Container Icon

ถั่วดาวอินคา พืชมหัศจรรย์ สุดยอดโภชนาการ


 เรื่องถั่วดาวอินคา (sacha inchi)


          ปัจจุบันกระแสความนิยมเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร   ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่คุณค่าทางอาหารว่ามีองค์ประกอบของสารสำคัญทางโภชนาการอะไรบ้าง และในยุคการสื่อสารระบบ 3G   กำลังจะไปสู่ยุค 5G+ ทำให้การเผยแพร่ข่าวสารเป็นไปด้วยความรวดเร็ว   ข่าวเกี่ยวกับพืชที่นำเข้ามาจากต่างประเทศข้ามน้ำข้ามทะเลมาจากป่าอเมซอน  โดยมีการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆชักชวนให้เกษตรกรปลูก    และมีการรับซื้อผลิตผลในราคาที่จูงใจทำให้เป็นที่สนใจของเกษตรกรโดยทั่วไป พืชชนิดนี้คือ ดาวอินคา
          ดาวอินคา   เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้  บริเวณป่าอะเมซอน  แถบประเทศเปรู     มีการใช้ประโยชน์มาตั้งแต่สมัยอารยธรรมชาวอินคา หรือเมื่อกว่า 3000 ปีที่ผ่านมา โดยนำมาประกอบอาหาร เช่น เมล็ดสุกนำมาทำซอส น้ำมัน และเมล็ดคั่วเป็นส่วนผสมของอาหารพื้นเมืองหรือทำเป็นครีมบำรุงผิว เป็นต้น     ดาวอินคา เป็นพืชที่ผลมีรูปร่างคล้ายดาว ภายในมีเมล็ดคล้ายถั่ว  เมื่อนำเข้ามาปลูกในประเทศไทย   จึงเรียกว่าดาวอินคา หรือ ถั่วดาวอินคา



          ดาวอินคา เป็นพืชวงศ์ Euphorbiaceae  เช่นเดียวกับ ยางพารา สบู่ดำ หรือมันสำปะหลัง  ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Plukenetia volubilis L. มีชื่อสามัญว่า sacha inchi, sacha peanut, mountain peanut, supua  หรือ Inca peanut  เป็นพืชอายุหลายปี  เป็นพืชเฉพาะถิ่นในป่าอะเมซอนแถบประเทศเปรู พืชในสกุลนี้มีพบในประเทศไทยอยู่ 1 ชนิด คือ Plukenetia corniculata Sm. ส่วนชื่อไทยและการใช้ประโยชน์นั้นยังไม่มีข้อมูล
          ดาวอินคา  เป็นไม้เลื้อยอายุหลายปี  มีอายุได้นาน 10 ถึง 50 ปี ลำต้นสูง 2 เมตร  กิ่งและยอดแผ่เลื้อยพันตามกิ่งไม้หรือโครงสร้างเลื้อยพันอื่นๆ
          ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบตรงถึงรูปหัวใจ ขอบใบจักฟันเลื่อย ใบยาว 10 – 12 ซม. กว้าง 8 – 10 ซม.
ก้านใบยาว 2 – 6 ซม.
          ดอก เริ่มออกดอกเมื่ออายุ 5 เดือนหลังจากปลูก และติดเมล็ดเมื่ออายุ 8 เดือน ดอกช่อแบบช่อกระจะ (raceme)  ดอกแยกเพศอยู่บนต้น
เดียวกัน ดอกเพศผู้ขนาดเล็ก สีขาว เรียงเป็นกระจุกตลอดความยาวช่อ ดอกเพศเมีย 2 ดอก อยู่ที่โคนช่อดอก
          ผลแบบแคปซูล เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 5 ซม.  มี 4 – 7 แฉก  ผลอ่อนสีเขียว  และสีจะเข้มขึ้นตามอายุ ผลแก่มีสีน้ำตาลดำ มีเนื้อนุ่มๆ สีดำ
หุ้มอยู่ซึ่งกินไม่ได้ โดยปรกติจะทิ้งให้แห้งคาต้นก่อนเก็บเกี่ยว เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วนำมาตากแดดอีก 1 วัน จึงนำผลผลิตไปจำหน่าย


          เมล็ดรูปไข่ สีน้ำตาลดำ ขนาดกว้าง 1.7 – 1.8 ซม.  ยาว 2.0 – 2.2 ซม.  เมล็ดหนัก 1.3 - 1.7 กรัม   เมล็ดแห้งที่ยังดิบอยู่ใช้บริโภคไม่ได้ แต่ถ้านำไปคั่วให้สุกแล้วจะอร่อยมาก  ต้นดาวอินคาเจริญเติบโตได้ในที่อุณหภูมิ 10 – 36 องศาเซลเซียส    ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 100 – 2000 ม.จากระดับน้ำทะเล สามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย

การปลูก
          ขยายพันธุ์โดยเมล็ด  โดยการนำเมล็ดที่แก่แล้วมาเพาะในถุงดำ  เมื่อต้นสูงประมาณ 30 ซม.  จึงย้ายปลูก หรือหยอดเมล็ดในหลุมปลูกเลยก็ได้ ระยะปลูก 2 x 3 ถึง 2 x 4 เมตร พื้นที่ 1 ไร่  จะปลูกได้ 200 – 300 ต้น  เป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำขังแฉะ  ในพื้นที่ต่ำควรยกร่อง  ทำค้างสำหรับให้ต้นเลื้อยพัน  โดยใช้วัสดุในพื้นที่ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมักใช้ท่อพีวีซีเป็นเสาหลักแล้วใช้สายโทรศัพท์เก่าขึงระหว่างเสาเป็นค้างสำหรับให้ยอดเลื้อยพัน โรคแมลงยังรบกวนน้อย   ปุ๋ยที่ใช้ควรเป็นปุ๋ยอินทรีย์   โดยทั่วไปดาวอินคาสามารถให้ผลผลิต 600 – 800 กิโลกรัมต่อไร่ และให้ผลผลิตยาวนาน 15 – 50 ปี



การใช้ประโยชน์
          ทุกส่วนของต้นดาวอินคาสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ยอดและใบอ่อน สามารถนำไปประกอบอาหารได้ เช่น นำไปผัด
          ใบของต้นดาวอินคา โดยเฉพาะใบที่ยังไม่แก่มากนำมาหั่นแล้วผึ่งแดด 1 – 2 แดด  นำไปต้มดื่มเป็นน้ำชา สามารถลดน้ำตาล และไขมันในเส้นเลือด หรือนำไปสกัดเป็นน้ำคลอโรฟิลล์



          ผลอ่อน นำไปประกอบอาหาร เช่น ฝานเป็นชิ้นบางๆ แล้วนำไปผัดกับยอดและใบเช่นเดียวกับผัดผักบุ้งไฟแดง หรือนำไปทำแกงเลียงก็ได้
          น้ำมันดาวอินคา  เป็นน้ำมันที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง  และเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2007   น้ำมันดาวอินคาได้รับรางวัลเหรียญทอง
จาก the AVPA Specialty Foods Commodities ดาวอินคาได้ชื่อว่าเป็น super food เนื่องจากมีกรดไขมันที่จำเป็นในปริมาณสูง น้ำมันมีกลิ่นหอม
อ่อนๆ รสไม่ขม และเมล็ดดาวอินคาก็มีการทำเป็นขนมขบเคี้ยวเนื่องจากมีโอเมก้า 3     และโปรตีนสูง เมล็ดดาวอินคามีโปรตีนถึง 27% และน้ำมัน
สูงถึง 35 – 60% ในน้ำมันมีโอเมก้า 3 สูงถึง 45 – 63% โอเมก้า 6 สูง 34 – 39% และโอเมก้า 9 สูง 6 – 10% นอกจากนี้ยังประกอบด้วยไอโอดีน
วิตามินเอ และวิตามินอี

          น้ำมันดาวอินคามีประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยลดคอเลสเตอรอล ป้องกันการแข็งตัวของเลือด ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์  ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ลดน้ำหนัก ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดอาการซึมเสร้า รักษาความแข็งแรงของเยื่อหุ้มเซลล์ ลดการอักเสบของหลอดเลือด โรคไขข้อ รักษาโรคผิวหนัง หอบหืด ไมเกรน ต้อหิน มีสารต้านอนุมูลอิสระ ควบคุมความดันลูกตาและเส้นเลือด รวมทั้งควบคุมการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
          น้ำมันจากเมล็ดดาวอินคา มีทั้งรูปแบบที่บรรจุแคปซูล และบรรจุขวด เป็นน้ำมันประกอบอาหาร ทำน้ำสลัด ทำผลิตภัณฑ์เสริมความงามและอาหารเสริมเช่น โฟมล้างหน้า สบู่ ครีมบำรุงผิว โลชั่น กากเมล็ดและเปลือก นำไปทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ หรือเชื้อเพลิงอัดแท่ง
  
สถานะดาวอินคาในประเทศไทย

          ได้มีบริษัทเอกชนนำดาวอินคาเข้ามาส่งเสริมการปลูกเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา       โดยเริ่มที่จังหวัดหนองคาย เนื่องจากเห็นว่ามีที่ตั้ง ภูมิศาสตร์เส้นทางคมนาคมที่เหมาะสม และสามารถเชื่อมโยงไปสู่กลุ่มประเทศอินโดจีนได้   บริษัทได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกโดยการแจกเมล็ดพันธุ์ให้ฟรีแล้วรับซื้อผลผลิตในราคาประกัน   ซึ่งทำให้เกษตรกรมีรายได้ระยะยาว เพราะดาวอินคาสามารถเก็บผลผลิตได้หลังจากปลูกเพียง 7 เดือนจนถึง 40 - 50 ปี หากมีการดูแลที่เหมาะสม โดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี
          จากการศึกษาของนักวิชาการมหาวิทยาลัยแม่โจ้   พบว่าหลังจากปลูกเพียง 1 ปี     ดาวอินคาสามารถเจริญเติบโตได้ดี จึงได้นำไปส่งเสริมให้กับเกษตรกรในหลายพื้นที่ปลูก    เช่น จังหวัดเชียงใหม่ พะเยา เชียงราย ลำปาง กำแพงเพชร เป็นต้น  สำหรับในภาคอื่นๆ   พบว่ามีหลายจังหวัดที่มีการปลูกดาวอินคา เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบปลูกในจังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ ภาคกลาง   พบปลูกในจังหวัดสุพรรณบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี และภาคตะวันออก พบปลูกในจังหวัดปราจีนบุรี และสระแก้ว เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรนำไปปลูกมากกว่า 10,000 ไร่แล้ว
          บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่จังหวัดกำแพงเพชรส่งเสริมการปลูกและรับซื้อดาวอินคาชนิดกะเทาะเปลือกแล้ว 80 บาทต่อกิโลกรัม  และแบบไม่กะเทาะเปลือก 35 บาทต่อกิโลกรัม โดยให้เกษตรกรทำสัญญากับบริษัทอย่างถูกต้องตามกฎหมาย


เมี่ยงคำใบดาวอินคา



ทำชา ใบดาวอินคา

          สำหรับแปลงเกษตรกรที่ผู้เขียนได้ไปเยี่ยมชมเป็นของผู้ใหญ่ปราโมทย์ ประดับญาติ อยู่ที่ คลอง 13 อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี  ได้ทำสัญญาในการปลูกและขายผลผลิตกับสถาบันส่งเสริมเกษตรอินทรีย์เพื่อการส่งออก  โดยรับรองซื้อผลผลิตขั้นต่ำราคา 25 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งปัจจุบันสามารถขายได้ราคาสูงกว่าราคาขั้นต่ำ เนื่องจากเป็นพืชชนิดใหม่ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารและจัดการ ระยะปลูก ตลอดจนผลผลิตต่อต้นหรือต่อไร่ความคุ้มทุน ปัญหาศัตรูพืช และปัญหาด้านการตลาดยังมีน้อย ซึ่งในระยะเริ่มต้นนี้ราคารับซื้อเป็นสิ่งที่ล่อตาล่อใจให้คนปลูก เพราะคนปลูกยังน้อยต่อไปในอนาคตถ้ามีการปลูกมากขึ้นราคาอาจจะตกต่ำได้
          ท้ายนี้ก่อนที่ผู้อ่านและเกษตรกรท่านใดสนใจจะปลูกพืชชนิดนี้  ขอให้ไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน แม้จะมีการสัญญาว่าจะรับซื้อในราคาประกันก็ตาม    ผู้เขียนแนะนำว่าให้พิจารณาให้รอบคอบและควรจะศึกษาข้อมูลให้ดีหรือทดลองปลูกเบื้องต้นจำนวนน้อยๆ ก่อน   ดูภาวะตลาดและการซื้อขายสักพักว่าควรจะปลูกอย่างจริงจังหรือไม่


ข้อมูล : http://www.doa.go.th/pibai/pibai/n17/v_10-nov/rai.html
           : http://www.sachapure.com
           : http://www.daoinka.com
           : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1408785606


คลิปที่น่าสนใจเรื่องถั่วดาวอินคา




เมนูอาหาร ถั่วดาวอินคา











วิธีการปลูก ถั่วดาวอินคา




ตัวอย่างผู้ปลูกถั่วดาวอินคา





วิธีการปลูกต้นถั่วดาวอินคา ให้ได้ผลดี






การเพาะต้นกล้าและปลูกต้นถั่วดาวอินคา




คำเตือนระวังธุรกิจดาวอินคา
หาข้อมูลหลาย ๆด้านก่อนลงทุน
(คลิ๊กไปดู)



รวมภาพต้นถั่วดาวอินคา (คลิ๊กชม)



มะม่วงหิมพานต์ สรรพคุณล้ำลึก

มะม่วงหิมพานต์

ประโยชน์และสรรพคุณ





                 มะม่วงหิมพานต์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Anacardiumoccidentale) เป็นไม้ดอกยืนต้น ในวงศ์Anacardiaceae มะม่วงหิมพานต์เป็นพืชพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล ซึ่งเรียกเป็นภาษาโปรตุเกสว่า Caju (ผล) หรือ Cajueiro (ต้น) ปัจจุบันเติบโตแพร่หลายทั่วไปในภูมิภาคเขตร้อน เพื่อใช้ประโยชน์จากเมล็ด และผลของมัน มีคุณค่าทางสารอาหารสูง ประกอบด้วยโปรตีนที่ย่อยง่าย ไขมันที่ส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว เมื่อบริโภคเข้าไปจะไม่เพิ่มไขมันในเส้นเลือด คาร์โบไฮเดรต วิตามิน A, B, E และเกลือแร่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก



 มะม่วงหิมพานต์เป็นผลไม้ชนิดเดียวที่มีเม็ดอยู่นอกผล โดยเม็ดมีรูปร่างคล้ายไตยื่นออกมาจากส่วนปลายผลราวกับจะบอกใบ้ให้รู้ถึงคุณประโยชน์ที่น่าลิ้มลอง
เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ควบคุมน้ำหนัก ต้านเบาหวาน
          เม็ดมะม่วงหิมพานต์ จัดเป็นขนมขบเคี้ยวประเภทถั่วที่มีงานวิจัยสนับสนุนว่า หากกินทดแทนขนมซึ่งมีส่วนประกอบของน้ำตาลและไขมันเป็นส่วนผสมปริมาณมาก จะช่วยความคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มขึ้นได้
            Journal of Obesity  สำรวจพบการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวของชาวสเปน หลังจากกินเม็ดมะม่วงหิมพานต์ โดยพบว่า ผู้ที่กินเม็ดมะม่วงหิมพานต์ หรือถั่วชนิดต่างๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง มีโอกาสน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าผู้ที่ไม่กินถึง 31 เปอร์เซ็นต์   
            อาจกล่าวได้ว่า เม็ดมะม่วงหิมพานต์อุดมด้วยใยอาหารและไขมันดี กินแล้วอยู่ท้อง ทั้งยังให้พลังงานต่ำกว่าขนมแปรรูปที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลและไขมันซึ่งให้พลังงานสูงจึงช่วยควบคุมน้ำหนักตัวได้
            นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมอนทรีออล (University of Montrealประเทศแคนาดา ตีพิมพ์ผลงานวิจัยใน the journal Molecular Nutrition & Food Research โดยระบุว่า สารสกัดจากเม็ดมะม่วงหิมพานต์มีประสิทธิภาพในการต้านโรคเบาหวาน โดยสามารถกระตุ้นให้เกิดการลำเลียงน้ำตาลเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น มีผลควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และป้องกันภาวะดื้อต่ออินซูลิน (insulin resistance)
ยอดมะม่วงหิมพานต์ ยอดยาอายุวัฒนะ
          ยอดมะม่วงหิมพานต์ที่นิยมกินเคียงน้ำพริก แท้จริงคือยาอายุวัฒนะ ชะลอวัย
          ยอดมะม่วงหิมพานต์ ถ้วย (21 กรัมมีสารแอนติออกซิแดนต์หลายชนิดในปริมาณสูง ได้แก่ โพลิฟีนอล(Polyphenol) 861 มิลลิกรัม ไซยานิดิน (Cyanidin) 7.84 มิลลิกรัม และพีโอนิดิน (Peonidin) 0.16 มิลลิกรัม
หนังสือโภชนาการกับผัก สถาบันโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ยอดมะม่วงหิมพานต์มีประสิทธิภาพในการต้านฟรีแรดิเคิลสูงมาก มีค่า ORAC (Oxygen Radical Absorbance Capacity) สูงถึง 7,278 ไมโครโมล ทีอี  (ค่า ORAC ยิ่งสูง ยิ่งแสดงว่ามีประสิทธิภาพในการต้านฟรีแรดิคัลมาก) จึงช่วยปกป้องเซลล์จากการถูกทำลาย และชะลอความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของความแก่ได้

เมนูยอดมะม่วงหิมพานต์ ต้านมะเร็ง

ข้อมูลเพิ่มเติม : วิธีใช้ทางยาและสรรพคุณ

การเลือกเมล็ดฟักข้าวตัวเมีย

วิธีเลือกพันธุ์ฟักข้าวตัวเมีย






1. เมล็ดฟักข้าวมีทั้งตัวผู้และตัวเมีย  ตามคำบอกเล่าของเกษตรกรผู้ปลูกฟักข้าวการใหแบ่งลูกฟักข้าวออกเป็น 3 ส่วน ๆ หัวจะเป็นเมล็ดตัวเมีย ไม่มีหลักฐานทางวิชาการ
2. การเลือกเมล็ดว่าเมล็ดไหนเป็นตัวผู้หรือตัวเมียมีหลักดูดังนี้
เมล็ดฟักข้าวตัวผู้  ดูลักษณะจะเป็นเมล็ดใหญ่และสมบูรณ์ คาดว่าเป็นต้นตัวผู้ประมาณคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์
เมล็ดฟักข้าวตัวเมีย  ดูลักษณะจะเป็นเมล็ดเล็ก ๆ ดูแล้วเหมือนไม่ค่อยสมบูรณ์คาดว่าจะเป็นเมล็ดตัวเมียคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ประมาณ 60 – 70 เปอร์เซ็นต์ เพราะถ้าลูกหรือผลฟักข้าว เล็ก ๆ ไม่สมบูรณ์เมล็ดก็จะเล็ก ๆ ตามไปด้วย



บางประสบการณ์คัดโดยคำนวณเช่นนี้..




การคัดเลือกเม็ดพันธุ์



การคัดเลือกต้นพันธุ์ตัวเมีย






อ้างอิงที่มา :ฟักข้าวโคราช

ฟักข้าว สุดยอดอาหารสุขภาพ

ฟักข้าว สุดยอดอาหารสุขภาพ


 ”ฟักข้าว”เป็นพืชที่มีศักยภาพสูงสำหรับการเป็นพืชเพื่อสุขภาพ เนื่องจากมีคุณค่าทางสารอาหาร และมีประโยชน์ต่อสุขภาพสูง  โดยมีรายงานของต่างประเทศว่า ในเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวนั้น มีปริมาณเบต้าแคโรทีน มากกว่าแครอท 10 เท่า และมีสารไลโคพีนมากกว่ามะเขือเทศ 70 เท่า นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า สารไลโคพีนจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ โดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมาก
สำหรับฟักข้าวสายพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทยพบว่า มีปริมาณสารไลโคพีนมาก กว่ามะเขือเทศ 12-60 เท่า (พันธุ์จากทาง สวนลุงเชยพบว่ามีมากถึง 59.6 เท่า)

ลักษณะฟักข้าว และพื้นที่ที่ปลูกได้

    ฟักข้าว เป็นพืชไม้เลื้อยอยู่ในวงศ์แตงกวาและมะระ มีชื่อสามัญว่า Spring Bitter Cucumber เป็นพืชที่ขึ้นตามรั้วบ้าน หรือตามต้นไม้ต่าง ๆ มีมือเกาะคล้ายกับตำลึง ใบเป็นรูปหัวใจคล้ายใบโพธิ์ ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก 3-5 แฉก ดอกจะมีสีขาวแกมเหลือง ตรงกลางมีสีน้ำตาลแกมม่วง
                ผลของฟักข้าว 2 ลักษณะ คือ ทรงกลม และทรงรี ผลกลม ๆ จะยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร ส่วนผลรีจะยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร ถ้ายังเป็นผลอ่อนอยู่ ผลจะมีสีเขียวอมเหลือง มีหนามถี่ ๆ อยู่รอบผล แต่เมื่อสุกแล้ว ผลจะมีสีแดง หรือแดงอมส้ม และหากผ่าผลฟักข้าวออกดูข้างใน ก็จะเห็นเมล็ดจำนวนมากเรียงตัวกันคล้ายเมล็ดแตง แต่ละผลหนักประมาณ 0.5-2 กิโลกรัม
                  หลายคนที่อยู่ต่างจังหวัดอาจจะไม่คุ้นชื่อกับ “ฟักข้าว” แต่คุณอาจจะคุ้นกับชื่อที่เรียกกันในท้องถิ่น อย่างจังหวัดปัตตานี จะเรียก “ฟักข้าว” ว่า “ขี้กาเครือ” จังหวัดตาก จะเรียกว่า “ผักข้าว” จังหวัดแพร่ เรียก “มะข้าว” เป็นต้น

      เปรียบเทียบพื้นที่ปลูกประเทศเวียดนามกับไทย



      เวียดนามมีพื้นที่ภูเขาสูงมากกว่าไทยยังปลูกได้ดี ไทยเราก็ต้องปลูกได้..


      พันธุ์เวียดนามทีผลโตน้ำหนักถึง 5 กิโลกรัม ก็มี

      สรรพคุณของฟักข้าว

      1. ผลอ่อนและใบอ่อน ช่วยลดน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานได้ (ผลอ่อน,ยอดฟักข้าว)
      2. ช่วยบำรุงปอด ช่วยแก้ฝีในปอด (เมล็ด)
      3. ใบฟักข้าวมีรสขมเย็น มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้ตัวร้อนได้ (ใบ)
      4. สรรพคุณฟักข้าว รากช่วยถอนพิษไข้ (ราก)
      5. ช่วยขับเสมหะ (ราก)
      6. ช่วยแก้ท่อน้ำดีอุดตัน (เมล็ด)
      7. ช่วยขับปัสสาวะ (เมล็ด)
      8. ฟักข้าว สรรพคุณของใบช่วยแก้ริดสีดวง (ใบ)
      9. ใบนำมาตำใช้พอกแก้อาการปวดหลังได้ (ใบ)
      10. ช่วยแก้กระดูกเดาะ (ใบ)
      11. ช่วยแก้เข้าข้อ อาการปวดตามข้อ (ราก)
      12. เมล็ดแก่นำมาบดให้แห้ง ผสมน้ำมันหรือน้ำส้มสายชูเล็กน้อย นำมาใช้ทาบริเวณที่มีอาการอักเสบ อาการบวม จะช่วยรักษาอาการได้ และยังช่วยรักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ผดผื่นคันต่างๆ อาการฟกช้ำได้อีกด้วย (เมล็ดแก่)
      13. รากใช้ต้มดื่มช่วยถอนพิศทั้งปวง (ราก)
      14. ฟักข้าวสรรพคุณทางยา ใบช่วยถอนพิษอักเสบ (ใบ)
      15. ช่วยแก้พิษ แก้ฝี (ใบ)
      16. ช่วยแก้ฝีมะม่วง (ใบ)
      17. ฟักข้าวสรรพคุณ ใบช่วยแก้หูด (ใบ)
      18. เมล็ดฟักข้าว สามารถนำมาใช้แทนเมล็ดแสลงใจได้ (โกฐละกลิ้ง

        ประโยชน์ของฟักข้าว

        1. ฟักข้าว มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
        2. ช่วยในการชะลอวัย ป้องกันการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ปัญหาผิวแห้งกร้าน ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด
        3. ฟักข้าวมีเบต้าแคโรทีนสูงกว่าแครอท 10 เท่า และมีไลโคพีนมากกว่ามะเขือเทศ 12 เท่า !
        4. ประโยชน์ ฟักข้าวช่วยบำรุงและรักษาสายตา ป้องกันโรคเกี่ยวกับดวงตา โรคต้อกระจก ประสาทตาเสื่อม ตาบอดตอนกลางคืน (เยื่อเมล็ด)
        5. ช่วยป้องกันโรคหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด
        6. ช่วยป้องกันและช่วยยับยั้งการเกิดลิ่มเลือดในเส้นเลือด
        7. ช่วยป้องกันเส้นเลือดในสมองแตก ซึ่งเป็นสาเหตุของการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
        8. งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า ฟักข้าวมีโปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อเอดส์ (HIV) และยังช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย ซึ่งได้ทำการจดสิทธิบัตรในประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
        9. ประโยชน์ของฟักข้าว กับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ฟักข้าวมีฤทธิ์ในการต่อต้านมะเร็ง ไวรัส ช่วยยับยั้งระดับน้ำตาลในเลือด และยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน
        10. ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร และมะเร็งปอด
        11. งานวิจัยของมหาวิทยาลับฮานอย พบว่า น้ำมันจากเยื่อหุ้มเมล็ดของฟักข้าวมีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งตับ
        12. ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้
        13. ช่วยในการขับเสมหะ ใช้กลั้วคอช่วยลดอาการเจ็บคอ หรืออาการอักเสบที่ลำคอ
        14. ฟักข้าวเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะพักฟื้น หรือผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ มีโรคประจำตัวหรือร่างกายอ่อนแอ
        15. รากฟักข้าว ใช้แช่น้ำสระผม ช่วยทำให้ผมดกดำขึ้น แก้ปัญหาผมร่วง แก้อาการคันหนังศีรษะ รังแค และช่วยฆ่าเหาได้อีกด้วย (ราก)
        16. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ ได้ทำการศึกษาร่วมกัน ในเรื่องของการนำน้ำมันเยื้อหุ้มเมล็ดของฟักข้าว มาพัฒนาเป็นเครื่องสำอางสูตรลดเลือนริ้วรอย ซึ่งก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จนได้รับรางวัล “IFSCC Host Society Award 2011″ จากงานประชุมสมาพันธ์นักเคมีเครื่องสำอางนานาชาติ
        17. ผลอ่อนฟักข้าว ใช้ทำเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น นำไปต้มหรือนึ่งจิ้มกินกับน้ำพริก หรือนำไปใส่แกงต่างๆ แกงส้มลูกฟักข้าว เป็นต้น
        18. ยอดฟักข้าวอ่อน ใช้ทำเป็นอาหารก็อร่อย (กลิ่นจะคล้ายๆกับยอดหรือใบมะระ) เมนูฟักข้าว เช่น แกงเลียง แกงส้ม ผัดไฟแดง คั่วแค ใช้ลวกหรือต้มกินกับน้ำพริก ฯลฯ
        19. ฟักข้าว สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง เช่น น้ำฟักข้าว ฟักข้าวแคปซูล เป็นต้น

      การปลูกฟักข้าว

      อันดับแรกเราต้องเพราะเมล็ด หรือ ปักชำ หรือทับเถาว์ก่อนคะ หลังจากนั้นจึง ทำค้างให้เกาะ พอมีดอกเราก็ช่วยผสมเกสรช่วยให้เขาติดผลคะ หรือ จะปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติก็ได้คะ แต่อัตราการติดผลจะน้อยมากถ้าเราไม่ช่วย 

      เมล็ดฟักข้าว
      วิธีการเพาะเมล็ดฟักข้าว

      1. แช่น้ำทิ้งไว้เลยค่ะ 1 คืน ขึ้นไป เมล็ดจะอิ่มน้ำ หรือ จะใช้วิธีกะเทาะเปลือกแข็งๆออก เพื่อช่วยให้เขางอกได้ง่ายและเร็วขึ้นเพราะเปลือกฟักข้าวจะแข็งมากคะ โดยส่วนตัวแล้วจะเอาเมล็ดฟักข้าวมาแช่น้ำยาเร่งรากก่อนคะ หรือ แช่ในน้ำขี้หมูแทนก็ได้ถ้าเราไม่มีน้ำยาเร่งราก แช่ไว้ประมาณ 20-45 นาที
      2. ใส่เมล็ดลงบนดินเพาะปลูกที่โปร่งเปียกชุ่ม  แต่ไม่แฉะ โดยใช้ดินมาทับเมล็ดประมาณ2-3เซ็น
      3. รดน้ำตลอดไม่ปล่อยให้ดินแห้ง แต่ระวังไม่ให้แฉะ(เทคนิค คือ ดินเพาะควระบายน้ำดี ป้องกันการเน่าได้)
      4. พอเมล็ดแตกใบจริงออกมาสักสี่ใบก็เอาไปปลูกลงแปลงได้คะ
      เมล็ดฟักข้าว กะเทาะเมล็ดฟักข้าว
      ฟักข้าวเพาะจากเมล็ด
      วิธีแยกราก ปักชำ หรือ ทับเถาว์

      วิธีนี้เราจะสามารถเลือกได้ว่าอยากได้ต้นฟักข้าวตัวผู้หรือตัวเมีย คะซึ่งผลที่ได้ คือ เรากำหนดเพศได้ ฟักข้าวออกดอกติดผลเร็วไม่ต้องรอนานคะ ทำง่ายๆ คะถ้าอยากได้เพศไหนก็นำเถาว์ของต้นเพศนั้นมาชำ ด้วยเถาว์หรือ ยอดก็ได้ หรือ จะทับเถาว์ก็เลือกได้เช่นกัน ยิ่งถ้าแยกรากจะทำได้เร็วกว่าแต่จะมีผลกระทบต่อต้นพรรณเล็กน้อย หรือ ถ้าไม่ระวังต้นพรรณอาจตายได้  ทุกครั้งก่อนเอาเมล็ด หรือ ต้นที่ได้มาจากการชำ หรือวิธีใดก็แล้วแต่ปลูกลงดิน ท่านควรแช่น้ำยาเร่งรากก่อน และอย่าลืมเอาปูนข้าวหว่านเพื่อปรับสภาพดินเตรียมดินก่อนนะคะ
      ฟักข้าวจากการชำ ทำที่ไต่ให้ฟักข้าว
      การทำให้ฟักข้าวติดผลเยอะ

      นอกจากการช่วยผสมเกสรช่วยแล้ว จากประสบการณ์การปลูกฟักข้าวและการหาความรู้เพิ่มเติม ตลอดจนแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้ปลูกด้วยกันแล้ว พบว่า
      การปลูกฟักข้าวถ้าไม่ทำค้างให้ฟักข้าวไต่ ฟักข้าวจะติดลูกน้อย และลูกจะเน่าง่ายถ้าปล่อยให้ติดผลบนดิน
      ถ้าท่านไม่หมั่นตัดแต่งกิ่ง ปล่อยให้เถาว์แตกหน่อแตกใบหนาแน่นเกินไป ฟักข้าวก็จะติดผลน้อยเช่นกัน
      ถ้าท่านปล่อยให้ฟักข้าวสุกคาต้นไม่ได้เก็บไปใช้ประโยชน์ และไม่ได้ตัดกิ่งที่ติดลูกเก่าออก ฟักข้าวจะไม่ติดลูกใหม่คะ
      ลูกฟักข้าว

      การผสมเกสรฟักข้าว (ช่วยให้ฟักข้าวติดผล)

      ก่อนที่เราจะไปผสมเกสรให้กับฟักข้าว ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักและแยกแยะให้ออกว่าดอกฟักข้าว ดอกไหนตัวผู้ ดอกไหนตัวเมีย ดูจากภาพประกอบนะคะ
      การดูดอกฟักข้าว

      เมล็ดพันธุ์และต้นพันธุ์
      เมล็ดฟักข้าว

      เมล็ดฟักข้าวขาย

      เมล็กฟักข้าวขาย

      ต้นพันธุ์ฟักข้าว
      ฟักข้าวจากการชำ

      ขายฟักข้าว

      ขายฟักข้าว2

      การเก็บผลฟักข้าวให้ได้สารอาหารสูงสุด

                  เราควรเก็บลูกฟักข้าวตอนที่มันสุกเต็มที่ หรือมีสีแดงทั้งลูก และหลังจากตัดมาแล้ว ให้นำมาผึ่งลมในร่ม ต่ออีกไม่น้อยกว่า 3 วัน เพราะเวลานี้จะทำให้สารอาหารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และถ้าเก็บไว้ราวๆ 6 วัน จะมีสารอาหารเพิ่มขึ้นกว่า 60% เลยทีเดียว แต่ถ้าเก็บเกิน 10 วันอาจมีการเน่าเกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้สารลดลง 




      ขอบคุณที่มาข้อมูลดี ๆ :




      ชะพลู

      ชะพลู 

      ปลูกชะพลู ดูแลง่าย ได้ทั้งอาหารและยา ไร้โรคและแมลงรบกวน






      ชะพลู ชื่อภาษาอังกฤษ : WildbetalLeafbush มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Piper sarmentosumRoxb. สำหรับชื่ออื่นๆ ภาคเหนือจะเรียกว่า "ผักพลูนก" "พลูลิง" "ปูลิง" "ปูลิงนก" หรือ "ผักปูนา" ทางภาคกลางจะเรียกว่า "ช้าพลู" สำหรับภาคอีสานก็จะเรียกกันว่า "ผักแค" "ผักอีเลิด" "ผักนางเลิด" และสำหรับภาคใต้จะเรียกกันว่า "นมวา"

      ลักษณะของต้นชะพลู
      ชะพลูเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มักขึ้นทั่วไปตามที่เปียกชื้น ปลูกขึ้นง่าย เจริญเติบโตได้ดี มีลักษณะเป็นเถาเลื้อยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ลำต้นแบ่งเป็นข้อโดยตามข้อจะมีรากช่วยในการยึดเกาะ มีกลิ่นเฉพาะตัวใบมีสีเขียวสดเป็นมัน คล้ายกันกับใบ พลูที่ใช้เคี้ยวกินกับหมาก ฐานใบกว้าง ปลายใบแหลมคล้ายรูปหัวใจหรือใบโพธ์เล็กน้อย เห็นเส้นใบชัดเจน ใบมีกลิ่นฉุน มีรสเผ็ดเล็กน้อย ดอกสีขาวมีขนาดเล็กจะออกเป็นช่อ

      สรรพคุณของใบชะพลู
      ดอก : ทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้
      ราก : ขับเสมหะให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง
      ต้น : ขับเสมหะในทรวงอก
      ใบ : มีรสเผ็ดร้อน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ในใบชะพลูมีสาร เบต้า-แคโรทีน สูงมาก

      ข้อควรระวัง
      อย่างไรก็ตามใบชะพลูก็มีข้อควรระวังที่สำคัญนั่นคือ ไม่ควรกินใบชะพลูในปริมาณมากเกินไปเพราะมีสารออกซาเลต (Oxalate) ที่หากสะสมในร่างกายมาก ๆ จะทำให้เกิดนิ่วในไตได้ แต่หากเรารับประทานในจำนวนพอเหมาะเว้นระยะบ้างเชื่อกันว่าชะพลูจะช่วยปรับธาตุในร่างกายให้สมดุล

      ประโยชน์ของใบชะพลู

      ในใบชะพลูมีสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายของมนุษย์อย่างมาก คือ แคลเซียมและวิตามินเอซึ่งจะมีสูงเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีฟอสฟอรัส เหล็ก เส้นใย และสารคลอโรฟิล ส่วนสรรพคุณทางยานั้นช่วยบำรุงธาตุ แก้จุกเสียด การกินใบชะพลูมาก ๆ ชนิดที่เรียกว่า กินกันทุกวัน กินกันแทบทุกมื้อ เช่น ชาวบ้านภาคอีสานนั้น แคลเซียมที่มีในใบชะพลูจะเปลี่ยนเป็นแคลเซียมออกซาเลท ซึ่งถ้าสะสมมาก ๆ อาจกลายเป็นนิ่วในไตได้ แต่โดยทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวันก็ไม่มีใครกินชะพลูได้มากมายขนาดนั้น ถ้ากินใบชะพลูต้องกินร่วมกับเนื้อสัตว์ร่างกายจึงใช้แคลเซียมที่มีอยู่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

      1.ช่วยในการขับถ่ายเนื่องจากมีเส้นใยในปริมาณมาก (ใบ)
      2.เมนูใบชะพลู ก็ได้แก่ แกงคั่วไก่ใบชะพลู แกงคั่วหอยขมใบชะพลู หมูห่อใบชะพลู ไข่น้ำใบชะพลู ยำตะไคร้ใบชะพลู เมี่ยงปลาเผาใบชะพลู ผัดป่าใบชะพลู แกงอ่อมใบชะพลู ยำปลาทูใบชะพลู เป็นต้น
      3.ใบชะพลูมี เบต้าแคโรทีน ในปริมาณมากซึ่งช่วยบำรุงและรักษาสายตา ช่วยในการมองเห็น ป้องกันโรคตา  บอดตอนกลางคืน แก้โรคตาฟาง เป็นต้น (ใบ)
      4.ประโยชน์ของใบชะพลู ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระต่างๆ (ใบ)ชะพลู
      5.ช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง (ใบ)
      6.ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ด้วยการใช้รากประมาณ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวจนเหลือ 3 ใน 4 ถ้วยแก้วแล้วรับประทานครั้งละ 1 ส่วน 4 ถ้วยแก้ว (ราก,ทั้งต้น)
      7.ช่วยบำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ (ราก)
      8.ช่วยแก้อาการบิด ด้วยการใช้รากประมาณครึ่งกำมือ ใช้ผลประมาณ 3 หยิบมือ นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวจนเหลือ 1 ถ้วยแก้ว แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1 ส่วน 4 ถ้วยแก้ว (ราก)
      9.ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน และช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน (ใบ)
      10.ช่วยทำให้เสมหะงวดและแห้ง (ดอก,ราก)ใบชะพลู
      11.สรรพคุณของใบชะพลู มีรสเผ็ดร้อน ช่วยทำให้เจริญอาหารมากยิ่งขึ้น (ใบ)
      12.สรรพคุณใบชะพลู ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ชะพลูสดทั้งต้นประมาณ 7 ต้น นำมาล้างน้ำให้สะอาด ใส่น้ำพอท่วมแล้วต้มให้เดือดสักพัด แล้วนำมาดื่มเป็นชา (ทั้งต้น)
      13.ช่วยในการขับเสมหะทางอุจจาระ (ราก)
      14.ช่วยขับลมในลำไส้ ด้วยการใช้รากประมาณ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวจนเหลือ 3 ใน 4 ถ้วยแก้วแล้วรับประทานครั้งละ 1 ส่วน 4 ถ้วยแก้ว (ดอก,ราก)
      15.สรรพคุณชะพลู ช่วยในการขับเสมหะบริเวณทรวงอก ลำคอ (ใบ,ราก,ต้น)
      16.รากชะพลูเป็นหนึ่งในส่วนผสม ของตำรับสมุนไพรพิกัดยาตรีสาร ซึ่งช่วยบำรุงธาตุ บำรุงโลหิต แก้คูถเสมหะ





      อ้างอิงที่มา :คลิ๊ก

      มะนาวนิ้วมือ หรือมะนาวคาร์เวียร์

      มะนาวนิ้วมือ หรือมะนาวคาร์เวียร์ ผลเดียวราคา 200 บาท รสชาดเป็นเยี่ยมน่าปลูกมาก ๆครับ..









      มะขามป้อมยักษ์ เงินล้าน

      มะขามป้อม

                มะขามป้อมยักษ์อินเดีย มีอยู่ 4 สายพันธุ์ หรือ 4เบอร์ คือ 1. พันธุ์อินเดียเบอร์ 1หรือพันธุ์ อ -1   ลักษณะประจำพันธ์  คือ  ใบเป็นใบประกอบเหมือนก้างปลาก้านใบยาว 30 – 50 ซม.  ใบประกอบไม่ค่อยเป็นระเบียบ  ผลกลมแป้นมีเส้นแบ่งกลีบผลชัดเจน จากขั้วผลจรดก้นผล เส้นแบ่งนี้จะบ่งบอกถึงจำนวนเมล็ดข้างในว่ามีกี่เมล็ด ขนาดผลโตที่สุด 4.5ซม. น้ำหนักเฉลี่ย 4.5 ซม. น้ำหนักเฉลี่ย  50 – 65 กรัม/ผล ทีลักษณะที่โดดเด่น คือให้ผลทะวายตลอดปี 2. พันธุ์อินเดียเบอร์ 2 หรือพันธุ์ อ – 2    

      ลักษณะประจำพันธุ์
                 ที่สังเกตุได้ง่าย คือ การเจริญเติบโตทางกิ่งก้าน เจริญเติบโตไวกว่าพันธุ์ อ – 1 ก้านใบจะยาวกว่าพันธุ์ อ – 1 คือ ก้านใบยาว 40 – 70 ซม. ใบประกอบจะเจริญเติบโตสม่ำเสมอกัน ก้านใบเป็นระเบียบสลับกันแบบลงตัวชัดเจน ใบเขียวเข้ม ผลกลมแป้น เส้นแบ่งกลีบผลเรียบ ขนาดผลโตเท่าๆ กับ อ – 1 ติดผลดกไม่ทวาย 3. พันธุ์อินเดียเบอร์ 3 หรือ อ – 3   ลักษณะประจำพันธุ์ที่สังเกตได้ ลักษณะต้นใบจะสั้นกว่า อ – 1 การเจริญเติบโตของต้นใบจะอ่อนพริ้ว ไม่เป็นระเบียบ ใบประกอบมีความสม่ำเสมอกว่า อ – 1 แต่ใบจะบอบบางกว่า ลักษณะผลกลมแป้น ผลโต 3.5 – 4 ซม. ติดผลดกจะไม่ทะวาย 

      มะขามป้อมยักษ์อินเดีย 
                 ทั้ง 3 สายพันธุ์ เป็นสายพันธุ์ที่ได้มาจากการเพาะเมล็ด  มะขามป้อมอินเดียที่แม่ชีมาลี อิงดะวะระ ท่านนำมาจากประเทศอินเดียเมื่อ 16 ปีที่แล้ว ปลูกไว้ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ให้ผลดกดีมาก โดยเฉพาะพันธุ์ อ – 1 จะมีผลทะวายตลอดทั้งปี แม่ชีท่านต้องนั่งร้านเก็บ มีผู้นำมาทดลองปลูกพันธุ์ อ – 1 เริ่มเอาไว้ผลประมาณปีเศษ ออกดอกชุดแรกๆ จะไม่ค่อยติดผลเท่าไหร่นัก จนเมื่ออายุมากขึ้นกิ่งเริ่มแก่จะเริ่มติดผลเยอะขึ้น ติดผลแรกๆ ประมาณ 100 กว่าลูก ประมาณ 5 – 6 กก.ติดต่อเนื่องกัน ตอนนี้ 2 ปีเศษ ต้นสูงประมาณ 4 เมตร ติดผลหนาตาน่าจะไม่ต่ำกว่า 20 กก.ต่อต้น การติดผลถือว่าเป็นที่น่าพอใจ สำหรับดินเหนียวไม่เหมาะเท่าไหร่ในการปลูก ถ้าเป็นดินร่วนทรายแห้งๆ ผลน่าจะดกดีมาก ขณะนี้เราได้ค้นพบมะขามป้อมอินเดียยักษ์จริงๆ จากประเทศอินเดีย เมืองพารานาสี  ซึ่งเป็นมะขามป้อมที่มีขนาดผลโตที่สุดของอินเดีย และก็มีอินเดียประเทศเดียวที่มีมะขามป้อมที่มีผลโตที่สุดประเทศเดียว เท่ากับว่าเราได้พันธุ์มะขามป้อมที่มีผลโตที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็ว่าได้  แต่อย่าเพิ่งฟันธงเหนือฟ้ายังมีฟ้าก็ย่อมได้ เพราะผู้เขียนมีความปรารถนาที่อยากได้พันธุ์มะขามป้อมที่มีผลใหญ่และโตและให้ผลทะวายตลอดทั้งปี เพื่อให้เกษตรเรามีของเล่นชิ้นใหม่ๆ จะได้มีสีสันประดับวงการผลไม้ไทยเราอีกต้น หรืออีกชิ้นหนึ่ง ความเป็นมาของมะขามป้อมยักษ์อินเดียเบอร์ 4 ทะวายจัมโบ้หรือเรียกย่อว่า ( อ – 4 ทะวายจัมโบ้)  ผู้เขียนอยากบอกว่าวัตถุประสงค์ที่ไปอินเดีย ในช่วงเวลาที่ไม่มีผลมะขามป้อมขายในท้องตลาด ก็เพื่อไปหาต้นพันธุ์ที่ให้ผลนอกฤดูจริงๆ และผลใหญ่จริงๆ และสมใจตามที่ได้อธิษฐานจิตใต้ต้นโพธ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ว่าให้ได้พันธุ์มะขามป้อมตามที่ได้ตั้งใจไว้ และก็ได้ไปพบตามที่ต้องการคือ เป็นต้นที่เจ้าของสวนปลูกไว้รวมกันเป็นสวนหลังบ้าน น่าจะประมาณเป็นร้อยปี มีอยู่ต้นเดียว ที่ให้ผลตลอดปี และผลใหญ่โตจริงๆ ผู้เขียนเอายอดพันธุ์มาขยายที่เมืองไทย และทดลองปลูกทั้งลงดินและปลูกในกระถาง เพื่อทดสอบการติดดอกติดผลในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ลักษณะดีและเด่นของพันธุ์ อ – 4 ทะวาย  คือ 1. ลักษณะการเจริญเติบโตทางกิ่ง – ก้านใบ แข็งแรงดีมาก ก้านใบจะยาว ตั้งแต่ 30 – 120 ซม. ใบประกอบเป็นระเบียบสม่ำเสมอสวยงาม 2. ออกดอกติดผลง่าย สังเกตจากการที่ปลูกลงกระถางจะมีดอกและติดผลง่าย ขนาดปลายใบยาวๆ ยังมีดอกและติดผลได้ 3. ลักษณะผลกลมแป้นแบนกว่าพันธุ์ อ – 1 เส้นแบ่งกลีบผลไม่เด่นชัด คือ ผิวจะเรียบเนียนกว่า 4. ขนาดผลโตสุดที่ได้วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5.5 ซม. ขนาดผลรองๆ อยู่ที่ 4.5 ซม. 5. น้ำหนักผลที่ใหญ่ที่สุด 75 กรัม/ผล น้ำหนักเฉลี่ย 50 – 75 กรัม/ผล คือ ประมาณ 14 – 17 ผล-กก. 6. เนื้อหนา กรอบนุ่ม รับประทานสดได้ สะดวกกว่าพันธุ์ไทย ซึ่งมีเนื้อแข็งกระด้างรับประทานยาก 7. จะเริ่มติดผลดกดีเมื่อมีอายุ 2 ปีขึ้นไป 8. ให้ผลทะวายได้ตลอดปี วิธีปลูกและดูแลรักษามะขามป้อม จริงๆ แล้วมะขามป้อมเป็นผลไม้เก่า ที่ใหญ่สำหรับเกษตรกรไทยจึงไม่ค่อยมีข้อมูล ในเชิงวิชาการ และประสบการณ์มากนัก มีเกษตรกรแถวกาญจนบุรีปลูกพันธุ์ไทยอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ผู้ที่ได้ดีก็ไม่ค่อยเปิดเผยเคล็ดลับ เพราะมะขามป้อมไทยออกดอกปีละครั้ง ถ้าดูแลรักษาไม่ดีปีนั้นก็จะไม่ได้เงิน แต่พันธุ์อินเดีย อ- 1 และ อ – 4 จะไม่เหมือนกันเมื่อรุ่นนี้ติดน้อย รุ่นต่อไปก็จะออกตามมาอีกติดตามกันมาติดๆ ขั้นตอนการดูแลรักษา 1. การเตรียมต้นกล้า  ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ต้นพันธุ์ต้องได้จากแหล่งที่เชื่อถือได้ เพราะเราจะต้องเสียเงิน เสียเวลา และเสียความรู้สึก อย่างน้อยก็ 2 – 3 ปีกว่าจะเห็นผล 2. การเตรียมดิน  ลักษณะดินที่ดี  คือ ร่วนซุย มีชั้นดินลึก 50 – 70 ซม. บริเวณนั้นมีวัชพืชหรือต้นไม้ขึ้นงอกงาม แสดงว่าดินดี ขุดหลุม 50 * 50 ซม. ผสมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ผสมกับดินที่ขุดขึ้นมา แล้วกลบลงในหลุมตามเดิม เว้นไว้พอให้ตุ้มที่ชำต้นลงไปได้ก็พอ      3. ระยะปลูก แล้วแต่เราจะเลือก เพราะต้นกล้าพันธุ์มะขามป้อมยักษ์อินเดีย ที่ได้จากการทาบกิ่งหรือติดตา อายุการให้ผลจะเร็ว คือ 2 – 3 ปี เราก็เอาไว้ผลได้ และยิ่งเป็นพันธุ์ อ – 1 และ อ –  4 จัมโบ้ ที่มีผลตลอดปี เมื่อเราเลี้ยงผลแล้วจะติดผลต่อเนื่อง ทรงพุ่มจะไม่ใหญ่นัก ระยะปลูกอาจจะใช้ระยะ 3 * 6 เมตร ไร่หนึ่งจะปลูกได้ 88 ต้น เมื่อเก็บผลได้  7 – 10  ปี ก็ตัดออกเสีย 1 ต้น เป็นระยะ 6 * 6 เท่ากับไร่หนึ่งเหลือ  44  ต้น  ระยะนี้ก็อยู่ได้เป็นร้อยปี 4. การดูแลรักษามะขามป้อมแรกปลูก 4.1  การให้น้ำปลูกใหม่ๆ รดน้ำ  วัน เว้น วัน   เมื่อเข้าเดือนที่ 2   วัน เว้น 2 วัน หรือสังเกตดูความชื้นของหน้าดินที่โคนต้น 4.2  การให้ปุ๋ย ระยะหนึ่งปีแรก ใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพื่อเร่งการเจริญเติบโตใช้ปุ๋ย สูตร 25 –7 –7  เริ่มให้ เมื่อปลูกลงดินสัก 2 อาทิตย์  ห่างกันสัก 3 อาทิตย์ / ครั้งๆ ละ 1 ช้อนชา ถึงอายุ 6 เดือน 4.3  การให้ปุ๋ย ระยะที่ 2 ใช้ปุ๋ย สูตรเสมอ 16 –16 –16  สลับกับ 25 -7 – 7  ให้ 3 อาทิตย์ ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ จนอายุครบ 2.5 ปี เมื่อเห็นว่าต้นเจริญเติบโตสมบูรณ์แข็งแรงพอ 4.4  ให้ปุ๋ยระยะที่ 3 คือ สูตรสะสมอาหาร และสร้างตาดอก  สูตร 8 -24 -24 ครั้งละ 200 – 300 กรัม/ต้น/ครั้ง แล้วรดน้ำ 3 – 4 ครั้ง เพื่อให้ปุ๋ยละลายหมดแล้ว งดน้ำ 10 – 15 วัน ให้รู้สึกว่าใบเหลือง เริ่มร่วง และมีตาดอกแตกออกมาตามตากิ่งเต็มไปหมด  เริ่มให้น้ำน้อยๆ หลังจากแทงตาดอก 20 – 25 วัน ดอกจะบานและเริ่มติดผลเล็ก ๆ ติดมากติดน้อย ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ฝนตกขณะดอกบานจะติดไม่ดี  โรคและแมลงก็เป็นปัจจัยลบได้เหมือนกัน 4.5  ให้ปุ๋ยระยะที่ 4   เมื่อติดผลเล็กๆ แล้วให้น้ำสม่ำเสมอ  แล้วกลับมาใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ   16 –16 -16  เลี้ยงลูกจนกว่าจะเก็บได้  สรุปการใช้ปุ๋ย  25-7-7 , 16-16-16 , 8-24-24, ( 16-16-16 เอาสูตร 8-24-24 ตามท้ายก่อนเก็บผลสัก  1 เดือน  จะทำให้รสชาดดี และที่จะละเลยเสียไม่ได้ พวกธาตุอาหารเสริม  แคลเซียม  โบรอน และธาตุอาหารทางใบ  จะทำให้ได้คุณภาพดีเลิส 5.  โรค  มะขามป้อมเป็นผลไม้ป่าทนทานต่อโรคต่างๆ ได้ดีโดยธรรมชาติ แต่เมื่อเรานำมาปลูกเป็นแปลง มีการจัดการเรื่องปุ๋ยเรื่องน้ำอย่างดี อาจจะขาดสมดุลทางธรรมชาติ อาจจะอ่อนแอต่อเชื้อราบางชนิดได้ เท่าที่ผู้เขียนสังเกตดู ก็เห็นมีเชื้อราเข้าทำลายกิ่งที่ไม่สมบูรณ์บ้าง แต่ก็ไม่มาก  แนวทางป้องกันคือ ฉีดพ่นสารกำจัดเชื้อราบ้างในช่วงฤดูฝน  สารเคมีที่ใช้เป็นกลุ่ม คาเบ็นดาซิ แอนทราโคล 6.  แมลงศัตรูพืช  มะขามป้อมมีแมลงรบกวนบ้างเล็กน้อย  เช่น  บางพื้นที่ จะมีด้วงปีกแข็งกัดกินใบในเวลากลางคืน  และหนอนเจาะลำต้นหรือตามกิ่ง  เมื่อติดดอกติดผลเล็กๆ  จะมีพวกแมลงปากดูด  พวกเพลี้ยไฟ  ไรแดง  เข้าแทะช่อดอก และผลเล็กๆ ดูดกินน้ำผึ้ง  ทำให้ผล ลาย ไร้คุณภาพ  วิธีป้องกันกำจัด  โดยไม่ใช้สารเคมี  ก็ใช้สารสกัดสมุนไพร จากพืช หรือน้ำส้มควันไม้ ฉีดป้องกันได้ แต่ถ้าระบาดก็ใช้สารเคมีฉีดพ่น  คุม และฆ่า ในขณะเดียวกัน สารเคมีที่ใช้ คือ พวกแมลง ใช้สารคาร์บาริล ( เซฟวิน 85 ) แมลงปากดูด ก็ใช้กลุ่ม คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์) ฉีดป้องกันและกำจัด      7.  ระยะเวลาเก็บผลมะขามป้อมอินเดียยักษ์อินเดีย  เมื่อเริ่มแทงช่อดอกยาว  3 – 5 ซม. อายุ 20 – 25 วัน จะเริ่มดอกบาน และผสมตัวเองตามธรรมชาติ  และจะเริ่มติดผลเล็กๆ ตามมา  ใช้เวลาอีก  6 – 7 เดือน จะเริ่มเก็บผลได้ แต่จะทยอยเก็บไปเรื่อยๆ มากบ้าง น้อยบ้าง   ต้นมะขามป้อมที่ปลูกลงดินแล้ว อายุเป็นร้อยๆ ปี  ปีแรกๆ อาจจะเก็บได้ 5 – 10 กิโลกรัม แต่ถ้า 10 ปีขึ้นไป ต้นหนึ่งเก็บได้เป็น 100 กิโลกรัม ขึ้นไป แต่ถ้า  20 ปี ก็จะมากขึ้น  300 – 500  กิโลกรัม/ต้น/ปี ถ้ากิโลกรัมละ  50 บาท  คิดดูเอาเอง 8. ด้านการตลาด  สำหรับมะขามป้อมยักษ์อินเดีย  ขณะนี้มีคนที่คิดจะปลูกอยู่บ้างและลงปลูกไปแล้วก็มี แต่ยังเป็นรายเล็กๆ 100 – 200 ต้น ยังไม่มีผลออกมาวางขาย  มีแต่พันธุ์ดั้งเดิม ผลเล็กกิโลกรัมละ 60 – 70 บาท ถ้าเป็นพันธุ์อินเดีย กิโลกรัมละ 200 –300 เขาก็จะแย่งกันซื้อหมด ท่านที่คิดจะปลูกอย่ารอช้า  เพราะคนซื้อเขารออยู่  ตลาดไท  สี่มุมเมือง  มีแต่มะขามป้อมผลเล็กๆ มีคนถามหาแต่ผลโตๆ  แม่ค้าขายส่งเขารอคุณอยู่  ดูรายละเอียดราคาต้นพันธุ์ สวน Thai G ไทยเซ็นทรัลการ์เด้น คุณสุกัลยา  เกิดโภคา โทร. 089 – 1710545 Line ID : sukanyathaig www.thaicentralgarden.com Email  :  garden2508@gmail.com มะขามป้อมยักษ์อินเดีย เบอร์1  มะขามป้อมปลูกไม่อยาก โดยเฉพาะพันธุ์ยักษ์อินเดีย ยิ่งแล้งยิ่งดก เพราะพืชไม้ผลชนิดนี้ เกิดอยู่ในภูมิประเทศที่ค่อนข้างร้อนและแล้งอยู่แล้ว ปลูกมะขามป้อมช่วงระยะแรก ต้องคอยดูแลเรื่องน้ำ แต่เมื่อรากเดินดี รากแข็งแรงแล้ว ก็ไม่ต้องไปสนใจแล้วครับ เดี๋ยวรากเขาหากินเอง เพราะไม้พันธุ์นี้รากหากินเองเก่งอยู่แล้วครับ