Container Icon

ปลูกตะลิงปลิง วิตามินซีสุดยอด

มาปลูกตะลิงปลิง ผลไม้ไทย

 ตะลิงปลิง สรรพคุณและประโยชน์ของตะลิงปลิง 26 ข้อ

ตะลิงปลิง

ตะลิงปลิง

          ตะลิงปลิง ภาษาอังกฤษ Bilimbi, Bilimbing, Cucumber Tree, Tree Sorrel ตะลิงปลิง ชื่อวิทยาศาสตร์ Averrhoa bilimbi L. จัดอยู่ในวงศ์ Oxalidaceae มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกเช่น มูงมัง (เกาะสมุย), กะลิงปริง ลิงปลิง ลิงปลิง ปลีมิง (ระนอง), บลีมิง (นราธิวาส), มะเฟืองตรน, หลิงปลิง(ใต้) เป็นต้น โดยมีถิ่นกำเนิดในแถบชายฝั่งทะเลของบราซิล เป็นไม้ผลที่นิยมปลูกทั่วไปเพราะลำต้นมีพวงแน่นที่สวยงาม และยังเป็นพืชร่วมวงศ์กับมะเฟือง แต่จะแตกต่างกันอย่างชัดเจนตรงขนาดของผล โดยผลมะเฟืองจะมีขนาดใหญ่กว่าผลตะลิงปลิง

          ลักษณะตะลิงปลิง เป็นพืชในเขตร้อน ต้นตะลิงปลิง เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 5-15 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นสีชมพู ผิวเรียบมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ตามกิ่ง ลักษณะของใบตะลิงปลิง เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบสีเขียวอ่อนมีขยยุ่มปกคลุม ใบคล้ายรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบมน ในหนึ่งก้านจะมีใบย่อยประมาณ 11-37 ใบ ขนาดใบกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 2-5 เซนติเมตร ส่วนลักษณะของดอกตะลิงปลิง จะออกดอกเป็นช่อหลายช่อ ตามกิ่งและลำต้น โดยในแต่ละช่อจะมีความยาวไม่เกิน 6 นิ้ว ลักษณะดอกมีกลีบ 5 กลีบ ดอกสีแดงเข้ม มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบสีเขียวอมชมพู มีเกสรกลางดอกสีขาว

ต้นตะลิงปลิง 

           ผลตะลิงปลิง ลักษณะกลมยาวปลายมน ผลยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร เป็นพูตามยาว ออกผลเป็นช่อห้อย ผิวของผลมีลักษณะเรียบสีเขียว แต่เมื่อสุกแล้วจะกลายเป็นสีเหลือง เนื้อข้างในเป็นเนื้อเหลว มีรสเปรี้ยว และมีเมล็ด ลักษณะของเมล็ดตะลิงปลิงจะแบนยาวมีสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของตะลิงปลิง (เฉพาะส่วนที่กินได้) ต่อ 100 กรัม

ข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN)

สรรพคุณของตะลิงปลิง

  1. ตะลิงปลิงช่วยทำให้เจริญอาหาร (ผล)
  2. ช่วยแก้พิษร้อนใน แก้กระหายน้ำ (ราก)
  3. ผลใช้ผสมกับพริกไทย นำมารับประทานจะช่วยขับเหงื่อได้ (ผล)
  4. ตะลิงปลิง สรรพคุณช่วยฟอกโลหิต (ผล)
  5. ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ผล)
  6. ในประเทศฟิลิปปินส์ใช้ใบพอกรักษาคางทูม (ใบ,ราก)
  7. สมุนไพรตะลิงปลิง ช่วยลดไข้ (ผล)
  8. ช่วยดับพิษร้อนของไข้ (ราก)
  9. ดอกตะลิงปลิง นำมาชงเป็นชาดื่มช่วยแก้อาการไอ (ดอก,ผล)
  10. ช่วยละลายเสมหะ แก้เสมหะเหนียวข้น (ผล)
  11. ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร (ผล,ราก)
  12. ช่วยแก้อาการเลือดออกตามกระเพาะอาหารและลำไส้ (ราก)
  13. ช่วยรักษาอาการอักเสบของลำไส้ (ใช้ใบต้มดื่ม,ราก)
  14. ช่วยรักษาซิฟิลิส (Syphilis) (ใช้ใบต้มดื่ม,ราก)
  15. ช่วยบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร (ผล,ราก)
  16. ลูกตะลิงปลิงสรรพคุณของตะลิงปลิงใช้เป็นยาบำรุงแก้อาการปวดมดลูก (ผล)
  17. ช่วยบรรเทาอาการของโรคเก๊าท์ (ราก)
  18. ใบใช้รักษาโรครูมาตอยด์ (ใบ)
  19. ช่วยแก้ไขข้ออักเสบ (ใบ,ราก)
  20. ช่วยฝาดสมาน (ผล,ราก)
  21. ใบช่วยรักษาอาการอักเสบ (ใบ)
  22. ใบตะลิงปลิง ใช้พอกแก้อาการคันลดอาการบวมแดงให้หายเร็วขึ้น หรือใช้ต้มอาบก็ได้ (ใบ,ราก)
  23. ประโยชน์ของตะลิงปลิง ใบสามารถนำพอกใช้รักษาสิวได้ (ใบ,ราก)
  24. มีผลงานวิจัยที่ประเทศสิงคโปร์พบว่าสารสกัดน้ำของสารสกัดเอทานอลของใบ ตะลิงปลิง สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดของสัตว์ทดลองได้เป็นอย่างดี
  25. งานวิจัยในประเทศฟิลิปปินส์ชี้ว่าน้ำคั้นจากผลตะลิงปลิงมีฤทธิ์ในการคุม กำเนิด โดยได้ทดลองกับสุกรและหนู พบว่าร้อยละ 60 ของหนูทดลองหลังผสมพันธุ์แล้วไม่ติดลูก โดยเชื่อว่าสเตอรอยด์ไกลโคไซด์และกรดออกซาลิกในน้ำคั้นมีส่วนในการออกฤทธิ์ คุมกำเนิดดังกล่าว
  26. ประโยชน์ตะลิงปลิง ผลสามารถนำมารับประทานร่วมกับพริกเกลือ หรือนำไปใส่แกงก็ได้ ทำเป็นตะลิงปลิงตากแห้ง หรือทำเป็นเครื่องดื่ม นํ้าตะลิงปลิง

น้ำตะลิงปลิง

  1. วิธีทำน้ำตะลิงปลิง อย่างแรกให้เตรียมวัตถุดิบ โดยส่วนผสมน้ำตะลิงปลิง มีดังนี้ ตะลิงปลิง 1/2 กิโลกรัม / เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ / น้ำตาล 2 ถ้วย / น้ำ 3 1/2 ถ้วย / น้ำเชื่อม
  2. สำหรับสูตรการทำน้ำตะลิงปลิง ให้เอาน้ำกับน้ำตาลตั้งไฟพอเดือดจนละลายดีแล้วให้ยกลง ทิ้งไว้ให้เย็น
  3. นำตะลิงปลิงมาล้างให้สะอาด เอาขั้วและเมล็ดออก แล้วนำมาเป็นชิ้นๆ แบ่งเป็น 2 ส่วน
  4. นำตะลิงปลิงใส่เครื่องปั่น 1 ส่วน และเติมน้ำเชื่อมลงไปครึ่งหนึ่งจนถึงจุดที่ปั่นแล้วไม่ล้นเครื่องปั่น แล้วเติมเกลือ 1/2 ช้อนโต๊ะลงไป แล้วปั่นให้ละเอียด
  5. เมื่อปั่นเสร็จให้เทลงในตะแกรง กรองเอากากออก แล้วทำแบบเดิมกับตะลิงปลิงส่วนที่เหลือก็จะได้น้ำตะลิงปลิงที่เข้มข้นมากข้น ประมาณเหยือก 1 ลิตร
  6. เสร็จแล้ว “น้ำตะลิงปลิง” ลองชิมรสชาติดูได้เลย ถ้าชอบเค็มก็เติมเกลือเพิ่ม แต่ถ้าอยากให้หวานน้อยลงก็ให้เติมน้ำสุกเย็นตามความเหมาะสม กะให้รสหวานเปรี้ยวกำลังดีเมื่อผสมกับน้ำแข็งเกล็ด
แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), เว็บไซต์หมอชาวบ้าน, เว็บไซต์โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย, เว็บไซต์ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ขอบคุณแหล่งข้อมูล

ภาพประกอบ



















ตะขบป่า

ตะขบป่า

            วันนี้ขอแนะนำให้รู้จักผลไม้ป่ามหัศจรรย์ทางป่าภาคเหนือ ชื่อ มะเกว๋น
(มีหลายชื่อเรียกครับตานเสี้ยน ภาษากลางตะขบป่า ภาคเหนือมะเกว๋นอีสาน
หมากเบน) ไม้ยืนต้นสูงใหญ่ ลำต้นมีหนามเล็กน้อย เรียนเชิญดูรูปภาพประกอบครับ
 
 
ชื่อสมุนไพร
ตะขบป่า
ชื่ออื่นๆ
เบนโคก (อุบลราชธานี) ตานเสี้ยน มะแกว๋นนก มะแกว๋นป่า มะขบ หมากเบน
ชื่อวิทยาศาสตร์
Flacourtia indica (Burm.f.) Merr.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์
Flacourtiaceae
วงศ์ Salicaceae (Flacourtiaceae)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Flacourtia indica (Burm.f.) Merr.
ชื่อไทย ตะขบป่า, มะเกว๋น
ชื่อท้องถิ่น ตะเพซะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), มะเกว๋น(เมี่ยน,คนเมือง), ลำเกว๋น(ลั้วะ), บีหล่อเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), ตุ๊ดตึ๊น(ขมุ)
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ มะเกว๋นเป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง สูง 7-10 เมตร ลำต้นมีเปลือกสีน้ำตาล กิ่งก้านจะ อ่อนห้อยลู่ลง
ใบ ใบเดี่ยวออกสลับ ใบมีรูปร่างหลายแบบ ทั้งรูปขอบขนานรี รูปไข่ หรือไข่กลับ
ดอก ดอกออกเป็นช่อแบบกระจะที่ปลายยอด มีดอกย่อย 4-6 ดอก ดอกเพศผู้และเพศเมียแยกกันอยู่คนละต้น เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก ดอกเพศเมียมีกลีบเลี้ยงคล้ายดอกเพศผู้
ผล ผลรูปกลมรี เนื้อเละ เมล็ดจำนวนมาก ผลสุกมีสีดำหรือแดง
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผลสุก รับประทานได้(เมี่ยน,คนเมือง,กะเหรี่ยงแดง,ลั้วะ,ขมุ)
- ราก ต้มน้ำดื่มแก้อาการปวดเมื่อย(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
- เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน เป็นโครงสร้างต่างๆ ของบ้าน เช่น เสาบ้าน(ลั้วะ)
อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
สภาพนิเวศ พบในป่าโปร่งทั่วไป ชอบพื้นที่กลางแจ้ง ทนแล้งและน้ำท่วมขังได้ดี


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
 
         ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 2-15 เมตร ลำต้น และกิ่งใหญ่ๆมีหนามแหลม กิ่งแก่ๆมักจะไม่มีหนาม กิ่งอ่อนมีหนามแหลมตามซอกใบ หนามยาว 2-4 เซนติเมตร เรือนยอดแผ่กว้าง ปลายกิ่งโค้งลง เปลือกสีเหลืองอมเทาแตกเป็นร่องลึก มีช่องอากาศรูปรีกระจายห่างๆ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ขนาดค่อนข้างเล็ก มักเรียงชิดกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง รูปร่าง ขนาด เนื้อใบ และขนที่ปกคลุมแตกต่างกัน ส่วนใหญ่แผ่นใบรูปไข่กลับ กว้าง 1.5-3 เซนติเมตร ยาว 2-4 เซนติเมตร ปลายกลม โคนสอบแคบ ขอบใบค่อนข้างเรียบ หรือจัก มักจักใกล้ปลายใบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษถึงหนาคล้ายแผ่นหนัง เกลี้ยงถึงมีขนสั้นหนานุ่มทั้งสองด้าน ใบอ่อนและเส้นกลางใบสีแดงอมส้ม เส้นแขนงใบมี 4-6 คู่ เส้นใบย่อยสานกันเป็นร่างแห พอเห็นได้ลางๆ ก้านใบยาว 3-5 มิลลิเมตร ก้านใบสีเขียวหรือแดง มีขน ก้านใบยาว 3-8 มิลลิเมตร ดอกแบบ ช่อกระจะ ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามซอกใบ และปลายกิ่ง มีขน ดอกย่อยจำนวนน้อย ดอกขนาดเล็ก สีขาว แยกเพศอยู่คนละต้น ที่โคนช่อมีใบประดับ บางทีมีหนาม ก้านดอกยาว 3-5 เซนติเมตร มีขน กลีบดอก 5-6 กลีบ รูปไข่ ปลายมน ยาว 1.5 มิลลิเมตร ด้านนอกค่อนข้างเกลี้ยง ด้านในและที่ขอบกลีบมีขนแน่น ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้ จานฐานดอกแยกเป็นแฉกเล็กน้อย หรือหยักมน มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ก้านเกสรยาว 2-2.5 มิลลิเมตร มีขนเฉพาะที่โคน ดอกเพศเมีย จานฐานดอกเรียบ รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มีรังไข่กลม ปลายสอบแคบ มี 1 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียมี 5-6 อัน ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร แต่ละก้านปลายแยกเป็นสองแฉก และม้วนออก กลีบเลี้ยง 5-6 กลีบ รูปไข่ กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ปลายมน ผิวด้านนอกเกลี้ยง ด้านในและขอบมีขนหนาแน่น ผลกลม หรือรี เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.8-1 เซนติเมตร ออกเดี่ยว หรือเป็นกลุ่ม เป็นพวงเล็กๆ ตามกิ่ง เมื่ออ่อนสีเขียว สุกสีแดงคล้ำ ลักษณะชุ่มน้ำ มี 5-8 เมล็ด มีก้านเกสรเพศเมียติดอยู่ที่ปลายผล ผลจะสุกประมาณเดือนกรกฎาคม ถึงสิงหาคม รับประทานได้ รสหวานอมฝาด พบตามป่าเต็งรัง ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าผสมผลัดใบ ตลอดจนตามริมแม่น้ำ








ใบ และ หนาม




ใบ และ หนาม


ภาพแสดงตัวอย่างพรรณไม้


ประโยชน์ของตะขบป่า

          ตะขบป่า คือ พืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์และสรรพคุณมากมาย ตะขบป่า เป็นชื่อที่เรียกกันในภาคกลาง ส่วนชื่ออื่น ๆ ที่เรียกกันเช่น ตานเสี้ยน มะเกว๋นนก มะเกว๋นป่า (ภาคเหนือ) ต้นตะขบป่าจะถูกพบมากตามป่าเบญจพรรณ ป่าชายหาด และขึ้นประปรายทั่วไป ในที่ระดับนํ้าทะเลถึงความสูง 1,100เมตร มีการเพาะปลูกกันบ้างตามสวนเพื่อกินผล

ตะขบป่า


ลักษณะของตะขบป่า

       ไม้พุ่ม หรือ ไม้ต้น ขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 2-5(-15)เมตร ตามลำต้นและกิ่งใหญ่มีหนามแหลม ยาว 2-4 ซม. เรือนยอดแผ่กว้าง ปลายกิ่งโค้งลง เปลือกสีเหลืองอมเทา แตกเป็นร่องลึก มีช่องอากาศรูปรีกระจายห่าง ๆ
       ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับ ขนาดค่อนข้างเล็ก รูปร่าง ขนาด เนื้อใบ และขนที่ปกคลุมแตกต่างกัน ส่วนใหญ่เป็นรูปไข่กลับ กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 2-4 ซม. ปลายใบกลม โคนใบสอบแคบ ขอบใบค่อนข้างเรียบ หรือ จัก มักจักใกล้ปลายใบ ใบอ่อนและเส้นกลางใบสีแดงอมล้ม เส้นใบมี 4-6 คู่ เส้นใบย่อยสานกันเป็นร่างแห พอเห็นได้ลาง ๆ ก้านใบยาว 3-5 มม. สีแดง มีขน
        ดอก ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบ และที่ปลายกิ่ง มีขน แต่ละช่อมีดอก จำนวนน้อย ที่โคนช่อมีใบประดับ บางทีมีหนาม ก้านดอกยาว 3-5(-7) มม. มีขน
กลีบดอก 5-6 กลีบ รูปไข่ ปลายมน ยาว 1.5 มม. ด้านนอกค่อนข้างเกลี้ยง ด้านในและที่ขอบกลีบมีขนแน่น ดอกแยกเพศ
ดอกเพศผู้ฐานดอกจักมน เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ก้านเกสรยาว 2-2.5 มม. มีฃน เฉพาะที่โคน
ดอกเพศเมีย ฐานดอกเรียบ หรือ ค่อนข้างเรียบ รังไข่กลม ปลายสอบแคบ ก้าน เกสรเพศเมียมี 5-6 อัน ยาวประมาณ 1 มม. แต่ละก้านปลายแยกเป็นสองแฉก และม้วนออก
ผลกลม หรือ รี เล็ก ออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นกลุ่มตามกิ่ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.8-1 ซม. เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีแดงคลํ้า มีก้านเกสรเพศเมียติดอยู่ที่ปลายผล มีเมล็ด 5-8 เมล็ด

ผลตะขบป่า


ประโยชน์และสรรพคุณของตะขบป่า
- ราก กินแก้ไตอักเสบ
- ยางจากต้นใช้เข้าเครื่องยา แก้อหิวาตกโรค
- เปลือกต้น ชงกินแก้เสียงแห้ง อมกลั้วคอแก้เจ็บคอ
- เปลือกตำรวมกับนํ้ามัน ใช้ทาถูนวด แก้ปวดท้อง แก้คัน
- นํ้ายางจากต้น และใบสด กินเป็นยาลดไข้สำหรับเด็ก แก้โรคปอดอักเสบ แก้ไอ แก้บิด และท้องเสีย ช่วยย่อย
- นํ้าต้มใบแห้งกินเป็นยาฝาดสมาน ขับเสมหะ แก้หืด หอบ หลอดลมอักเสบ ขับลม และบำรุงร่างกาย
- ใบที่ย่างไฟจนแห้งใช้ชงกินหลังคลอดบุตร
- ผล กินได้ มีปริมาณวิตามินบีสูง แก้อ่อนเพลีย บรรเทาอาการโรคดีซ่าน ม้ามโต แก้คลื่นไส้ อาเจียน และเป็นยาระบาย
- เมล็ด ตำพอกแก้ปวดข้อ

วิธีทานตะขบป่า




ข้อมูลเพิ่มเติม :   myfirstbrain.com
                         
                          
ภาพประกอบ



























ตะขบป่าที่ได้สายพันธุ์จากตลาดแม่สาย เชียงราย
             ปลูกแบบไม่ได้ดูแล 4 ปี ยังไม่มีผล มีแต่หนาม..(อิ ๆๆ) ต้องบำรุงกันหน่อยแล้ว..(ที่ศูนย์โนอาห์)

























ข้อมูลข้างเคียง : Kaijeaw

การปลูกเซียนท้อ หรือท้อไข่ ไม่ยาก

ลูกท้อ ผลไม้พื้นบ้านอีกชนิดที่ปลูกได้ทั่วไป



เซียนท้อ หรือ ท้อไข่ ม่อนไข่ (อังกฤษ: Tiesa; egg fruit; Canistel; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pouteria campechiana) รสชาดดีมาก ปลูกง่าย
         
           เซียนท้อ มีหลายชื่อเรียกตามท้องถิ่นหรือตามลักษณะของ ลูก ที่คล้ายท้อและเมล็ดเหมือน เมล้ดละมุดจึงเรียกกัน ทั้งท้อเขมร และ ละมุกเขมร พอได้ยินชื่อนี้ก็ทำให้สงสัยว่า เป็นผลไม้พันะธุ์มาจากเขมรหรือเปล่า พอได้ทราบประวัติถึงได้ทราบว่าไม่ใช่ ถิ่นกไเนิดมาจากประเทสแมกซิโกตอนใต้ แถวประเทศกัวเตมาลา บราซิล และ เอลซัลวาดอร์ ปัจจุบันนี้แพร่หลายไปหลายประเทสแล้ว ประเทศเราก็มีมากและเรียกชื่อแต่ละท้องถิ่นไม่เหมือนกัน เช่น ทางเหนือและอีสานเรียก ม่อนไข่ ราชบุรี เรียก ลูกท้อพื้นบ้าน ปราจีนบุรีเรียก ท้อเขมร เพชรบูรณ์เรียก ทิสซ่า ฯ ที่บ้านสุพรรณมี 2 ต้น ไปบ้านที่ไรก็ออกดอก ออกลูกทุกครั้ง ออกกันตลอดปี ลูกลักษณะคล้ายท้อ ทรงหัวใจก้นแหลมๆ เมล็ดใหญ่เนื้อน้อย ต้องสุกงอมถึงจะหวานอร่อย ไปครั้งหลังน้องชายไปเก็บมาจากบ้านอาลูกกลมๆกว่าที่บ้าน เนื้อหนาสุกงอมอร่อยกว่าลูกต้นที่บ้าน

(ภาพจากไร่โรงน้ำแข็งเทพนิมิต หนองคอก ท่าตะเกยบ)



(ภาพจากไร่โรงน้ำแข็งเทพนิมิต หนองคอก ท่าตะเกยบ)






ดอกเซียนท้อ







ลักษณะลูกกลมอ้วนป้อมเนื้อหวานอร่อย





เซียนท้อที่วางขายในร้านผลไม้ จะมีลักษณะลูกที่ไม่กลมป้อม ซึ่งเดี่ยวนี้มีขายมากขึ้นราคาไม่แพงเหมือนตอนที่เริ่มมีใหม่ๆ จากการสังเกต ในการลองชิมกัน บางคนชอบบางคนไม่ชอบบางคนบอกว่ากินแล้วติดคอบ้าง เซียนท้อนั้นต้องสุกงอมถึงจะอร่อยและกลืนได้ง่าย เมล็ดเพาะขึ้นง่าย ต้นโตไวออกลูกเร็ว







คุณค่าอาหารและสรรพคุณประโยชน์

เซียนท้อ มีคุณค่าทางอาหารสูงมาก มีไนอะซิน และเบต้าแคโรทีน
มีวิตามินซีที่ช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง และช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
เมล็ด มีสรรรพคุณ ในการรักษาโรคแผลเปื่อย แผลผุพอง และแผลเรื้อรัง
เปลือกไม้ นำมาต้มกิน รักษาอาการไข้ตัวร้อน นอกจากนี้ยังรักษาอาการผื่นคันที่เกิดตามผิวหนังได้อีกด้วย

ขอบคุณแหล่งที่มา

ข้อมูลเพิ่มเติมใน วิกิพีเดีย : ที่นี่

ภาพประกอบ




















การปลูกท้อ

ลักษณะทั่วไป
ท้อจัดอยู่ในพวกไม้ผลที่ชอบอากาศหนาวเย็น เป็นไม้พุ่มผลัดใบ ท้อมีทั้งพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งมีผลขนาดเล็กและเปรี้ยวกว่าท้อพันธุ์ต่างประเทศ ท้อเป็นพืชในสกุล Rosaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prunus persica

สภาพดินฟ้าอากาศ
ท้อเป็นไม้ผลเมืองหนาวที่ขึ้นได้ดีบนพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 3,000 ฟุตขึ้นไป สามารถปลูกได้ดีบนภูเขาทางภาคเหนือ อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 10 เซลเซียส และทนความแห้งแล้งได้ดี

พันธุ์ท้อ
การปลูกท้อในประเทศไทยโดยเฉพาะภาคเหนือมีมานานพอสมควร แต่ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์พื้นเมืองเรียกว่า “แปะมุงท้อ” ซึ่งให้ผลผลิตต่ำ ผลเล็กในปัจจุบันมีพันธุ์ที่เหมาะสมและปลูกได้ผลดี ให้ผลผลิตสูงรสชาติดี พันธุ์ต่างประเทศจากสหรัฐฯ คือ ฟลอดาซัน ฟลอดาเรด และฟลอดาเบลล์ และจากไต้หวันคือหญิงคู

การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์ท้อนิยมเตรียมต้นตอ โดยใช้ท้อพันธุ์พื้นเมืองเป็นต้นตอ แล้วจึงติดตาหรือต่อกิ่งด้วยพันธุ์ดี โดยอาจจะเพาะต้นตอด้วยเมล็ดในแปลงเพาะชำแล้วย้ายปลูกก็ได้ ซึ่งการย้ายปลูกควรทำในฤดูหนาวซึ่งกำลังอยู่ในระยะพักตัว พอถึงฤดูใบไม้ผลิหรือฤดูร้อนท้อก็จะเจริญอย่างรวดเร็ว

การปลูกและการดูแล
การเตรียมพื้นที่ปลูกก็เหมือนกับไม้ผลทั่ว ๆ ไป โดยขุดหลุมขนาด 1x1x1 เมตร แล้วใช้ปุ๋ยคอก หรือเศษวัชพืชรองก้นหลุม อาจจะผสมปุ๋ยสูตร 12-24-12 ด้วยก็ได้ โดยใช้ระยะปลูก6x6 เมตร จะได้ไร่ละ ประมาณ 40-45 ต้น

การให้ปุ๋ย
การให้ปุ๋ยท้อก็เหมือนกับการให้ปุ๋ยไม้ผลทั่ว ๆ ไปโดยจะให้ 2 ครั้งต่อปี ครั้งแรกให้เมื่อท้อเริ่มออกดอกโดยให้ปุ๋ย 13-13-21 จะให้ปุ๋ยในอัตราแล้วแต่อายุของท้อ อาจจะแบ่งให้เป็นหลาย ๆ ครั้งก็ได้ อีกครั้งหนึ่งให้หลังเก็บเกี่ยวผลและตัดแต่งกิ่งโดยให้สูตร 15-15-15 วิธีการให้โดยพรวนดินบริเวณรอบทรงพุ่มแล้วหว่านปุ๋ยตามแนวที่พรวนและภายในรัศมีทรงพุ่มด้วย หลังจากนั้นก็ให้น้ำตามบริเวณที่โรยปุ๋ยนั้น

การตัดแต่ง
ทำในฤดูหนาวที่ท้อกำลังพักตัว โดยทำทรงต้นแบบตรงกลางโปร่ง เมื่อเริ่มปลูกต้องตัดยอดให้เหลือลำต้นสูง 60 เซนติเมตร ตัดกิ่งแนวด้านล่าง ๆ ออก ส่วนแนวบนตัดให้เหลือ 1-2 ตา เมื่อต้นแตกกิ่งก้านสาขาแล้วให้เหลือกิ่งที่ดี 3 กิ่ง ไว้เป็นกิ่งโครงสร้างต่อมาเมื่อต้นพักตัวให้ตัดทอนกิ่งโครงสร้างนี้ประมาณ 1/3 เพื่อให้แตกแขนงออกไปอีกและเป็นพุ่มแจ้

การปลิดผล
ทำในช่วงที่แน่ใจว่าท้อติดผลแล้ว คือประมาณ 5-8 สัปดาห์หลังดอกบานเต็มที่ การปลิดควรให้ผลเหลือบนต้นมีระยะห่างกัน 15-20 เซ็นติเมตร แต่ต้องดูถึงความแข็งแรงของต้นและต้องดูจำนวนใบด้วย

การให้ผล
หลังจากปลูก 3 ปีจะเริ่มให้ผล โดยจะออกดอกตอนปลายฤดูฝนต่อฤดูหนาว และจะให้ผลในระหว่างเดือนเมษายน-กรกฎาคม แต่จะให้ผลดีเมื่ออายุ 4-5 ปีไปจนถึงอายุไม่น้อยกว่า 10 ปี

ศัตรูท้อ
โรค ได้แก่ peach leafcurl, Brown rot scab และ rust แต่ปกติท้อมักไม่ค่อยเป็นโรค
แมลง ที่สำคัญคือแมลงวันผลไม้ ซึ่งจะทำลายผลท้อเมื่อแก่หรือเริ่มสุก

การป้องกันกำจัด
  1. ทำการพ่นยาฆ่าแมลงอย่างดีสม่ำเสมอ ตั้งแต่ผลเริ่มแก่ ยาที่ใช้ เช่น ดีลดรีน พาราไธออน
  2. อารใช้เหยื่อพิษล่อให้แมลงวันทองมากิน (สารเมททิล ยูจินอล)
  3. ใช้ถุงห่อผลในระยะใกล้สุก
  4. เก็บผลที่ร่วงหล่นบริเวณโคนต้นออกไปฝังหรือทำลายเสีย
ประโยชน์และตลาด
ท้อเป็นไม้ผลที่สามารถจะนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง นอกจากที่ใช้สำหรับรับประทานสดแล้ว ยังแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์บางอย่างได้อีกด้วย เช่น ทำท้อดอง ท้อลอยแก้ว ท้อแห้งหรือแช่อิ่ม เป็นต้น สำหรับตลาดนั้นในเมืองไทยมีที่กรุงเทพฯ ราคาประมาณ 50-60 บาท ส่วนในต่างประเทศมีที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งนิยมท้อ

เอกสารอ้างอิง
  1. โอฬาร ตัณฑวิรุณห์ การปลูกท้อ วารสารส่งเสริมการเกษตร 2520
  2. เอกสารวิชาการ งานศึกษาไม้ผล สำนังานโครงการเกษตรที่สูง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กทม.
  3. ปวิณ ปุณศรี แนะนำโครงการไม้ผลเมืองหนาว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กทม.

ข้อมูล และสรรพคุณท้อ

ลูกท้อ สรรพคุณและประโยชน์ของลูกท้อ 18 ข้อ ! (ลูกพีช)

ลูกท้อ

ลูกท้อ

           ลูกพีช หรือ ลูกท้อ ภาษาอังกฤษ Peach มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prunus persica จัดอยู่ในวงศ์กุหลาบ (Rosaceae) ในตระกูลพรุน ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกันกับเชอร์รี่ พลัม อัลมอนด์ บ๊วย ซากุระ และนางพญาเสือโคร่ง และยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆในบ้านเราอีกเช่น มะฟุ้ง, มักม่น, มักม่วน, หุงหม่น, หุงคอบ เป็นต้น โดยต้นท้อจัดเป็นไม้เมืองหนาวที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน และในบ้านเราเองก็มีการปลูกท้อเช่นกัน ในพื้นที่ทางภาคเหนือที่มีอากาศเย็น ลักษณะของต้นท้อ เป็นไม้เมืองหนาวที่ขึ้นได้ดีในพื้นที่ๆ มีความสูงตั้งแต่ 3,000 ฟุตขึ้นไป และมีอุณหภูมิเฉลี่ยที่ 10 องศาเซลเซียส และทนแล้งได้ดี ท้อจัดเป็นไม้พุ่มผลัดใบ ลักษณะของใบเป็นไม้ใบเดี่ยว เรียงสลับ คล้ายรูปหอก ดอกเดี่ยว ออกเป็นกระจุก กลีบดอก 5 กลีบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีสีขาว สีชมพู สีแดง ส่วนลักษณะของผลเป็นผลสดเมล็ดเดี่ยว มีขนปกคลุมทั่วบริเวณผิว

ลูกท้อ
 
           ลูกท้อเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมจากทั่วโลกมาอย่างยาวนาน และในวัฒนธรรมของชนชาติต่างๆ ก็จะมีท้อรวมอยู่ด้วย ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือประเทศจีน โดยชาวจีนเขามีความเชื่อว่า ลูกท้อเป็นสัญลักษณ์ของการมีอายุยืนยาว ช่วยป้องกันสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ถ้าดอกท้อบานในระหว่างการฉลองวันปีใหม่ มีความเชื่อว่าปีต่อไปจะเป็นปีแห่งโชคลาภ และดอกท้อยังนำมาใช้ประดับตกแต่งภายในบ้านเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลอีก ด้วย นอกจากนี้แล้วในสมัยโบราณหากมีการเขียนป้ายคำอวยพร ก็จะนิยมเขียนลงไม้ที่ทำมาจากต้นท้อเพื่อความเป็นสิริมงคลอีกด้วย
 
ลูกพีช Tip แต่สิ่งที่ควรระวังในการรับประทานลูกท้อหรือลูกพีช ก็คือผลท้อจะมีขนอ่อนๆปกคลุมอยู่ทั่วผล การสัมผัสโดยตรงอาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองและคันได้ ดังนั้นก่อนนำมารับประทานควรนำไปล้างให้สะอาดให้ขนเหล่าหลุดออกให้หมดก่อน
ใบท้อ   ประโยชน์ของลูกท้อ

คุณค่าทางโภชนาการของลูกท้อ ต่อ 100 กรัม

% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
ประโยชน์ลูกท้อ

ประโยชน์ของลูกท้อ

  1. สรรพคุณลูกท้อลูกท้อ ประโยชน์ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันหวัด
  2. ประโยชน์ลูกท้อช่วยลดอาการเหงื่อออกมาก
  3. ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ (เมล็ด)
  4. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
  5. ช่วยบำรุงโลหิต (เมล็ด)
  6. ช่วยลดความดันโลหิต
  7. ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
  8. ช่วยเสริมสร้าง บำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
  9. ช่วยแก้อาการไอ (เมล็ด)
  10. ลูกท้อ สรรพคุณช่วยรักษาโรคหอบหืด
  11. ช่วยทำให้ลำไส้หล่อลื่น ช่วยทำความสะอาดลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่
  12. ช่วยแก้อาการท้องผูก (เมล็ด)
  13. ช่วยทำให้ไส้และหัวใจทำงานได้อย่างเป็นปกติ (เมล็ด)
  14. ดอกใช้เป็นยาระบาย (ดอก)
  15. สรรพคุณของลูกท้อช่วยรักษาอาการปวดของโรคไส้เลื่อน
  16. ช่วยในการขับปัสสาวะ (ดอก)
  17. สรรพคุณช่วยขับพยาธิ (ใบ)
  18. ประโยชน์ของลูกท้อกับความงาม ช่วยทำให้ผิวขาวเขียน ชุ่มชื้น ไม่แห้งกร้าน โดยใช้เนื้อท้อประมาณครึ่งลูกนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปปั่นให้ละเอียดจนเป็นเนื้อคลีม แล้วนำมาพอกใบหน้าหลังจากที่ล้างหน้าสะอาดแล้ว พอกทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีแล้วล้างออก
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN)


ขอบคุณแหล่งข้อมูล

ภาพประกอบ