ นิยมใช้ทำแกงจืด  ฉีดและการไหลเวียนของเลือดควบคุมการมีประจำเดือน, ความชื้นสารพิษ, บวม การกำกับปรับประจำเดือนที่ผิดปกติ, โรคไวรัส.ตับอักเสบเรื้อรัง, โรคตับแข็ง, บวม, ตกขาว, ลมพิษ, บวมท้อง hernias

ก้าน :
          ก้านสี (ที่รู้จักกันลำต้นสีเขียวและสีแดงมีสองชนิด), ลำต้นพืชอ่อนสูงประมาณ 20 ถึง 30 เซนติเมตรพืช สามารถเติบโตได้ถึง 120 เซนติเมตรลำต้นกึ่ง lignified พื้นผิวที่ขรุขระรากแนวตั้งเกลี้ยง, สั้น spinules ลำต้นตั้งตรง

ใบ:
         ใบไม้สีเขียวสลับสามเหลี่ยมรูปใบห้อยเป็นตุ้ม bipinnate, ก้านขอบใบ dentate ก้านดอกแตกใหม่ยาวระหว่าง 3 ถึง 10 ซม. แต่ละใบแยกชี้ขอบใบหยัก

ดอกไม้:
         ดอกไม้ดอกเล็ก ๆสีขาว หัวรูป Ting-Sheng ดอกไม้มีสองเพศ,ดอกไม้เหมือนหิมะสีขาวมีกลิ่นหอม

คุณสมบัติ:
        สำหรับเดซี่ Keyi เป็นสมุนไพรยืนต้นสีของลำต้นเพราะพันธุ์ที่แตกต่างกัน (ที่รู้จักกันลำต้นสีเขียวและสีแดงมีสองชนิด), แล้วแต่ความสมบูรณ์ต้นอ่อนสูงประมาณ 20 ถึง 30 เซนติเมตร และสามารถเติบโตได้ถึง 120 เซนติเมตรลำต้น กึ่งแก่แข็งพื้นผิวที่ขรุขระรากแนวตั้งเกลี้ยง ด้วย ลำต้นตรงสั้นหนามไมโคร ใบไม้สีเขียวสลับสามเหลี่ยมรูปใบห้อยเป็นตุ้ม bipinnate, ก้านขอบใบ dentate แต่ละใบแยกชี้ขอบใบหยัก ตกเปิดสีขาวดอกไม้ดอกเล็ก ๆ หัวรูป Ting-Sheng ดอกไม้กะเทยดอกไมสีขาว้หิมะกับกลิ่นหอม achenes ใบสีเขียวมุมมอง, สลับ pinnate ในร้าว, ใบก้านใบก้านใบใน lobular, ขอบใบรูปสามเหลี่ยมรอยหยักหยาบยาวชื่อ "Carraghenates" internodes ส่วนแรงรากผมแข็งแรง, มีความชื้นสูงจะสามารถเติบโตได้จากมวลชนรากทั้งกลุ่มมันเป็นเรื่องง่ายที่จะสายพันธุ์ของ ramets หรือตัดทาง

ข้อมูลเพิ่มเติม:


แนะนำชมคลิป:





































การปลูกผักกุ่ยช่าย รวยได้ด้วยวิถีพอเพียง

การปลูกกุยช่าย


การปลูกกุยช่าย
          กุยช่ายเป็นพืชผักอยู่ในวงศ์เดียวกับหอม กระเทียมมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนนิยมบริโภคในเอเซียทั่วไปเป็นพืชข้ามปี มี 2 สายพันธุ์ คือ กุยช่ายใบและกุยช่ายดอก

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
          ในสภาพแวดล้อมที่มีช่วงแสงสั้น อุณหภูมิต่ำ กุยช่ายจะพักตัวหยุดชะงักการเจริญ
การทำลายระยะพักตัวสามารถทำได้โดยการ เพิ่มช่วงแสง(เปิดไฟในเวลากลางคืน)
หรือผ่านอุณหภูมิต่ำเป็นระยะเวลานานในสภาพช่วงแสงยาว จะกระตุ้นให้เกิดการเจริญของดอก
ในบางสายพันธุ์ต้องการอุณหภูมิต่ำ สำหรับการเจริญเติบโตของดอก
อุณหภูมิที่เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของกุยช่าย คือ 20°ซ

สภาพดินที่เหมาะสม
กุยช่ายชอบดินที่ร่วนซุย มีหน้าดินหนา อินทรีย์วัตถุสูง ระบายน้ำ
ได้ดี ค่า pH ของดินอยู่ระหว่าง 6.5 – 6.8

วิธีการปลูก
1. การปลูกโดยการเพาะเมล็ด (เมล็ดพันธุ์หนัก 3–4 กรัมมีจำนวน1,000 เมล็ด ก่อนเพาะควรแช่เมล็ด
ในน้ำผสมปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรท( 13 – 0 – 50 ) เข้มข้น 0.1 % นาน 1 ชั่วโมง แล้วนำออกมาใส่ในผ้าเปียกเก็บในตู้เย็นด้านล่าง (5°ซ )เป็นเวลา 3–5 วัน รักษาความชื้นในวัสดุเพาะสม่ำเสมอ เพื่อช่วยในการงอกของเมล็ดจึงนำออกมาผึ่งให้ผิวแห้ง การหยอดเมล็ดอาจใช้ถาดเพาะและหยอดเมล็ด 3 – 5 เมล็ด ต่อหลุม อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการงอกของเมล็ดอยู่ระหว่าง 15 – 20°ซ เมล็ดจะงอกภายในเวลา 7 – 14 วัน อายุกล้า 55 – 60 วัน หลังเพาะเมล็ด ระยะปลูก 12 – 20 ต้นต่อตารางเมตรหรือใช้ระยะปลูก30 x 30 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และความอุดมสมบูรณ์ของดินใช้จำนวนต้นกล้า 3 – 4 ต้นต่อหลุม

2. ปลูกโดยการแยกกอ ใช้ต้นแม่พันธุ์อายุ 6 เดือนขึ้นไป ขุดและแยกกอปลูก ก่อนปลูกควรตัดใบออกไปบ้าง เพื่อลดการคายน้ำ ตัดรากให้เหลือยาว 1 – 2 เซนติเมตร ปลูก 3 – 4 ต้นต่อหลุม การปลูกกุยช่ายแต่ละ
แปลงใช้เวลา 3 ปี หลังจากนั้นควรทำการแยกกอและเตรียมแปลงปลูกใหม่

การใส่ปุ๋ย
- หลังเตรียมดินควร ใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกอัตรา 2 กิโลกรัมต่อ
ตารางเมตร

- หลังย้ายปลูก 7 วัน ควรใส่ ปุ๋ย 21–0 – 0 (แอมโมเนีย ซัลเฟต )
ในดินที่เป็นด่าง อัตรา 10กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 13 – 0 – 0 – 26 ( แคลเซียมไนเตรท ) ในดินที่เป็นกรด อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่

- หลังย้ายปลูกทุก 3 เดือน ใส่ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอก อัตรา 1 กิโลกรัม
ปุ๋ย 13 – 13 – 21 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ และ 21 – 0 – 0 ในดิน ที่เป็นด่าง
อัตรา 1 กิโลกรัมต่อไร่หรือ 13 – 0 – 26 ในดินที่เป็นกรด อัตรา 15 กิโลกรัม
ต่อไร่

- หลังการเก็บเกี่ยว ใส่ปุ๋ย 21 – 0 – 0 ในดินที่เป็นด่าง อัตรา
10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 13 – 0 – 26 ในดินที่เป็นกรดอัตรา 15กิโลกรัมต่อไร่

- วิธีการใส่ปุ๋ยหลังย้ายปลูก เจาะหลุมห่างจากต้น 10 เซนติเมตรด้านใดด้านหนึ่ง และใส่อีกด้านหนึ่งในครั้งต่อไปสลับด้านกัน

- ฉีดพ่นปุ๋ยเกล็ด หรือปุ๋ยน้ำที่มีธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง ในรูป สารละลายทางใบ ทุก ๆ สัปดาห์

การคลุมแปลงปลูก

          ควรใช้วัสดุคลุมแปลงปลูก เช่นฟางข้าวเพื่อลดอุณหภูมิดิน รักษาความชื้นและป้องกันวัชพืช ถ้าไม่คลุมแปลงปลูกควรพรวนดินตื้น ๆ เพื่อกำจัดวัชพืช

การให้น้ำ
ควรให้น้ำสม่ำเสมอ พืชจะชะงักการเจริญในกรณีที่ขาดน้ำ และการให้น้ำมากเกินไปอาจทำให้รากและเหง้าเน่า ใบเหลืองตายระบบการให้น้ำที่เหมาะสมคือแบบน้ำหยด อาจจะใช้ระบบพ่นฝอยหรือทดน้ำเข้าแปลงแต่ควรระวังในกรณีที่ใบเปียกโรคจะเข้าทำลายได้ง่าย

การผลิตกุยช่ายขาว
           ระยะที่เหมาะสมสำหรับการ ผลิตกุยช่ายขาวคือ 3 เดือนหลังย้ายปลูก (90วัน) เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงนิยมปลูกในเดือนกรกฎาคม เริ่มเก็บเกี่ยวในเดือนตุลาคม – มีนาคม

- ใช้มีดที่คมตัดใบออกให้ชิดดินทั้งกอ ( ขายเป็นกุยช่ายเขียว )

- ใช้กระถางดินเผาครอบต้น โดยใช้กระถางทรงกระบอก ขนาดปากกว้าง 7 นิ้ว ก้นกระถางกว้าง 8 นิ้ว คลุมสูง 12 นิ้ว ครอบให้ชิดดินและปิดไม่ให้แสงผ่านเพื่อให้เป็นกุยช่ายขาว ( ในประเทศจีนนิยมใช้อุโมงค์ไม้ไผ่ปิดด้วยฟางหรือกระดาษหนา )

- ทยอยครอบและเก็บเกี่ยว ในปริมาณตามความต้องการของตลาด

- หลังเก็บเกี่ยว 1 เดือน (ปล่อยให้ใบเจริญ ) ตัดใบออกขายเป็นกุยช่ายเขียวและเริ่มครอบใหม่กระถางใหม่ เพื่อผลิตกุยช่ายขาวการปลูกกุยช่าย

การเก็บเกี่ยว

กุยช่ายเขียว สามารถเก็บเกี่ยว 3 – 9 ครั้งต่อปี ขึ้นอยู่กับพันธุ์สภาพแวดล้อมและการดูแลรักษาระยะเวลาเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมคือเดือนตุลาคม – มีนาคมกุยช่ายขาว เก็บเกี่ยวหลังจากใช้กระถางครอบหรือคลุมแปลงประมาณ 2 อาทิตย์ เก็บเกี่ยวเมื่อใบมรความยาว 20 เซนติเมตรตัดโคนใบชิดดิน ล้างด้วยน้ำเย็น ตัดแต่งส่วนที่ถูกทำลายโดยโรคแมลง หรือแผลที่เกิดจากการขนส่ง และเศษวัชพืชอื่นที่ปลอมปนเก็บไว้ในที่ร่มป้องกันแสงอาทิตย์ในระหว่างเก็บรักษาและขนส่งกุยช่ายดอก เก็บเกี่ยวระยะดอกตูม ตัดโคนก้านดอกยาว30 – 40 เซนติเมตร ใบมีอัตราการหายใจและคายน้ำสูง ควรเก็บรักษาในที่มีอุณหภูมิต่ำ ความชื้นสัมพันท์สูง โดยบรรจุในถุงพลาสติก เก็บในอุณหภูมิ 0°องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพันท์ 95 %

เรียบเรียงโดย : รศ. นิพนธ์ ไชยมงคล
สาชาพืชผัก มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ผลิตและเผยแพร่โดย : กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี


ขอบคุณสำหรับข้อมูล ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่..
การปลูกกุยช่ายเก็บผลผลิตได้หลายปี





เรียนรู้ขั้นตอนการปลูกกุยช่าย





ปลูกกุยช่ายให้สามารถสร้างรายได้ตลอดปี 





ปลูก "กุยช่าย" พืชสวนเงินล้าน เก็บเกี่ยวขายได้ตลอดปี 





กุยช่าย รายได้ใกล้บ้าน

การปลูกผักบุ้งจีนสร้างรายได้เร็ว

การปลูกผักบุ้งจีนสร้างรายได้เร็ว


ปลูกผักบุ้งจีน (Water Convolvulus)


            ผักบุ้งจีน เป็นพืชผักที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวไทยมาช้านาน เนื่องจากมีลำต้น อวบ ตรงใหญ่ มีสีสันน่าทาน ทั้งยังเป็นพืชที่เพาะปลูกง่าย ขายได้ตลอดทั้งปี ซึ่งสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคและผู้ปลูกมาที่สุดก็คือ ผักบุ้งจีนใบไผ่ ที่มีลักษณะใบเรียวเล็กเหมือนใบไผ่ ไม่มีแขนง ข้อปล้องยาว ลำต้นตรง นอกจากผักบุ้งพันธุ์นี้จะมีลักษณะน่ารับประทานแล้ว ยังเป็นพันธุ์ที่ปลูกขายได้ราคาดีอีกด้วย ซึ่งเกษตรกรผู้ปลูกยืนยันว่าสามารถขายได้ 15-20 บาท / กก. เลยทีเดียว
         วันนี้ราคาผักบุ้งขั้นต่ำ กิโลกรัมละ 15 บาท ต้นแขนงที่เกิดที่ซอกใบเลี้ยงจะเจริญเติมโตเท่าเทียมกับต้นที่เกิดจากเมล็ด ดังนั้นเราจะได้ต้นผักบุ้งเมล็ดละ 3 ต้น
เมล็ดผักบุ้ง 1 กิโลกรัม มีจำนวน 21,750 เมล็ด
เปอร์เซ็นความงอก ประมาณ 80%
ฉะนั้นเมล็ด 1 กิโลกรัม จะมีเมล็ดที่งอกประมาณ 17,400 เมล็ด
จะได้ผักบุ้ง จำนวน 52,200 ต้น
ต้นผักบุ้งอายุ 25 วัน จำนวน 50 ต้น จะมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม
ฉะนั้นเมล็ดผักบุ้ง 1 กิโลกรัม จะได้นำหนักต้นผักบุ้ง 1,044 กิโลกรัม ขายราคากิโลกรัมละ 15 บาท เป็นเงิน จำนวน 15,660 บาท

ในที่นี้ เราจะยกตัวอย่างการปลูกโดยใช้พื้นที่ 50 ตารางวา ซึ่งใช้เมล็ดพันธุ์ 4 – 5 กิโลกรัม
        ดังนั้น เมล็ดผักบุ้ง 5 กิโลกรัม จะสามารถสร้างผลผลิตต้นผักบุ้งได้น้ำหนัก 5,220 กิโลกรัม ขายได้เป็นเงิน 78,000 บาท
ยังไม่หักค่าต้นทุนการผลิต (อย่าเพิ่งเชื่อให้ลองทำก่อน)

การปลูกผักบุ้งจีน

          ผักบุ้งจีนใบไผ่นั้นสามารถปลูกได้ทั้งบนบกและในน้ำและสามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด ดินที่เหมาะสมในการปลูกผักบุ้งเพื่อการบริโภคสด จะเป็นดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย ผักบุ้งชอบชื้นแฉะ ต้องการความชื้นในดินสูงมากอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตอยู่ในช่วงที่สูงกว่า 25 องศาเซลเชียส ต้องการแสงแดดเต็มที ซึ่งประเทศไทยสามารถปลูกได้ดีตลอดไป โดยมีวิธีปลูกง่ายๆ คือเตรียมแปลงโดยการไถดะและ ไถแปรให้เรียบร้อย และทำการตากแดดทิ้งไว้ เพื่อกำจัดโรคแมลงพร้อมใส่ปุ๋ยคอก ปลูกแบบได้ทั้งแบบหว่านเมล็ด และแบบแยกหน่อ

การเตรียมแปลง

1. ไถและเตรียมดินที่จะปลูกให้สมบูรณ์ วัดความเป็นกรด-ด่างในดินให้มีค่า PH อยู่ที่5 -7 ถ้าไม่ได้ให้ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักใส่ผสมลงไปอัตรา 1 – 2 ตันต่อไร่ จากนั้นตากดินไว้ 7 วัน
2. ปรับไถดินด้วยรถไถคราดเศษวัชพืชออกให้ดินร่วนซุย ยกร่องเป็นแปลงปลูก ขนาด 50 ตารางวา (กว้าง 4 x 48 เมตร) ใช้เมล็ดพันธุ์ 4 – 5 กิโลกรัม

การเตรียมเมล็ด

1. นำเมล็ดแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน (ถ้าต้องการให้งอกเร็วให้ต้มน้ำให้เดือดนำไปผสมกับน้ำให้อุณหภูมิอยู่ที่ 40 องศาเซลเซียส นำเมล็ดแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน)
2. บ่มเมล็ดโดยห่อเมล็ดด้วยผ้าขาวบาง ทิ้งไว้ให้เปลือกของเมล็ดหลุดออก จากนั้นจึงนำไปหว่านในแปลงที่เตรียมไว้ เสร็จแล้วนำฟางหรือใบอ้อยหรือแกลบผสมปุ๋ยคอกมาคลุมปิดด้านบนเพื่อช่วยเก็บความชื้น

การดูแลรักษา

           รดน้ำให้ชุ่ม (เช้า-เย็น) โดยรดทุกวัน ประมาณ 3 วัน ผักบุ้งจะเริ่มงอก ขึ้นมาเป็นต้นให้เห็น หลังหว่านได้ 5-7 วัน
           โรค-แมลงศัตรูผักบุ้งที่พบว่ามีการระบาดในแปลงปลูกและสร้างความเสียหายให้แก่ผักบุ้ง ได้แก่ อาการใบหงิกงอ สาเหตุจากเพลี้ยเข้าทำลาย หากพบ ให้กำจัดด้วยน้ำหมักใบยาสูบ โดยจะหาซื้อใบยาสูบหยาบจากโรงงาน ราคาประมาณ กิโลกรัมละ 8-10 บาท อัตรา 10 กก. ใส่ในถังน้ำมัน 200 ลิตร เติมน้ำพอท่วม ปิดฝาถังหมักทิ้งไว้ 1 คืน นำไปฉีดพ่นให้ทั่วทุก 5-7 วัน จะช่วยกำจัดเพลี้ย สาเหตุของอาการใบหงิกได้
          นอกจากนี้ยังพบว่ามี โรคราสนิมขาว เข้าทำลายผักบุ้ง ซึ่งพืชจะมีอาการเป้นจุดสีเหลืองซีดด้านบนใบ ด้านใต้-ใบตรงกันข้ามจะเป็นตุ่มนูนเล็ก ๆ ขนาด 1-2 มิลลิเมตร อาจพบลักษณะปุ่มปม หรือบวมพองโตขึ้นในส่วนของก้านใบและลำต้น บางครั้งจะเป็นจุดหลืองเล็ก ๆ และขยายใหญ่จนขาวทั้งใบ ซึ่งเชื้อโรคชนิดนี้จะพบมากในสภาพอากาศร้อนชื้น
          วิธีการจัดการคือ หมั่นรดน้ำให้มากขึ้นและใช้น้ำปูนใสผสมฉีดพ่นให้ทั่วแปลงปลูก โดยจะผสมน้ำปูนใสได้จาก ปูน (ที่ใช้สำหรับเคี้ยวหมาก) 1 ช้อนแกง + น้ำสะอาด 20 ลิตร **นำปูนมาละลายในน้ำพอประมาณ และทิ้งไว้จนตกตะกอน กลายเป็นน้ำปูนใส กรองเอาเฉพาะน้ำปูนใสนำไปฉีดพ่นให้ทั่วทุก 5-7 วัน จะช่วยป้องกันและกำจัดเชื้อราสาเหตุของโรคพืชได้ และต้องดูแลระบบการให้น้ำในแปลงปลูก อย่าให้ชื้นแฉะจนเกินไป อายุ 7-14 วัน ช่วงนี้ควรทำให้แปลงปลูกผักบุ้งปลอดวัชพืช โดยใช้วิธีกำจัดด้วยการถอนออก แล้วใส่ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 โดยหว่านบางๆ ลงไปในแปลงปลูกแล้วรดน้ำตามทันที ควรทำช่วงเช้ามืด

การเก็บเกี่ยว

          สามารถเก็บเกี่ยวจำหน่ายได้ตั้งแต่อายุ 18-25 วัน หรือ ผักบุ้งมีขนาดลำต้น 3 หุน ยาว 30 ซม.ในฤดูร้อน และ เก็ยบเกี่ยวที่อายุ 24-25 วัน ในช่วงฤดูหนาว ซึ่งเป็นฤดูกาลที่พืชผักเติบโตช้า โดยใช้วิะธีการถอนผักบุ้งให้ได้กำละ 1 กก. นำมาล้างให้สะอาด และคัดแยกใบเสียทิ้ง บรรจุลงในถุง 5 กก. แล้วนำส่งตลาด ซึ่งจะมีพ่อค้าในพื้นที่มารับไปจำหน่ายต่อไป

ขอบคุณที่มาข้อมูล :


คลิปวิดีโอ การปลูกผักบุ้งจีน























ปลูกไผ่บงยักษ์กันดีกว่า...

ไผ่บงยักษ์


              จากที่ได้เดินทางไปแถบภาคเหนือ เชียงใหม๋ น่าน และแม่ฮ่องสอน ได้พบเห็นสภาพป่าเขาลำเนาไพร และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ บ้านเรือน อาชีพ สุขภาพ การศึกษาและวัฒนธรรม ครอบครัว ชุมชน แล้วอดเป็นห่วงไม่ได้ การขยายตัวของประชากรและสังคมทำให้พื้นที่ธรรมชาติลดหนีไปตามการเพิ่มขึ้นของจำนวนมนุษย์เรา ไม้สักมาทำบ้านเรือน ไม้แดงมาทำฟืน ไม้ไผ่ดูแล้วจะน้อยมากเพราะทนไฟไหม้ทุกปี ๆไม่ไหว ทั้งที่ไม้ไผ่ช่วยสร้างความชุ่มชื้นและการกัดเซาะพังทลายของพื้นดิน ได้อย่างดี สามารถดูดซับน้ำได้นานเพราะมีรากยึดเกาะกระจายไป เป็นที่อยู่และอาหารของสัตว์ป่าและแหล่งอาหารธรรมชาติของชุมชนได้



              ดังนั้นจึงขอนำเสนอและสนับสนุนให้ทุกพื้นที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเหนือชุมชนไทยภูเขา ร่องน้ำหุบเขาได้ปลูกไม้ไผ่เพิ่มขึ้น เพื่อจะยังประโยชน์มากมาย
           
              ไผ่บงยักษ์ กับไผ่บงพม่า ไผ่บงน่าน เป็นชนิดเดียวกันหรือคนละสายพันธุ์ ต้องศึกษาให้ดีให้แน่ใจเพื่อปลูกแล้วจะไม่ผิดหวัง เพราะร้านที่ขายมักจะอ้างและให้ข้อมูลตามที่ลูกค้าแสวงหาจนสับสนจากความเป็นจริงได้

               ไผ่ตงพม่า ,ไผ่บงใหญ่ อยู่ในพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จ.เชียงใหม่ และมีกระจายบ้างแถบจ.แม่ฮ่องสอน  มีขนาดใหญ่เกือบที่สุดแต่ลำขนาดเล็กกว่าไผ่ยักษ์เมืองน่าน เล็กน้อยโดยขนาดของลำเมื่อโตเต็มที่ 8-10 นิ้ว หน่อขนาดใหญ่หนัก 20-30 กิโลกรัม ยังไม่มีการเพาะขยายพันธุ์เป็นการค้า ลักษณะภายนอกใกล้เคียงกับไผ่ยักษ์เมืองน่าน แต่ริ้วใบมีร่องชัดเจนกว่ากาบใบสีซีดกว่าอยู่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,300 เมตร
             
   ไผ่ยักษ์เมืองน่าน,ไผ่ช้างน่าน,ไผ่ยักษ์ ต้นเป็นไผ่ที่มีขนาดหน่อใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หนัก 50-70 กิโลกรัม และมีขนาดลำใหญ่ที่สุดในบรรดาไผ่ทุกชนิด เมื่อโตเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลาง 13-15 นิ้ว หนัก 350 กิโลกรัม ยาว 30-40 เมตร อยู่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,050 เมตรใกล้เคียงกับไผ่บงใหญ่ แต่ลำขนาดใหญ่กว่าอย่างเห็นได้ชัด กาบใบมีสีแดงสดกว่าทุกสายพันธุ์



แหล่งข้อมูลอื่น ๆที่น่าสนใจ

           

ผักเชียงดาเป็นอาหารและยาเลิศ

ผักเชียงดา



                  ปลูกผักเชียงดา ได้อาหารและสมุนไพรอย่างเลิศ..มีข้อมูลทางการศึกษาและวิจัยที่เชื่อถือได้ นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าผักเชียงดามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดมาตั้งแต่ปี 1926 และในปี 1981 มีการยืนยันผลการลดน้ำตาลในเลือดและเพิ่มปริมาณอินซูลินในสัตว์ทดลองและในคนที่เป็นอาสามัครที่แข็งแรง พบว่าผักเชียงดาไปฟื้นฟูเบต้าเซลของตับอ่อน (อวัยวะที่สร้างอินซูลิน) ทำให้ผักเชียงดาสามารถช่วยคุมน้ำตาลได้ในคนเป็นเบาหวานทั้งชนิด type 1และ type 2 และตั้งแต่ในปี 1990 เป็นต้นมามีการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบประสิทธิภาพ กลไกออกฤทธิ์ ในการลดน้ำตาลในเลือดและมีการศึกษาความเป็นพิษอย่างมากมาย ยกตัวอย่างเช่น การศึกษา ในมหาวิทยาลัยมัทราส ในประเทศอินเดียศึกษาผลของผักเชียงดาในหนูโดยให้สารพิษที่ทำลายเซลเบต้าในตับอ่อนของหนู พบว่าหนูที่ได้รับผักเชียงดาทั้งในรูปของผงแห้งและสารสกัดมีระดับน้ำตาลในเลือดกลับมาเป็นปกติภายใน 20-60 วันระดับอินซูลินกลับมาเป็นปกติ และจำนวนของเบต้าเซลเพิ่มขึ้น 




ผักเชียงดา ราชินี ผักพื้นบ้านของชาวเหนือ
             ผักเชียงดา ชื่ออื่นๆ ผักเซี่ยงดา ,ผักเซ่งดา, ผักว้น, ผักม้วนไก่, ผักเซ็ง, ผักจินดา ( GYMNEMA INODORUM DECNE ) อยู่ในวงศ์ ACLEPIADACEAE
             บำรุงตับอ่อน รักษาเบาหวาน  ผักเชียงดาถูกใช้เป็นยารักษาเบาหวานในอินเดียและประเทศในแถบเอเชียมานานกว่า 2000 ปีแล้ว มีสารสำคัญคือ gymnemic acid
             ในภาษาฮินดู Gurmar แปลตรงตัวว่า ผู้ฆ่าน้ำตาล
             ประเทศญี่ปุ่น ใช้ยอดอ่อนของผักเชียงดาที่นำเข้าจากประเทศไทยผลิตเป็น ชาชงสมุนไพร (Herbal tea)
ลักษณะเชียงดา
            ผักเชียงดา เป็นไม้เลื้อยไม้เถา ส่วนต่างๆมีน้ำยางใส ออกใบเดี่ยวสลับ ดอกช่อ ออกที่ง่ามใบ ดอกเล็กๆสีเหลืองหรือเหลืองอมส้มหรือเขียว ผลรูปหอก พบขึ้นตามป่าดิบแล้งทางภาคเหนือ

การขยายพันธุ์ 
           ใช้ในการปักชำกิ่ง นิยมปลูกตามริมรั้ว หรือให้ขึ้นเลื้อยไม้อื่น...




               ผักเชียงดามีคุณค่าทางโภชนาการสูง ในยอดอ่อนและใบอ่อนมีวิตามินซี เบต้าแคโรทีน และสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง นอกจากนี้ผักเชียงดายังมี กรดจิมนีมิก (gymnemic acid) ที่มีรูปร่างโมเลกุลเหมือนน้ำตาลกลูโคส เวลาเราทานผักเชียงดาเข้าไป ลำไส้จะดูดซึมกรดจิมนีมิกเข้าสู่ร่างกาย(กระแสเลือด) ได้ดีกว่าน้ำตาล มีผลทำให้การดูดซึมน้ำตาลลดลง นอกจากลดการดูดซึมน้ำตาลแล้ว ผักเชียงดายังช่วยเพิ่มปริมาณอินซูลิน(สารที่ควบคุมป ริมาณน้ำตาลในเลือด)ให้สูงขึ้น ด้วยคุณสมบัติทั้งสองอย่างนี้จึงทำให้ผักเชียงดาสามา รถลดน้ำตาลในเลือดได้และดีกว่ายาแผนปัจจุบันที่ใช้รั กษาโรคเบาหวานที่ชื่อ ไกลเบนคาไมด์ เสียอีก 


สรรพคุณทางยาที่มาพร้อมอาหาร
      ข้อมูลวิจัยในไทยครับ 
  1. ช่วยบำรุงและปรับสภาพของตับอ่อนให้เป็นปกติ 
  2. ช่วยชำระล้างสารพิษและฟื้นฟูตับอ่อนให้แข็งแรง 
  3. ช่วยบำรุงและซ่อมแซมหมวกไตและระบบการทำงานของใต 
  4. ช่วยปรับระดับอินซูลินในร่างกายให้อยู่ในภาวะที่สมดุล 
  5. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้มีภาวะน้ำตลาในเลือดสูง(โรคเบาหวาน) 
  6. ช่วยควบคุมปริมาณไขมัน(cholesterol)ในร่างการให้สมดุล 
  7. บรรเทาอาการภูมิแพ้และหอบหืด 
  8. บรรเทาอาการปวดข้อจากโรคเก๊าต์ 
  9. แก้ร้อนในกระหายน้ำ 

ข้อมูลเพิ่มเติม





สรรพคุณผักเชียงดา
  1. ผักเชียงดามีสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน โรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ โรคต้อกระจกในผู้สูงอายุ ช่วยป้องกันการแตกของเม็ดเลือดแดง และการเสียของ DNA ข้ออักเสบรูมาตอยด์และเก๊าท์
  2. ผักเชียงดามีสารออกฤทธิ์ที่ช่วยควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ[2] และชาวบ้านยังนิยมกินผักเชียงดาหน้าร้อน เพื่อช่วยลดความร้อนในร่างกายอีกด้วย
  3. หมอยาพื้นบ้านในจังหวัดจะใช้ผักเชียงดาเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อยอันเนื่องมาจากการทำงาน[7]
  4. ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  5. ช่วยชำระล้างสารพิษตกค้างในร่างกาย
  6. ใช้รักษาเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ปรับระดับอินซูลินในร่างกายให้สมดุล ช่วยสร้างเนื้อเยื่อใหม่ให้ตับอ่อน ด้วยการนำผักเชียงดามาปรุงเป็นอาหารรับประทาน จากการศึกษาพบว่า การรับประทานผงผักเชียงดาก่อนอาหารประมาณวันละ 8-12 กรัม (แบ่งการรับประทานเป็น 3 มื้อ มื้อละ 4 กรัม) จะสามารถควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานให้เป็นปกติได้ หรือจะรับประทานเป็นผักสดอย่างน้อยวันละประมาณ 50-100 กรัม หรือ 1 ขีด ก็สามารถช่วยป้องกันและบำบัดโรคเบาหวานได้เช่นกัน
  7. ช่วยควบคุมและปรับระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ
  8. ช่วยลดและควบคุมปริมาณไขมันในร่างกายให้สมดุล
  9. ผักเชียงดาสามารถนำไปใช้ลดน้ำหนักได้ เพราะผักชนิดนี้สามารถช่วยให้มีการนำน้ำตาลไปเผาผลาญมากกว่าการนำไปสร้างเป็นไขมันสะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีรายงานว่าผักเชียงดาสามารถช่วยลดน้ำหนักได้จริง
  10. ผักเชียงดามีสรรพคุณช่วยบำรุงสายตา แก้ตาฝ้าฟาง มีอาการเคืองตา เนื่องจากผักชนิดนี้มีวิตามินสูง[1]
  11. ช่วยแก้หูชั้นกลางอักเสบ (ต้น)
  12. ใบนำมาตำให้ละเอียดใช้พอกบริเวณกระหม่อมเพื่อรักษาไข้ อาการหวัด ปรุงเป็นยาลดไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ หรือนำไปประกอบในตำรายาแก้ไข้อื่น ๆ
  13. ผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ (ผล)
  14. ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้และหอบหืด
  15. ต้นสรรพคุณเป็นยาแก้หลอดลมอักเสบ แก้ไอ แก้ปอดอักเสบ (ต้น)
  16. ช่วยแก้โรคบิด (ต้น)
  17. การรับประทานผักเชียงดาใบแก่ จะช่วยทำให้ระบบขับถ่ายในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น และชาวบ้านยังนิยมนำมาแกงรวมกับผักตำลึงและยอดชะอมเพื่อใช้รักษาอาการท้องผูกอีกด้วย
  18. ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร (ต้น)
  19. ต้นแห้งหรือต้นสดใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ต้น)
  20. ช่วยขับระดูของสตรี
  21. ช่วยฟื้นฟูตับอ่อนให้แข็งแรง ช่วยบำรุงและปรับสภาพการทำงานของตับอ่อนให้เป็นปกติ
  22. ช่วยบำรุงและซ่อมแซมหมวกไต และระบบการทำงานของไตให้สมบูรณ์
  23. ช่วยแก้อาการบวมน้ำ (ต้น)
  24. ใบใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนังทุกชนิด ทำให้น้ำเหลืองแห้ง และแก้กามโรค
  25. ใบสดใช้ตำพอกฝีหรือหัวลำมะลอก งูสวัด เริม ถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน
  26. หัวมีรสมันขม มีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษอักเสบ พิษร้อน ช่วยดับพิษกาฬ แก้พิษไข้เซื่องซึม และแก้เริม (หัว)
  27. ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อจากโรคเก๊าท์
  28. ในบ้านเรามีการใช้ผักเชียงดาเป็นทั้งยาสมุนไพรและเป็นอาหารเพื่อรักษาโรคโดยกลุ่มหมอเมืองทางภาคเหนือมานานแล้ว กล่าวคือ การใช้เป็น “ยาแก้หลวง” (คล้ายยาครอบจักรวาลของแผนปัจจุบัน) ถ้าคิดไม่ออกก็บอกผักเชียงดา เช่น แก้เบาหวาน เวียนศีรษะ ปวดศีรษะตัวร้อน แก้ไข้สันนิบาต (ชักกระตุก) แก้หวัด ภูมิแพ้ หอบหืด แก้แพ้ยา แพ้อาหาร ปวดข้อ เป็นยาระบาย ช่วยระงับประสาท หรือเมื่อมีอาการคิดมากหรือจิตฟั่นเฟือน ฯลฯ ส่วนการนำมาใช้เป็นยาก็ให้นำผักเชียงดามาสับแล้วนำไปตากแห้งบดเป็นผง ใช้ชงเป็นชาดื่ม หรือจะนำมาบรรจุลงในแคปซูลก็ได้
หมายเหตุ : การนำมาใช้เป็นยาในหน้าแล้งให้เอารากมาทำยา ส่วนในหน้าฝนให้ใช้ส่วนของเถาและใบ โดยนำมาสับตากแห้งแล้วบดให้เป็นผง ใช้ชงเป็นชาดื่ม




































ขอบคุณข้อมูลศึกษาเพิ่มเติม :  คลิกไปดูต่อไป..