มะม่วงหาวมะนาวโห่ (ต้นหนามแดง) เป็นชื่อที่เพี้ยนมาจาก มะม่วงไม่รู้หาวมะนาวไม่รู้โห่ หรือที่คนกรุงเทพเรียกว่า ต้นหนามแดง (ภาคกลาง) นั่นแหละครับ หรือจะเรียกว่า มะนาวไม่รู้โห่ (ภาคกลาง), มะนาวโห่ (ภาคใต้),หนามขี้แฮด (เชียงใหม่) ก็ได้เหมือนกัน โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carissa carandas L. อยู่ในวงค์ APOCYNACEAE จัดเป็นผลไม้สมุนไพรชนิดหนึ่ง ลักษณะของผลจะมีสีแดงเรียวเล็กคล้ายกับมะเขือเทศราชินี สำหรับรสชาติของผลสุกจะออกหวานนุ่มลิ้น แต่ถ้ายังไม่สุกจีรสเปรี้ยวจี๊ดเข็ดฟัน มี ธาตุเหล็ก และ วิตามินซี สูง เมื่อกัดไปแล้วจะมียางเหนียวๆ ฝาดคอ (เป็นผลไม้ในวรรณคดีเรื่องพระรถเมรี “นางสิบสอง” ใครเคยอ่านคงทราบกันดี)
มะนาวไม่รู้โห่ หรือ ต้นหนามแดง เป็นผลไม้ที่หลายๆคนมองข้าม เนื่องจากมีต้นเป็นหนาม หลายคนไม่รู้สรรพคุณก็ฟันทิ้งกันไปส่วนใหญ่ จึงทำให้ปัจจุบันค่อนข้างหามารับประทานได้ยาก นอกจากคนที่รู้เท่านั้นที่นำมาปลูกไว้ สำหรับคนโบราณแล้วผลไม้ชนิดนี้ถือว่ามีคุณประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะเป็นมีฤทธิ์เป็นยาสมุนไพรซึ่งมีสรรพคุณที่หลากหลายในการช่วยซ่อมแซมร่างกายและช่วยรักษาโรคได้แทบทุกชนิด สำหรับวิธีกินก็นำมาล้างให้สะอาดแล้วรับประทานกันสดได้เลยครับ
มะม่วงหาวมะนาวโห่ สรรพคุณ นั้นนอกจากผลแล้วส่วนอื่นๆก็ยังมีประโยชน์อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นราก , ใบ , ยอดอ่อน , เมล็ด , เนื้อไม้ , แก่น ก็ล้วนแต่มีสรรพคุณทางยาทั้งสิ้น ไม่เว้นแม้กระทั่งยางก็ช่วยในการสมานแผลได้ เรียกได้ว่าแทบจะทุกส่วนจริงๆ แล้วเราจะไม่เรียกหนามแดงว่าเป็นสมุนไพรที่ช่วยซ่อมแซมร่างกายได้ยังไง
สำหรับผู้ที่รับประทานผลเข้าไปแล้วประมาณ 10 นาที แล้วรู้สึกแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก แสดงว่าคุณอาจเป็นโรคหัวใจโต ควรรับประทานวันละ 1 ผลเพื่อให้ร่างกายปรับสภาพจนชินก่อน เมื่อไม่มีอาการแล้วค่อยเพิ่มปริมาณเป็น 10 ผล รับประทานประมาณ 3 เดือนจะทำให้เลือดลมไหลเวียนดี โดยหญิงชายกินได้โรคภัยหายสิ้น แต่สำหรับหญิงมีครรภ์ห้ามรับประทาน

สรรพคุณมะม่วงหาวมะนาวโห่

  1. มะม่วงหาวมะนาวโห่ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอย (ผล)
  2. ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง (แก่น)
  3. แก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า (เนื้อไม้)
  4. เพิ่มความกระชุ่มกระชวยให้กับร่างกาย (ผล)
  5. ช่วยให้เจริญอาหาร (ราก)
  6. มีส่วนช่วยลดความอ้วน (ผล)
  7. ช่วยขยายหลอดเลือดป้องกันการเกิดโรคหัวใจ (ผล)
  8. มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง (ผล)
  9. ธาตุเหล็กในผลมีส่วนช่วยรักษาโรคเบาหวาน (ผล)
  10. มีส่วนช่วยรักษาโรคโลหิตจาง (ผล)
  11. ช่วยรักษาโรคปอด (ผล)
  12. ช่วยรักษาโรคถุงลมโป่งจากการสูบบุหรี่ได้ดีมาก (ผล)
  13. ช่วยรักษาโรคไต (ผล)
  14. บรรเทาอาการของโรคตับ อย่างโรคตับแข็ง (ผล)
  15. ช่วยรักษาโรคเกาต์ (ผล)
  16. ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคไทรอยด์ (ผล)
  17. ช่วยป้องกันโรคไหลตาย (ผล)
  18. ในบังคลาเทศใช้ใบรักษาโรคลมชัก (ใบ)
  19. มีส่วนช่วยบรรเทาอาการของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต มือเท้าชา (ผล)
  20. ช่วยบำรุงกำลัง (เนื้อไม้)
  21. ช่วยบำรุงธาตุ (ราก,แก่น,เนื้อไม้)
  22. ช่วยบำรุงไขมันในร่างกาย (แก่น,เนื้อไม้)
  23. ช่วยแก้ไข้ รวมถึงไข้มาลาเลีย (ราก,ใบ)
  24. ช่วยดับพิษร้อน (ราก)
  25. ช่วยบรรเทาอาการของโรคภูิแพ้ (ผล)
  26. ช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ (ผล)
  27. ช่วยขับเสมหะ (ผล)
  28. มีช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ไมเกรน
  29. แก้อาการเจ็บคอ เจ็บในปาก (ใบ)
  30. แก้อาการปวดหู (ใบ)
  31. ช่วยรักษาลักปิดลักเปิดหรือโรคเลือดออกตามไรฟัน สมานแผลในช่องปาก (ผล)
  32. ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร (ราก)
  33. แก้อาการท้องเสีย (ใบ)
  34. มะม่วงหาวมะนาวโห่ช่วยรักษาโรคบิด (ใบ)
  35. ช่วยขับปัสสาวะ (ผล)
  36. ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร (ยอดอ่อน)
  37. ช่วยขับพยาธิ (ราก)
  38. ช่วยรักษาโรคเท้าช้าง (น้ำยาง)
  39. ช่วยฆ่าเชื้อ (ผล)
  40. ผลสุกใช้ในการสมานแผล (ผล,ยาง)
  41. ใช้รักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง (เปลือกต้น)
  42. ช่วยแก้อาการคัน (ราก)
  43. ในอินเดียใช้รากเพื่อรักษาแผลเบาหวาน (ราก)
  44. แก้กลากเกลื้อน (เมล็ด,น้ำยาง)
  45. แก้อาการเนื้อหนังชาในโรคเรื้อน (เมล็ด)
  46. ช่วยรักษาแผลเนื้องอก (น้ำยาง)
  47. ช่วยรักษาหูด (น้ำยาง)
  48. ช่วยทำลายตาปลา และช่วยกัดทำลายเนื้อที่ด้านเป็นปุ่มโต (น้ำยาง)
  49. ใช้พอกดับพิษ (ผล)
  50. ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามข้อ (ผล)
  51. น้ำของผลสามารถนำมาใช้ปรุงอาหารแทนมะนาวได้
  52. ใช้ทำเป็นผลไม้หมักดอง
  53. นำมาประกอบอาหารได้หลายเมนู เช่น ผัดไทยเต้าหู้มะนาวโห่ น้ำพริกเผามะนาวโห่ ฟรุ๊ตตี้ลืมหาว เป็นต้น
แหล่งอ้างอิง : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสุขภาพ (สสส.), www.stuartxchange.com/Caranda.html