มันเลือด
มันเลือด : ฟังชื่อน่ากลัว แต่พอเห็นก็ถูกใจมาก เนื่องจากเป็นของพื้นบ้าน แน่นอนไม่มีสารพิษ และพิเศษอีกอย่างคือเป็นของที่แปลกตามาก ไม่เคยได้เห็นมาก่อน นั่นคือ มันเลือด
ชิ้นนี้หนักประมาณหนึ่งกิโล
สีเนื้อมันตอนแห้งๆ
ฝังลงดินแล้วเอาขึ้นมาใหม่
นึกได้ว่าน่าจะแบ่งปันภาพให้ชมดกันบ้าง
ไม่ชัดนัก สับออกให้เห็นเนื้อในสดๆ คล้ายเผือก
สีชมพูม่วงสวย ส่วนผิวๆสีออกคล้ายแดง
ดูกันชัดๆอีกนิด
พี่ว่าให้ปลูกในกระสอบได้หากว่าจะไม่ลงดิน ถ้าลงดินจะได้หัวที่ใหญ่มากน้ำหนักหัวมันเป็นสิบกิโล... ไม่รอช้า...
อาศัยจากที่เคยปลูกหัวมัน
ฝังหัวลงไปให้ส่วนที่เป็นยอดโผล่ขึ้นมา
ข้อมูลเพิ่มเติมสรรพคุณของมันชนิดนี้ :ที่นี่
วิธีการปลูกมันชนิดนี้ในเชิงพาณิชย์
ปัจจุบัน มันพื้นบ้านหรือมันป่าของไทยได้รับความสนใจจากผู้บริโภคที่รักสุขภาพมากขึ้น ในทางวิทยาศาสตร์ได้มีการวิเคราะห์สารหลายชนิดที่อยู่ในมันพื้นบ้านนั้นมี ประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์มากมาย ที่เห็นชัดเป็นรูปธรรมที่สุดคือ มีสรรพคุณในการรักษาระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน ช่วยบำรุงรักษาสุขภาพของสตรีวัยหมดประจำเดือน นอกจากนั้น ในมันพื้นบ้านยังอุดมไปด้วยแคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม วิตามินซี และกรดโฟลิกสูงมาก มันพื้นบ้านของไทยจัดเป็นอาหารสุขภาพที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน แต่คนไทยส่วนใหญ่ที่นิยมบริโภคมันพื้นบ้านยังอยู่ในชนบทและเป็นมันขุดมาจาก ธรรมชาติหรือปลูกแบบแซมในสวนผลไม้เก่า ไม่ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบการปลูกในเชิงพาณิชย์ ทั้งที่มันพื้นบ้านของไทยเริ่มเป็นของหายากและมีราคาซื้อ-ขายสูงกว่ามันเทศ และมันฝรั่งด้วยซ้ำไป อย่างกรณีของมันนกและมันอ้อน (บางคนเรียกมันอ้อนว่า มันมือเสือ) ที่เนื้อมีความเหนียวและรสชาติอร่อยมาก ราคาขายถึงผู้บริโภคเฉลี่ยกิโลกรัมละ 50 บาท
ปัจจุบันทางแผนก ฟาร์ม ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จังหวัดพิจิตร ได้มีการรวบรวมสายพันธุ์มันพื้นบ้านของไทยและได้เริ่มทดลองปลูกในเชิง พาณิชย์ ผลปรากฏว่าประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจระดับหนึ่งและมีความเป็นไปได้ที่จะ ส่งเสริมให้มีการปลูกในเชิงพาณิชย์ต่อไป คุณกิตติพงษ์ สายบุญจันทร์ หัวหน้าแผนกฟาร์ม ได้สรุปข้อมูลเบื้องต้นหลังจากทดลองปลูกมันอ้อนและมันเลือดหลังจากที่เก็บ เกี่ยวผลผลิต โดยใช้เวลาปลูกเพียง 7-8 เดือนเท่านั้น ได้หัวมันที่มีคุณภาพและรสชาติไม่แตกต่างจากที่ขุดจากธรรมชาติ ยิ่งไปกว่านั้นยังได้ผลผลิตต่อต้นสูงกว่า เนื่องจากมีการจัดระบบน้ำที่ดีและสามารถปลูกในระบบอินทรีย์หรือผลิตแบบปลอด สารพิษได้
วิธีการเตรียมต้นพันธุ์ก่อนปลูก
คุณ กิตติพงษ์ได้ให้รายละเอียดถึงขั้นตอนในการปลูกมันพื้นบ้านหรือมันป่าว่า เริ่มแรกจะต้องเตรียมต้นพันธุ์ ซึ่งมันพื้นบ้านเกือบทั้งหมดจะต้องขยายพันธุ์ด้วยหัว อย่างกรณีของมันเลือดและมันพร้าว เมื่อต้นแก่เต็มที่ให้สังเกตเถามันที่อยู่ด้านบนจะมีหัวมันเล็กๆ ตามซอกใบ เมื่อเถามันแห้ง หัวจะร่วงหล่นลงให้เก็บมาทำพันธุ์ได้ สำหรับมันอ้อนหรือมันมือเสือหลังจากขุดหัวมันที่มีขนาดใหญ่ออกมาจำหน่าย ให้เก็บหัวมันที่มีขนาดเล็กไว้ขยายพันธุ์ต่อไป ในการขยายพันธุ์สามารถทำได้ 2 วิธี
ขยายพันธุ์แบบวิธีธรรมชาติ สำหรับมันอ้อนนิยมใช้วิธีนี้กันมาก โดยนำหัวพันธุ์เล็กๆ ที่มีความสมบูรณ์นำไปแช่น้ำนานประมาณ 15 นาที หลังจากนั้นให้นำหัวมันไปแช่ในสารป้องกันและกำจัดแมลง เชื้อรา และฮอร์โมนเร่งรากนานประมาณ 5 นาที นำหัวมันมาผึ่งลมให้แห้งและนำไปชำลงในถุงชำดำขนาด 3x7 นิ้ว วัสดุที่ใช้ชำหัวมันแนะนำให้ใช้ขี้เถ้าแกลบ : ดินร่วน : ทรายหยาบ สัดส่วน 1 : 1 : 1 กลบหัวมันให้มิดหัวพอดีและนำไปไว้ในโรงเรือนที่มีตาข่ายพรางแสงประมาณ 50% รดน้ำเช้าหรือเย็นเพียงวันละครั้งเดียว (หมั่นสังเกตอย่าให้วัสดุในถุงชำแห้ง) หลังจากชำไปประมาณ 45 วัน จะสังเกตมีต้นพันธุ์งอกเป็นต้นออกมา นำไปปลูกลงแปลงได้
สำหรับมัน พื้นบ้านบางชนิด เช่น มันเลือด มันมะพร้าว มันกระชาก ฯลฯ เป็นมันที่มีขนาดของหัวใหญ่ ดังนั้น ในการขยายพันธุ์จะต้องผ่าแบ่งหัวออกเป็นชิ้นเล็กๆ มากน้อยตามขนาดของหัวมัน ในแต่ละชิ้นจะมีตายอดติดอยู่ หลังจากแบ่งผ่าเสร็จให้นำชิ้นมันไปแช่ในสารป้องกันและกำจัดแมลง เชื้อราและฮอร์โมนเร่งราก และผึ่งลมให้แห้งก่อนที่จะนำมาชำในถุงดำ และเมื่อแตกยอดให้นำไปปลูกลงแปลงต่อไป
(สารเคมีที่ใช้ในการแช่หัว พันธุ์มันพื้นบ้านที่ทางชมรมได้ทดลองใช้และได้ผลดีคือ สารเซฟวิน-85 อัตรา 30 กรัม สารเมเจอร์เบน อัตรา 20 กรัม สารโปรวิต อัตรา 30 ซีซี และสารจับใบพรีมาตรอน อัตรา 10 ซีซี โดยผสมสารดังกล่าวทั้งหมดในน้ำสะอาดปริมาณ 20 ลิตร)
เตรียมพื้นที่ปลูกมันพื้นบ้านหรือมันป่าในเชิงพาณิชย์
ความ จริงแล้วมันพื้นบ้านหรือมันป่าสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด และถ้าจะให้ผลผลิตสูงมีการลงหัวที่ดีควรจะเป็นดินร่วนปนทรายและเป็นดินที่มี อินทรียวัตถุค่อนข้างสูง ที่สำคัญจะต้องเป็นพื้นที่ไม่มีน้ำท่วมขังและมีแสงแดดส่องทั่วถึง
คุณ กิตติพงษ์ บอกว่า จากการทดลองในพื้นที่ปลูกมันพื้นบ้าน 1 ไร่ สามารถปลูกได้ประมาณ 2,000 หลัก โดยใช้ระยะปลูกระหว่างต้นประมาณ 75 เซนติเมตร และระยะระหว่างแถว 1 เมตร โดยมีขั้นตอนในการเตรียมแปลงปลูก เริ่มจากใช้รถแทร็กเตอร์ผาล 7 ไถแปลงปลูก 1 รอบ และทิ้งตากหน้าดินนานประมาณ 1 สัปดาห์ ใช้โรตารี่รถไถปั่นดินให้มีความละเอียด 1-2 รอบ และยกร่องขึ้นแปลงให้มีขนาดความกว้างของแปลง 1 เมตร และแปลงมีความสูงประมาณ 40-75 เซนติเมตร ส่วนความยาวของแปลงขึ้นอยู่กับสภาพเนื้อที่และความต้องการของผู้ปลูก
การวางระบบการให้น้ำในการปลูกมันพื้นบ้าน
ใน การปลูกมันพื้นบ้านหรือมันป่าในเชิงพาณิชย์นั้น น้ำนับเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้มีการลงหัวที่ดี สำหรับมันพื้นบ้านที่ชาวบ้านขุดมาขายนั้นเกือบทั้งหมดให้น้ำโดยฝากเทวดา เลี้ยง และจะมีการขุดมันขึ้นมาขายในช่วงเดือนธันวาคม-เดือนเมษายน ในเรื่องของการให้น้ำในแปลงปลูกมันพื้นบ้านถ้าต้องการลงทุนไม่มากนักให้น้ำ แบบสายยางรด แต่จะเสียเวลาค่อนข้างมาก แต่ถ้ามีการลงทุนเพิ่มขึ้นแนะนำให้มีการตั้งระบบการให้น้ำแบบสปริงเกลอร์ใน พื้นที่ 1 ไร่ ติดตั้งสปริงเกลอร์จำนวน 2-4 หัว คัดเลือกให้มีความเหมาะสมต่อแรงดันของปั๊มน้ำ
วิธีการปลูกและการปักหลักมันพื้นบ้าน
จาก ที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นว่า ระยะปลูกของมันพื้นบ้านใช้ระยะปลูกระหว่างต้นประมาณ 75 เซนติเมตร ให้ใช้จอบขุดสันแปลงหรือกลางแปลงก็ได้ ให้หลุมมีขนาดกว้าง ยาว และลึก ประมาณ 25 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอกเก่า เปลือกถั่ว และขี้เถ้าแกลบลงไปในหลุมและคลุกเคล้ากับดินปลูก นำต้นกล้ามันพื้นบ้านลงปลูกและกลบดินให้แน่น หลังจากนั้นให้นำไม้ไผ่ลวกขนาดกลางหรือขนาดที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำ เฉลี่ย 0.5-1 นิ้ว และไม้ไผ่มีความยาวเฉลี่ย 2-2.5 เมตร เซี่ยมปลายไม้ให้แหลมและปักหลักลงไปข้างต้นมันพื้นบ้านให้ห่างจากต้นมัน ประมาณ 10-15 เซนติเมตร
เทคนิคและขั้นตอนในการดูแลรักษามันพื้นบ้าน
เป็น ที่สังเกตว่า ในแปลงทดลองปลูกมันอ้อนและมันเลือดของแผนกฟาร์ม ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร ในปี พ.ศ. 2551 โดยปลูกในช่วงต้นฤดูฝนคือประมาณเดือนพฤษภาคม 2551 และมาเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือนธันวาคม 2551 เป็นต้นมา พบว่าไม่ได้มีการฉีดพ่นสารปราบศัตรูพืชเลย เพียงแต่ในช่วงลงหัวมีการใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มเติมลงไปบ้าง ใช้เวลาปลูกในแต่ละรุ่นเป็นเวลา 8 เดือน การให้น้ำ ในช่วง 15 วันแรก จะมีการให้น้ำอย่างเสมอ อย่างน้อยวันละครั้ง เช้าหรือเย็น เมื่อต้นมันมีอายุได้ 15-45 วัน จะเปลี่ยนมาให้ 2-3 วัน ต่อครั้ง และให้น้ำสัปดาห์ละครั้งเมื่อต้นมันมีอายุ 1 เดือนครึ่ง-4 เดือนครึ่ง หลังจากนั้นจะหยุดการให้น้ำจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิต ในการป้องกันและกำจัดวัชพืชจะใช้แรงงานคนโดยกำจัดในช่วงที่ต้นมันมีอายุ เฉลี่ย 45-50 วัน
สำหรับปุ๋ยที่ให้กับต้นมันพื้นบ้านนั้น ทางชมรมจะมีการให้ทั้งปุ๋ยอินทรีย์ควบคุมกับปุ๋ยเคมี เนื่องจากสภาพแปลงปลูกมีแร่ธาตุอาหารไม่เพียงพอ ปุ๋ยอินทรีย์จะเน้นปุ๋ยคอกและใช้รองก้นหลุม ส่วนปุ๋ยเคมีที่ให้ทางดินนั้นจะใส่ครั้งแรกเมื่อต้นมันพื้นบ้านมีอายุได้ ประมาณ 1 เดือนครึ่ง โดยใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น สูตร 16-16-16 และเมื่อต้นมันมีอายุได้ประมาณ 3 เดือน จะเปลี่ยนสูตรมาใช้สูตร 10-26-26 หรือ 13-13-21 และเมื่อต้นมันมีอายุได้ประมาณ 4 เดือนครึ่ง จะเร่งการลงหัวด้วยการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 0-0-60 สำหรับการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบในช่วงต้นมันมีอายุระหว่าง 1-1 เดือนครึ่ง จะฉีดพ่นปุ๋ยทางใบที่มีไนโตรเจนสูง เช่น สูตร 28-0-0, 18-6-6 ฯลฯ และในช่วงอายุ 1 เดือนครึ่ง-4 เดือน จะเปลี่ยนมาฉีดพ่นสูตรที่มีฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูง เช่น สูตร 5-20-25, 10-52-17 ฯลฯ และช่วงอายุ 5-6 เดือนครึ่ง จะฉีดพ่นโดยเน้นปุ๋ยที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น สูตร 0-0-25
โรคและแมลงของมันพื้นบ้าน
โดย ธรรมชาติแล้วมันพื้นบ้านและมันป่ามีแมลงและโรคศัตรูทำลายน้อยมาก แต่เมื่อนำมาปลูกในเชิงพาณิชย์ควรจะมีการป้องกันบ้าง เช่น ในการเตรียมต้นพันธุ์จะต้องมีการแช่หัวมันเพื่อป้องกันแมลงกัดแทะและป้องกัน โรคซึ่งอาจจะพบหัวพันธุ์เน่าได้ในช่วงที่นำไปปลูกและมีฝนตกมาก จากแปลงทดลองปลูกพบว่า ในช่วงที่มีการย้ายต้นกล้ามันพื้นบ้านลงปลูกในแปลงจะพบแมลงที่กัดกินใบเป็น ส่วนใหญ่ ถ้าทำลายมากจะทำให้ต้นมันชะงักการเจริญเติบโตได้ เมื่อพบปัญหาแมลงกัดกินแนะนำให้ฉีดพ่นสารเซฟวิน-85 อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ) ปัญหาเรื่องโรคเน่าคอดินในช่วงที่ย้ายต้นกล้ามันพื้นบ้านลงปลูกมักจะพบมาก เมื่อเกษตรกรมีการเตรียมแปลงปลูกไม่ดีทำให้เกิดสภาพน้ำท่วมขังแฉะหรือฝนตก ชุก ที่สำคัญไม่ควรกลบดินพูนโคนให้สูงเกินไป ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันหลังจากที่ย้ายต้นกล้าลงปลูกในแปลงควรจะฉีดพ่นด้วยสาร ป้องกันและกำจัดเชื้อรา เช่น ยาในกลุ่มของสารเมตาแลกซิล มีคำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการป้องกันการเกิดโรคเน่าคอดิน ถ้าเกษตรกรปลูกมันพื้นบ้านในช่วงฤดูฝนและมีปริมาณฝนตกอย่างต่อเนื่อง ไม่จำเป็นจะต้องให้น้ำ แต่ถ้าจะปลูกในช่วงฤดูแล้ง น้ำกลับมีความจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและการลงหัวของมันพื้นบ้าน
การเก็บเกี่ยวผลผลิตมันพื้นบ้านและการตลาด
ใน การปลูกมันพื้นบ้านในเชิงพาณิชย์นั้นจะใช้เวลาปลูกเพียง 8 เดือนเท่านั้น สามารถเก็บเกี่ยวขุดหัวมันขึ้นมาจำหน่ายได้ (ถ้าปลูกมันเทศเนื้อสีส้ม สีม่วง และมันเหลืองญี่ปุ่น จะใช้เวลาปลูกสั้นกว่า ใช้เวลาประมาณ 4-4 เดือนครึ่ง เก็บเกี่ยวผลผลิตได้) วิธีการสังเกตว่าต้นพื้นบ้านสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลังจากปลูกไปแล้ว ประมาณ 7-8 เดือน สังเกตว่าใบมีสีเหลืองเริ่มเหี่ยว เถาเริ่มแห้งและตายในเวลาต่อมา และสังเกตที่ดินปลูกจะแตกมีรอยแยกบริเวณหน้าดิน ให้ขุดมันพื้นบ้านขึ้นมาได้
ปัจจุบัน ความต้องการมันพื้นบ้านของไทยมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากที่เคยขายได้ราคาถูก ในอดีตถึงกลับแจกกันกินก็มี หลายคนที่เคยบริโภคไม่ทราบถึงคุณประโยชน์ด้วยซ้ำไป โดยเฉพาะในผู้หญิงที่หมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตเจนจะลดลงเมื่อบริโภคมันพื้นบ้านจะมีส่วนช่วยเพิ่มฮอร์โมนเอสโต เจนและยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารมากมาย จากมันที่ไม่มีราคามาถึงวันนี้เป็นของหารับประทานได้ยากและมีราคาสูงกว่ามัน ชนิดอื่นและสามารถนำมาปลูกในเชิงพาณิชย์ได้
ข้อมูลเพิ่มเติม :
วิธีการปลูกมันชนิดนี้ในเชิงพาณิชย์
ปัจจุบัน มันพื้นบ้านหรือมันป่าของไทยได้รับความสนใจจากผู้บริโภคที่รักสุขภาพมากขึ้น ในทางวิทยาศาสตร์ได้มีการวิเคราะห์สารหลายชนิดที่อยู่ในมันพื้นบ้านนั้นมี ประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์มากมาย ที่เห็นชัดเป็นรูปธรรมที่สุดคือ มีสรรพคุณในการรักษาระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน ช่วยบำรุงรักษาสุขภาพของสตรีวัยหมดประจำเดือน นอกจากนั้น ในมันพื้นบ้านยังอุดมไปด้วยแคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม วิตามินซี และกรดโฟลิกสูงมาก มันพื้นบ้านของไทยจัดเป็นอาหารสุขภาพที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน แต่คนไทยส่วนใหญ่ที่นิยมบริโภคมันพื้นบ้านยังอยู่ในชนบทและเป็นมันขุดมาจาก ธรรมชาติหรือปลูกแบบแซมในสวนผลไม้เก่า ไม่ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบการปลูกในเชิงพาณิชย์ ทั้งที่มันพื้นบ้านของไทยเริ่มเป็นของหายากและมีราคาซื้อ-ขายสูงกว่ามันเทศ และมันฝรั่งด้วยซ้ำไป อย่างกรณีของมันนกและมันอ้อน (บางคนเรียกมันอ้อนว่า มันมือเสือ) ที่เนื้อมีความเหนียวและรสชาติอร่อยมาก ราคาขายถึงผู้บริโภคเฉลี่ยกิโลกรัมละ 50 บาท
ปัจจุบันทางแผนก ฟาร์ม ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จังหวัดพิจิตร ได้มีการรวบรวมสายพันธุ์มันพื้นบ้านของไทยและได้เริ่มทดลองปลูกในเชิง พาณิชย์ ผลปรากฏว่าประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจระดับหนึ่งและมีความเป็นไปได้ที่จะ ส่งเสริมให้มีการปลูกในเชิงพาณิชย์ต่อไป คุณกิตติพงษ์ สายบุญจันทร์ หัวหน้าแผนกฟาร์ม ได้สรุปข้อมูลเบื้องต้นหลังจากทดลองปลูกมันอ้อนและมันเลือดหลังจากที่เก็บ เกี่ยวผลผลิต โดยใช้เวลาปลูกเพียง 7-8 เดือนเท่านั้น ได้หัวมันที่มีคุณภาพและรสชาติไม่แตกต่างจากที่ขุดจากธรรมชาติ ยิ่งไปกว่านั้นยังได้ผลผลิตต่อต้นสูงกว่า เนื่องจากมีการจัดระบบน้ำที่ดีและสามารถปลูกในระบบอินทรีย์หรือผลิตแบบปลอด สารพิษได้
วิธีการเตรียมต้นพันธุ์ก่อนปลูก
คุณ กิตติพงษ์ได้ให้รายละเอียดถึงขั้นตอนในการปลูกมันพื้นบ้านหรือมันป่าว่า เริ่มแรกจะต้องเตรียมต้นพันธุ์ ซึ่งมันพื้นบ้านเกือบทั้งหมดจะต้องขยายพันธุ์ด้วยหัว อย่างกรณีของมันเลือดและมันพร้าว เมื่อต้นแก่เต็มที่ให้สังเกตเถามันที่อยู่ด้านบนจะมีหัวมันเล็กๆ ตามซอกใบ เมื่อเถามันแห้ง หัวจะร่วงหล่นลงให้เก็บมาทำพันธุ์ได้ สำหรับมันอ้อนหรือมันมือเสือหลังจากขุดหัวมันที่มีขนาดใหญ่ออกมาจำหน่าย ให้เก็บหัวมันที่มีขนาดเล็กไว้ขยายพันธุ์ต่อไป ในการขยายพันธุ์สามารถทำได้ 2 วิธี
ขยายพันธุ์แบบวิธีธรรมชาติ สำหรับมันอ้อนนิยมใช้วิธีนี้กันมาก โดยนำหัวพันธุ์เล็กๆ ที่มีความสมบูรณ์นำไปแช่น้ำนานประมาณ 15 นาที หลังจากนั้นให้นำหัวมันไปแช่ในสารป้องกันและกำจัดแมลง เชื้อรา และฮอร์โมนเร่งรากนานประมาณ 5 นาที นำหัวมันมาผึ่งลมให้แห้งและนำไปชำลงในถุงชำดำขนาด 3x7 นิ้ว วัสดุที่ใช้ชำหัวมันแนะนำให้ใช้ขี้เถ้าแกลบ : ดินร่วน : ทรายหยาบ สัดส่วน 1 : 1 : 1 กลบหัวมันให้มิดหัวพอดีและนำไปไว้ในโรงเรือนที่มีตาข่ายพรางแสงประมาณ 50% รดน้ำเช้าหรือเย็นเพียงวันละครั้งเดียว (หมั่นสังเกตอย่าให้วัสดุในถุงชำแห้ง) หลังจากชำไปประมาณ 45 วัน จะสังเกตมีต้นพันธุ์งอกเป็นต้นออกมา นำไปปลูกลงแปลงได้
สำหรับมัน พื้นบ้านบางชนิด เช่น มันเลือด มันมะพร้าว มันกระชาก ฯลฯ เป็นมันที่มีขนาดของหัวใหญ่ ดังนั้น ในการขยายพันธุ์จะต้องผ่าแบ่งหัวออกเป็นชิ้นเล็กๆ มากน้อยตามขนาดของหัวมัน ในแต่ละชิ้นจะมีตายอดติดอยู่ หลังจากแบ่งผ่าเสร็จให้นำชิ้นมันไปแช่ในสารป้องกันและกำจัดแมลง เชื้อราและฮอร์โมนเร่งราก และผึ่งลมให้แห้งก่อนที่จะนำมาชำในถุงดำ และเมื่อแตกยอดให้นำไปปลูกลงแปลงต่อไป
(สารเคมีที่ใช้ในการแช่หัว พันธุ์มันพื้นบ้านที่ทางชมรมได้ทดลองใช้และได้ผลดีคือ สารเซฟวิน-85 อัตรา 30 กรัม สารเมเจอร์เบน อัตรา 20 กรัม สารโปรวิต อัตรา 30 ซีซี และสารจับใบพรีมาตรอน อัตรา 10 ซีซี โดยผสมสารดังกล่าวทั้งหมดในน้ำสะอาดปริมาณ 20 ลิตร)
เตรียมพื้นที่ปลูกมันพื้นบ้านหรือมันป่าในเชิงพาณิชย์
ความ จริงแล้วมันพื้นบ้านหรือมันป่าสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด และถ้าจะให้ผลผลิตสูงมีการลงหัวที่ดีควรจะเป็นดินร่วนปนทรายและเป็นดินที่มี อินทรียวัตถุค่อนข้างสูง ที่สำคัญจะต้องเป็นพื้นที่ไม่มีน้ำท่วมขังและมีแสงแดดส่องทั่วถึง
คุณ กิตติพงษ์ บอกว่า จากการทดลองในพื้นที่ปลูกมันพื้นบ้าน 1 ไร่ สามารถปลูกได้ประมาณ 2,000 หลัก โดยใช้ระยะปลูกระหว่างต้นประมาณ 75 เซนติเมตร และระยะระหว่างแถว 1 เมตร โดยมีขั้นตอนในการเตรียมแปลงปลูก เริ่มจากใช้รถแทร็กเตอร์ผาล 7 ไถแปลงปลูก 1 รอบ และทิ้งตากหน้าดินนานประมาณ 1 สัปดาห์ ใช้โรตารี่รถไถปั่นดินให้มีความละเอียด 1-2 รอบ และยกร่องขึ้นแปลงให้มีขนาดความกว้างของแปลง 1 เมตร และแปลงมีความสูงประมาณ 40-75 เซนติเมตร ส่วนความยาวของแปลงขึ้นอยู่กับสภาพเนื้อที่และความต้องการของผู้ปลูก
การวางระบบการให้น้ำในการปลูกมันพื้นบ้าน
ใน การปลูกมันพื้นบ้านหรือมันป่าในเชิงพาณิชย์นั้น น้ำนับเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้มีการลงหัวที่ดี สำหรับมันพื้นบ้านที่ชาวบ้านขุดมาขายนั้นเกือบทั้งหมดให้น้ำโดยฝากเทวดา เลี้ยง และจะมีการขุดมันขึ้นมาขายในช่วงเดือนธันวาคม-เดือนเมษายน ในเรื่องของการให้น้ำในแปลงปลูกมันพื้นบ้านถ้าต้องการลงทุนไม่มากนักให้น้ำ แบบสายยางรด แต่จะเสียเวลาค่อนข้างมาก แต่ถ้ามีการลงทุนเพิ่มขึ้นแนะนำให้มีการตั้งระบบการให้น้ำแบบสปริงเกลอร์ใน พื้นที่ 1 ไร่ ติดตั้งสปริงเกลอร์จำนวน 2-4 หัว คัดเลือกให้มีความเหมาะสมต่อแรงดันของปั๊มน้ำ
วิธีการปลูกและการปักหลักมันพื้นบ้าน
จาก ที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นว่า ระยะปลูกของมันพื้นบ้านใช้ระยะปลูกระหว่างต้นประมาณ 75 เซนติเมตร ให้ใช้จอบขุดสันแปลงหรือกลางแปลงก็ได้ ให้หลุมมีขนาดกว้าง ยาว และลึก ประมาณ 25 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอกเก่า เปลือกถั่ว และขี้เถ้าแกลบลงไปในหลุมและคลุกเคล้ากับดินปลูก นำต้นกล้ามันพื้นบ้านลงปลูกและกลบดินให้แน่น หลังจากนั้นให้นำไม้ไผ่ลวกขนาดกลางหรือขนาดที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำ เฉลี่ย 0.5-1 นิ้ว และไม้ไผ่มีความยาวเฉลี่ย 2-2.5 เมตร เซี่ยมปลายไม้ให้แหลมและปักหลักลงไปข้างต้นมันพื้นบ้านให้ห่างจากต้นมัน ประมาณ 10-15 เซนติเมตร
เทคนิคและขั้นตอนในการดูแลรักษามันพื้นบ้าน
เป็น ที่สังเกตว่า ในแปลงทดลองปลูกมันอ้อนและมันเลือดของแผนกฟาร์ม ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร ในปี พ.ศ. 2551 โดยปลูกในช่วงต้นฤดูฝนคือประมาณเดือนพฤษภาคม 2551 และมาเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือนธันวาคม 2551 เป็นต้นมา พบว่าไม่ได้มีการฉีดพ่นสารปราบศัตรูพืชเลย เพียงแต่ในช่วงลงหัวมีการใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มเติมลงไปบ้าง ใช้เวลาปลูกในแต่ละรุ่นเป็นเวลา 8 เดือน การให้น้ำ ในช่วง 15 วันแรก จะมีการให้น้ำอย่างเสมอ อย่างน้อยวันละครั้ง เช้าหรือเย็น เมื่อต้นมันมีอายุได้ 15-45 วัน จะเปลี่ยนมาให้ 2-3 วัน ต่อครั้ง และให้น้ำสัปดาห์ละครั้งเมื่อต้นมันมีอายุ 1 เดือนครึ่ง-4 เดือนครึ่ง หลังจากนั้นจะหยุดการให้น้ำจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิต ในการป้องกันและกำจัดวัชพืชจะใช้แรงงานคนโดยกำจัดในช่วงที่ต้นมันมีอายุ เฉลี่ย 45-50 วัน
สำหรับปุ๋ยที่ให้กับต้นมันพื้นบ้านนั้น ทางชมรมจะมีการให้ทั้งปุ๋ยอินทรีย์ควบคุมกับปุ๋ยเคมี เนื่องจากสภาพแปลงปลูกมีแร่ธาตุอาหารไม่เพียงพอ ปุ๋ยอินทรีย์จะเน้นปุ๋ยคอกและใช้รองก้นหลุม ส่วนปุ๋ยเคมีที่ให้ทางดินนั้นจะใส่ครั้งแรกเมื่อต้นมันพื้นบ้านมีอายุได้ ประมาณ 1 เดือนครึ่ง โดยใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น สูตร 16-16-16 และเมื่อต้นมันมีอายุได้ประมาณ 3 เดือน จะเปลี่ยนสูตรมาใช้สูตร 10-26-26 หรือ 13-13-21 และเมื่อต้นมันมีอายุได้ประมาณ 4 เดือนครึ่ง จะเร่งการลงหัวด้วยการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 0-0-60 สำหรับการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบในช่วงต้นมันมีอายุระหว่าง 1-1 เดือนครึ่ง จะฉีดพ่นปุ๋ยทางใบที่มีไนโตรเจนสูง เช่น สูตร 28-0-0, 18-6-6 ฯลฯ และในช่วงอายุ 1 เดือนครึ่ง-4 เดือน จะเปลี่ยนมาฉีดพ่นสูตรที่มีฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูง เช่น สูตร 5-20-25, 10-52-17 ฯลฯ และช่วงอายุ 5-6 เดือนครึ่ง จะฉีดพ่นโดยเน้นปุ๋ยที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น สูตร 0-0-25
โรคและแมลงของมันพื้นบ้าน
โดย ธรรมชาติแล้วมันพื้นบ้านและมันป่ามีแมลงและโรคศัตรูทำลายน้อยมาก แต่เมื่อนำมาปลูกในเชิงพาณิชย์ควรจะมีการป้องกันบ้าง เช่น ในการเตรียมต้นพันธุ์จะต้องมีการแช่หัวมันเพื่อป้องกันแมลงกัดแทะและป้องกัน โรคซึ่งอาจจะพบหัวพันธุ์เน่าได้ในช่วงที่นำไปปลูกและมีฝนตกมาก จากแปลงทดลองปลูกพบว่า ในช่วงที่มีการย้ายต้นกล้ามันพื้นบ้านลงปลูกในแปลงจะพบแมลงที่กัดกินใบเป็น ส่วนใหญ่ ถ้าทำลายมากจะทำให้ต้นมันชะงักการเจริญเติบโตได้ เมื่อพบปัญหาแมลงกัดกินแนะนำให้ฉีดพ่นสารเซฟวิน-85 อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ) ปัญหาเรื่องโรคเน่าคอดินในช่วงที่ย้ายต้นกล้ามันพื้นบ้านลงปลูกมักจะพบมาก เมื่อเกษตรกรมีการเตรียมแปลงปลูกไม่ดีทำให้เกิดสภาพน้ำท่วมขังแฉะหรือฝนตก ชุก ที่สำคัญไม่ควรกลบดินพูนโคนให้สูงเกินไป ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันหลังจากที่ย้ายต้นกล้าลงปลูกในแปลงควรจะฉีดพ่นด้วยสาร ป้องกันและกำจัดเชื้อรา เช่น ยาในกลุ่มของสารเมตาแลกซิล มีคำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการป้องกันการเกิดโรคเน่าคอดิน ถ้าเกษตรกรปลูกมันพื้นบ้านในช่วงฤดูฝนและมีปริมาณฝนตกอย่างต่อเนื่อง ไม่จำเป็นจะต้องให้น้ำ แต่ถ้าจะปลูกในช่วงฤดูแล้ง น้ำกลับมีความจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและการลงหัวของมันพื้นบ้าน
การเก็บเกี่ยวผลผลิตมันพื้นบ้านและการตลาด
ใน การปลูกมันพื้นบ้านในเชิงพาณิชย์นั้นจะใช้เวลาปลูกเพียง 8 เดือนเท่านั้น สามารถเก็บเกี่ยวขุดหัวมันขึ้นมาจำหน่ายได้ (ถ้าปลูกมันเทศเนื้อสีส้ม สีม่วง และมันเหลืองญี่ปุ่น จะใช้เวลาปลูกสั้นกว่า ใช้เวลาประมาณ 4-4 เดือนครึ่ง เก็บเกี่ยวผลผลิตได้) วิธีการสังเกตว่าต้นพื้นบ้านสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลังจากปลูกไปแล้ว ประมาณ 7-8 เดือน สังเกตว่าใบมีสีเหลืองเริ่มเหี่ยว เถาเริ่มแห้งและตายในเวลาต่อมา และสังเกตที่ดินปลูกจะแตกมีรอยแยกบริเวณหน้าดิน ให้ขุดมันพื้นบ้านขึ้นมาได้
ปัจจุบัน ความต้องการมันพื้นบ้านของไทยมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากที่เคยขายได้ราคาถูก ในอดีตถึงกลับแจกกันกินก็มี หลายคนที่เคยบริโภคไม่ทราบถึงคุณประโยชน์ด้วยซ้ำไป โดยเฉพาะในผู้หญิงที่หมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตเจนจะลดลงเมื่อบริโภคมันพื้นบ้านจะมีส่วนช่วยเพิ่มฮอร์โมนเอสโต เจนและยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารมากมาย จากมันที่ไม่มีราคามาถึงวันนี้เป็นของหารับประทานได้ยากและมีราคาสูงกว่ามัน ชนิดอื่นและสามารถนำมาปลูกในเชิงพาณิชย์ได้
ข้อมูลเพิ่มเติม :
- มันเลือดนกมันพื้นบ้านตลาดยังต้องการ
- ข้อมูลจากมูลนิธิหมอชาวบ้าน
- ข้อมูลจากม.นเรศวร การประยุกต์ใช้มันเลือด
- ข้อมูลจากกรมป่าไม้ มันเลือดตลาดต้องการ
11 ความคิดเห็น :
ส่งขายได้ที่ไหนครับ
หาซื้อพันธุ์ได้ที่ไหนครับ
มีพันธ์แบ่งให้นะครับ...สอบถามโทร 091 565 6634
มีพันธ์แบ่งให้นะครับ...สอบถามโทร 091 565 6634
อยากหาตลาดที่ได้ราคาหน่อยครับ
ตลาดบ้านนอกซื้อกันถูก
อยากหาตลาดที่ได้ราคาหน่อยครับ
ตลาดบ้านนอกซื้อกันถูก
มันเลือด กับ มันหอม อันเดียวกันไหมครับ
แนะนำตลาดให้ด้วยครับ
ไม่มีเพื่อนช่วยกิน และคนบางภาคไม่ค่อยรู้จัก ที่บ้านเลยนึ่งแล้วกินคนเดียวซะมากกว่า ช่วงนี้ ม.ค.-มี.ค.60 ท่านใดต้องการไปปลูกหรือไปทานสั่งได้ครับ..มีประมาณ200 กก. กก.ละ 50 บาท ค่าส่งช่วยออกครึ่งหนึ่งครับ..โปรโมชั่นสำหรับผู้ที่ชอบ และเน้นในสรรพคุณของมันเลือดจริง ๆ https://www.facebook.com/somchai.thonglek/posts/1390462197672511?pnref=story
เยี่ยมมากครับสนใจอยากปลูก อนุรักษ์ใว้ให้ลูกหลาน
มีแหล่งหรือพ่อค้าที่รับซื้อมันเลือดบ้างไหมคะ
แสดงความคิดเห็น