Container Icon

ปลูกไผ่บงยักษ์กันดีกว่า...

ไผ่บงยักษ์


              จากที่ได้เดินทางไปแถบภาคเหนือ เชียงใหม๋ น่าน และแม่ฮ่องสอน ได้พบเห็นสภาพป่าเขาลำเนาไพร และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ บ้านเรือน อาชีพ สุขภาพ การศึกษาและวัฒนธรรม ครอบครัว ชุมชน แล้วอดเป็นห่วงไม่ได้ การขยายตัวของประชากรและสังคมทำให้พื้นที่ธรรมชาติลดหนีไปตามการเพิ่มขึ้นของจำนวนมนุษย์เรา ไม้สักมาทำบ้านเรือน ไม้แดงมาทำฟืน ไม้ไผ่ดูแล้วจะน้อยมากเพราะทนไฟไหม้ทุกปี ๆไม่ไหว ทั้งที่ไม้ไผ่ช่วยสร้างความชุ่มชื้นและการกัดเซาะพังทลายของพื้นดิน ได้อย่างดี สามารถดูดซับน้ำได้นานเพราะมีรากยึดเกาะกระจายไป เป็นที่อยู่และอาหารของสัตว์ป่าและแหล่งอาหารธรรมชาติของชุมชนได้



              ดังนั้นจึงขอนำเสนอและสนับสนุนให้ทุกพื้นที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเหนือชุมชนไทยภูเขา ร่องน้ำหุบเขาได้ปลูกไม้ไผ่เพิ่มขึ้น เพื่อจะยังประโยชน์มากมาย
           
              ไผ่บงยักษ์ กับไผ่บงพม่า ไผ่บงน่าน เป็นชนิดเดียวกันหรือคนละสายพันธุ์ ต้องศึกษาให้ดีให้แน่ใจเพื่อปลูกแล้วจะไม่ผิดหวัง เพราะร้านที่ขายมักจะอ้างและให้ข้อมูลตามที่ลูกค้าแสวงหาจนสับสนจากความเป็นจริงได้

               ไผ่ตงพม่า ,ไผ่บงใหญ่ อยู่ในพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จ.เชียงใหม่ และมีกระจายบ้างแถบจ.แม่ฮ่องสอน  มีขนาดใหญ่เกือบที่สุดแต่ลำขนาดเล็กกว่าไผ่ยักษ์เมืองน่าน เล็กน้อยโดยขนาดของลำเมื่อโตเต็มที่ 8-10 นิ้ว หน่อขนาดใหญ่หนัก 20-30 กิโลกรัม ยังไม่มีการเพาะขยายพันธุ์เป็นการค้า ลักษณะภายนอกใกล้เคียงกับไผ่ยักษ์เมืองน่าน แต่ริ้วใบมีร่องชัดเจนกว่ากาบใบสีซีดกว่าอยู่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,300 เมตร
             
   ไผ่ยักษ์เมืองน่าน,ไผ่ช้างน่าน,ไผ่ยักษ์ ต้นเป็นไผ่ที่มีขนาดหน่อใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หนัก 50-70 กิโลกรัม และมีขนาดลำใหญ่ที่สุดในบรรดาไผ่ทุกชนิด เมื่อโตเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลาง 13-15 นิ้ว หนัก 350 กิโลกรัม ยาว 30-40 เมตร อยู่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,050 เมตรใกล้เคียงกับไผ่บงใหญ่ แต่ลำขนาดใหญ่กว่าอย่างเห็นได้ชัด กาบใบมีสีแดงสดกว่าทุกสายพันธุ์



แหล่งข้อมูลอื่น ๆที่น่าสนใจ

           

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น