Container Icon

การปลูกถั่วพู

ถั่วพู

           ถั่วพู ภาษาอังกฤษ Winged bean, Goa bean, Asparagus pea, Four-angled bean, Winged pea ถั่วพูชื่อวิทยาศาสตร์ Psophocarpus tetragonolobus (Linn) DC. จัดเป็นพืชในตระกูลถั่ว (Leguminosae) เช่นเดียวกันกับถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วลันเตา ถั่วลิสง และถั่วฝักยาว ฯลฯ และถั่วพูยังมีชื่ออื่นๆ อีกเช่น ถั่วพูใหญ่ ถั่วพูตะขาบ ถั่วพูจีน เป็นต้น
ผักถั่วพู จัดเป็นพืชในเขตร้อน ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้แก่ ประเทศไทย ลาว พม่า อินเดีย ฟิลิปปินส์ และปาปัวนิวกินี และในปัจจุบันถั่วพูก็พืชที่สามารถปลูกได้ในฟลอริดา ของอเมริกา
ต้นถั่วพู
หลายคนคงเกิดคำถามขึ้นมาในใจว่าลักษณะที่ว่าเป็นพูๆ นั้นเป็นอย่างไร คำว่า “พู” เป็นคำสมัยก่อนไม่ค่อยกันบ่อยนักในปัจจุบัน ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ บอกว่าคำว่าพูหมายถึง “กลีบใหญ่เหมือนลูกทุเรียนที่ เป็นกลีบๆ มียวงอยู่ข้างใน” ส่วนในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี พ.ศ.๒๕๒๕ อธิบายว่า “พูเป็นชื่อเรียงของสิ่งที่มีลักษณะนูนออกมา เช่น พูทุเรียน” จากความหมายดังกล่าวแสดงว่าคนไทยมองฝักถั่วพูว่ามีพู (4 พู) จึงนำมาตั้งเป็นชื่อของถั่วชนิดนี้ แต่สำหรับชาวต่างชาติจะมองว่ามันมีลักษณะเป็นปีกครับ หรือเป็นที่มาของชื่อ “Winged bean” นั่นเองครับ

ลักษณะของต้นถั่วพู

  • ต้นถั่วพู จัดเป็นไม้เลื้อย ไม่มีเนื้อไม้แต่มีอายุหลายปี ลำต้นเลื้อยพัน เป็นพืชที่มีลำต้นสีเขียวและเขียวปนม่วง ส่วนของรากเป็นรากที่สะสมอาหารอยู่ใต้ดิน มีปมซึ่งเป็นที่อยู่ของเชื้อไรโซเบียมจำนวนมาก ถั่วพูเป็นพืชที่ปลูกง่ายและเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ยกเว้นในดินที่มีน้ำขัง ขึ้นได้ในระดับน้ำทะเลจนถึงระดับความสูงที่ 2,300 เมตร ขยายพันธุ์และเพาะปลูกด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการเพาะกล้า
สมุนไพรถั่วพู   หัวถั่วพู
  • ใบถั่วพู ใบเรียงสลับ เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยมี 3 ใบ โคนใบกลมและเบี้ยว ส่วนปลายใบแหลม มีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปไข่ และรูปใบหอก
ใบถั่วพู
  • ดอกถั่วพู ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบเป็นแบบช่อกระจะ ในช่อหนึ่งๆ จะมีดอกอยู่ประมาณ 3-12 ดอก กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันลักษณะคล้ายรูประฆัง ปลายเป็น 5 กลีบ กลีบเป็นซี่สั้นๆ กลีบดอกมีสีระหว่างขาวและสีม่วงแดง สีน้ำเงิน สีแดง ดอกมีเกสรตัวผู้อยู่ 10 อัน แบ่งเป็น 2 มัด มัดหนึ่งมี 9 อัน ส่วนอีกมัดมี 1 อัน
ดอกถั่วพู
  • ฝักถั่วพู ฝักเป็นรูปขอบขนานถึงรูปแถบ มีหน้าตัดเป็นรูปสีเหลี่ยม และแต่ละมุมของฝักจะมีปีกตามยาว ปีกมีลักษณะเป็นหยักแบบจักคล้ายฟันเลื่อย มีสีเขียว มีรูปร่างเป็นฝักสีเหลี่ยมมีปีก 4 ปีก เมื่อตัดตามขวางจะแบ่งได้เป็น 4 แบบคือ rectangular, semi flat, flat on sides และ flat on suture ฝักมีความประมาณ 11.2-29.9 เซนติเมตร สีของฝักมีทั้งสีเขียว สีม่วง และสีเหลือง ส่วนผิวของผักจะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ แบบผิวเรียบและแบบผิวหยาบมาก ในฝักถั่วพูจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 8-20 เมล็ด
ฝักถั่วพลู
  • เมล็ดถั่วพู ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปกึ่งทรงกลม เมล็ดมีตั้งแต่สีขาว สีเหลือง สีครีม สีน้ำตาล สี ดำ และแบบที่เป็นลวดลายต่างๆ แต่ส่วนใหญ่แล้วเมล็ดจะมีสีน้ำตาล และขนาดของเมล็ดยังมีขนาดต่างๆ กัน โดยมีน้ำหนัก 100 เมล็ด อยู่ในช่วง 11-4.6 กรัม
รูปเมล็ดถั่วพู   เมล็ดถั่วพู

คุณค่าทางโภชนาการของฝักอ่อน ต่อ 100 กรัม
             ประกอบไปด้วย วิตามินเอ 567 หน่วยสากล, วิตามินซี 21 มิลลิกรัม, ธาตุแคลเซียม 33 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 3.7 มิลลิกรัมส่วนปริมาณโปรตีนใน แต่ละส่วนของต้นถั่วพู ในส่วนของฝักจะมีโปรตีน 1.9-3%, ใบถั่วพู 5.7%, ดอกถั่วพู 5.6%, หัว 10.9%, และเมล็ดแก่ 29.8-37.4% สำหรับเมล็ดแก่จะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงมากเทียบเคียงกับถั่วเหลือง และในเมล็ดแก่จะประกอบด้วยน้ำมัน 15-18.3% ซึ่งประกอบไปด้วย กรดไขมันไม่อิ่มตัว แอลฟาโทโคเฟอรอลเบต้าโทโคเฟอรอล ในปริมาณที่สูง
ส่วนข้อมูลอีกที่ระบุไว้ว่าคุณค่าทางโภชนาการของฝักต่อ 100 กรัม ประกอบไปด้วย พลังงาน 19 กิโลแคลอรี, คาร์โบไฮเดรต 2.4 กรัม, ไขมัน 0.1 กรัม, เส้นใย 1.2 กรัม, โปรตีน 2.1 กรัม, น้ำ 93.8 กรัม, วิตามินบี1 0.35 มิลลิกรัม, วิตามินบี2 0.14 มิลลิกรัม, วิตามินบี3 0.8 มิลลิกรัม, วิตามินซี 32 มิลลิกรัม, ธาตุแคลเซียม 5 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 0.5 มิลลิกรัม, และธาตุฟอสฟอรัส 43 มิลลิกรัม
รูปถั่วพู

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดแก่ถั่วพู ต่อ 100 กรัม
  • พลังงาน 409 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 41.7 กรัม
  • เส้นใย 25.9 กรัมลักษณะถั่วพู
  • ไขมัน 16.3 กรัม
  • ไขมันอิ่มตัว 2.3 กรัม
  • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 6 กรัม
  • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 4.3 กรัม
  • โปรตีน 29.65 กรัม
  • น้ำ 8.34 กรัม
  • วิตามินบี1 1.03 มิลลิกรัม 90%
  • วิตามินบี2 0.45 มิลลิกรัม 38%
  • วิตามินบี3 3.09 มิลลิกรัม 21%
  • วิตามินบี5 0.795 มิลลิกรัม 16%
  • วิตามินบี6 0.175 มิลลิกรัม 13%
  • วิตามินบี9 45 ไมโครกรัม 11%
  • ธาตุแคลเซียม 440 มิลลิกรัม 44%
  • ธาตุเหล็ก 13.44 มิลลิกรัม 103%
  • ธาตุแมกนีเซียม 179 มิลลิกรัม 50%
  • ธาตุแมงกานีส 3.721 มิลลิกรัม 177%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 451 มิลลิกรัม 64%
  • ธาตุโพแทสเซียม 977 มิลลิกรัม 21%
  • ธาตุโซเดียม 38 มิลลิกรัม 21%
  • ธาตุสังกะสี 4.48 มิลลิกรัม 47%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

คุณค่าทางโภชนาการของใบอ่อนถั่วพูต่อ 100 กรัม
  • พลังงาน 74 กิโลแคลอรี 4.9%
  • คาร์โบไฮเดรต 14.1 กรัม 4.8%
  • ไขมันไม่อิ่มตัว 0.272 กรัม 1.2%
  • ไลปิดทั้งหมด 1.1 กรัม 1.8%ลักษณะของถั่วพู
  • โปรตีน 5.85 กรัม 9.8%
  • น้ำ 76.85 กรัม
  • วิตามินเอ 8,090 หน่วยสากล 161.8%
  • วิตามินบี1 0.833 มิลลิกรัม 55.5%
  • วิตามินบี2 0.602 มิลลิกรัม 35.4%
  • วิตามินบี3 3.472 มิลลิกรัม 17.3%
  • วิตามินบี5 0.136 มิลลิกรัม 1.3%
  • วิตามินบี6 0.232 มิลลิกรัม 11.6%
  • วิตามินซี 45 มิลลิกรัม 75%
  • ธาตุแคลเซียม 224 มิลลิกรัม 22.4%
  • ธาตุเหล็ก 4 มิลลิกรัม 40%
  • ธาตุแมกนีเซียม 8 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุแมงกานีส 1.367 มิลลิกรัม 68.3%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 63 มิลลิกรัม 6.5%
  • ธาตุโพแทสเซียม 176 ไมโครกรัม 4.4%
  • ธาตุทองแดง 0.456 ไมโครกรัม
  • ธาตุซีลีเนียม 0.9 ไมโครกรัม 1.3%
  • ธาตุโซเดียม 9 มิลลิกรัม 0.3%
  • ธาตุสังกะสี 1.28 มิลลิกรัม 8.5%
ข้อมูลจาก : มูลนิธิหมอชาวบ้าน นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 350

 ถั่วพู สรรพคุณและประโยชน์ของถั่วพู 27 ข้อ

สรรพคุณของถั่วพู
  1. ฝักอ่อนถั่วพู สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย (ฝักอ่อน) หรือจะใช้เมล็ดแก่ตากแห้งนำมาบดให้เป็นผง นำมาละลายกับน้ำครั้งละ 5-6 กรัม ใช้รับประทานก่อนอาหารวันละ 3 เวลา (เมล็ด) ส่วนหัวก็มีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกายด้วยเช่นกัน (หัว)
  2. หัวใต้ดินนำมาเผาหรือนึ่งกินช่วยบำรุงกำลัง หรือจะใช้รากถั่วพูใช้ผสมกับสมุนไพรและน้ำดอกไม้ใช้เป็นยาชูกำลังก็ได้เช่นกัน (หัว,ราก) และอีกตำราบอกว่าให้ใช้เมล็ดแก่นำมาต้มให้สุกแล้วรับประทาน หรือจะนำเมล็ดที่ต้มสุกแล้วมาบดให้ละเอียดผสมกับน้ำสุก ใช้ดื่มก่อนอาหารวันละ 3 เวลาก็จะช่วยทำให้สุขภาพแข็งแรง เพิ่มกำลังวังชาได้เช่นกัน
  3. หัวถั่วพู เมื่อนำมากแห้งแล้วคั่วให้เหลือง ใช้ชงกับน้ำดื่ม สรรพคุณช่วยแก้อาการอ่อนเพลียได้ ส่วนฝักอ่อนก็ช่วยได้เช่นกัน (หัว,ผักอ่อน)
  4. ถั่วพูอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่นวิตามินเอ ซี อี และยังเป็นผักที่มีโปรตีนสูง ซึ่งเป็นตัวช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายและทำให้ร่างกายแข็ง แรง (ฝัก)
  5. หัวมีรสชุ่มเย็น สรรพคุณช่วยทำให้ดวงจิตชุ่มชื่น (หัว)
  6. การรับประทานถั่วพูเป็นประจำ จะช่วยบำรุงกระดูกและฟันได้เป็นอย่างดี เพราะถั่วพูมีแคลเซียมและฟอสฟอสรัสสูง (ฝัก)
  7. รากใช้ประกอบสมุนไพรและน้ำดอกไม้ ใช้เป็นยาแก้โรคหัวใจ (ราก)
  8. หัวถั่วพู สรรพคุณทางยาช่วยแก้ไข้กาฬ (หัว)
  9. ช่วยแก้อาการตัวร้อน ลดไข้ในเด็กทารก (ฝักอ่อน)
  10. ใบถั่วพู สรรพคุณทางยาช่วยแก้อาการอาเจียน (ใบ)
  11. สรรพคุณถั่วพู หัวช่วยแก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ (หัว)
  12. ถั่วพูเป็นผักที่มีเส้นใยอาหารสูง จึงช่วยในระบบขับถ่ายให้ทำงานอย่างเป็นปกติ ช่วยป้องกันอาการท้องผูก (ฝัก)
  13. ช่วยแก้อาการปวดมวนท้อง (ราก)
  14. ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (ฝักอ่อน)
  15. รากถั่วพู สรรพคุณช่วยแก้โรคลมพิษกำเริบ ดีฟุ่ง ทำให้คลั่งเพ้อ (ราก)
  16. รากใช้ปรุงเป็นยาโรคเพื่อวาโยธาติกำเริบ ใช้รักษาดีพลุ่งพล่าน ให้คลั่งเพ้อ อาการปวดมวนท้อง กระทำให้ตาแดง ซึ่งในตำรับยาประกอบไปด้วย รากถั่วพู, พริกไทย, จันทร์ทั้งสอง, กฤษณาเสมอภาค, น้ำกระทือ, น้ำมะนาว, น้ำอ้อย, และคุลีการละลาย (ราก)
ผักถั่วพู

ประโยชน์ของถั่วพู

  1. ประโยชน์ถั่วพู  ถั่วพูเป็นยอดอาหารเหนือชั้นที่มีความเหนือกว่าพี่น้องตระกูลถั่วทั้งหลาย มีประโยชน์มาก และยังเป็นพืชเพียงไม่กี่ชนิดที่สามารถนำมารับประทานได้แทบทุกส่วนของต้น
  2. ถั่วพูเป็นพืชที่มีสารขัดขวางต่ำ จึงช่วยทำให้การดูดซึมของแคลเซียมเป็นไปได้ด้วยดี เมื่อรับประทานถั่วพูแล้วร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมไปใช้ได้ถึง 39.1-51.9% เลยทีเดียว
  3. การรับประทานถั่วพูอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง สามารถช่วยป้องกันและลดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม และยังส่งผลดีต่อฮอร์โมนเพศหญิงอีกด้วย เพราะพืชตระกูลถั่วที่กินได้ทั้งฝักทั้งหลายจะมีสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์โปรติเอส
  4. การรับประทานถั่วทั้งชนิดแห้งและสด เช่น ถั่วพู นอกจากจะได้เส้นใยอาหารมากแล้ว ยังมีส่วนช่วยลดคอเลสเตอรอลได้อีกด้วย
  5. ปัจจุบันนิยมปลูกถั่วพูไว้ตามริมรั้วหรือในสวนหลังบ้าน หรือปลูกตามหัวไร่ปลายนาเพื่อใช้เป็นผักสวนครัว โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นอาหารได้แก่ ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อน ฝักอ่อน รสมัน (ใช้กินเป็นผัก) และหัวใต้ดิน (ใช้กินเป็นอาหารแห้ง)
  6. คนไทยทั่วไปนิยมใช้ฝักอ่อนเป็นผักสดจิ้มรับประทานกับน้ำพริก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับน้ำพริกปลาร้า หรือนำไปปรุงอาหารประเภท เช่น ผัดกับน้ำมันหอย แกงเผ็ด ลวกราดน้ำกะทิ หรือทำเป็นยำถั่วพู นำมาหั่นเป็นเครื่องเคียงขนมจีน ใช้ผสมในทอดมันเช่นเดียวกับถั่วฝักยาว ส่วนทางภาคใต้ก็นิยมกินยอดอ่อน ฝักอ่อน และดอกอ่อนเป็นผักสด หรือนำไปต้ม นำไปผัด ใส่แกงส้ม ทำแกงไตปลาก็ได้ ส่วนชาวญี่ปุ่นก็ใช้ฝักอ่อนนำมาทอดเป็นเทมปุระ และในอินเดียและศรีลังกาก็นิยมนำฝักอ่อนมาดองไว้รับประทานนอกจากนี้ยังใช้ ปรุงกับอาหารกับเครื่องเทศรสจัดได้ทุกชนิด
  7. ในบ้านเรามีการบริโภคหัวถั่วพู ด้วยการนำมาต้มกินคล้ายกับหัวมัน โดยหัวใต้ดินของถั่วพูนี้จะมีประมาณของโปรตีนสูงถึงร้อยละ 20-30 เลยทีเดียว จึงมีการนำหัวมาแปรรูปเป็นแป้งสำหรับใช้ประกอบอาหาร หรือนำไปเชื่อมเป็นขนมหวาน หรือจะฝานเป็นแผ่นบางๆ แล้วนำมาทอดกรอบเหมือนมันฝรั่งก็ได้ แถมยังเป็นอาหารขบเคี้ยวที่มีโปรตีนสูงอีกด้วย
  8. เมล็ดแก่มีน้ำมันอยู่ร้อยละ 16-18 สามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันพืชสำหรับใช้ปรุงอาหารได้ และยังมีคุณสมบัติใกล้เคียงน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ ด้วย โดยในน้ำมันถั่วพูจะมีกรดโอเลอิก 39%, กรดไลโนเลอิก 27%, กรดบีเฮนิก, และกรดพารินาริก ซึ่งไม่ทำให้เกิดคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด นอกจากนี้ในน้ำมันถั่วพูยังมีสารโทโคฟีรอลในปริมาณที่สูงมากอีกด้วย โดยเป็นสารที่ทำให้น้ำมันมีรสหวานและอยู่ตัว มีประโยชน์ในเรื่องการต่อต้านอนุมูลอิสระและช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของเซลล์ ต่างๆ ในร่างกายได้เป็นอย่างดี
  9. มีการนำถั่วพูมาใช้ในการรักษาสิวและโรคผิวหนังบางชนิด
  10. ถั่วพูสามารถนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้เป็นอย่างดี เหมาะแก่การปลูกเป็นแปลงใหญ่ๆ แล้วปล่อยให้สัตว์กินแทนหญ้าเลี้ยงสัตว์ทั่วไป โดยเฉพาะสัตว์เคี้ยวเอื้อง และยังได้คุณค่าอาหารมากกว่าหญ้านัก จึงช่วยทำให้สัตว์เลี้ยงเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี แถมยังเป็นพืชที่ปลูกง่ายและเจริญเติบโตได้ในดินเสื่อมโทรม
  11. ถั่วพูเป็นพืชบำรุงดินได้ดี เพราะปมรากเป็นที่อาศัยของเชื้อไรโซเบียมที่มีคุณสมบัติในการตรึงไนโตรเจน จากอากาศ ดังนั้นการปลูกถั่วพูจึงเป็นการเพิ่มไนโตรเจนให้แก่ดินและเมื่อไถกลบต้นถั่ว พูหลังการเก็บเกี่ยวไปแล้วยังกลายเป็นปุ๋ยพืชที่ดินต้องการอีกด้วย


นอกจากถั่วพูพันธุ์สีเขียวแล้ว ยังมีถั่วพูสีม่วงด้วย ปลูกใส่กระถางหรือวงท่อก็ได้ผลดี





ขอให้มีความสุขกับเกษตรแบบพอเพียงนะครับ..


0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น