ผักเชียงดา
ปลูกผักเชียงดา ได้อาหารและสมุนไพรอย่างเลิศ..มีข้อมูลทางการศึกษาและวิจัยที่เชื่อถือได้ นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าผักเชียงดามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดมาตั้งแต่ปี 1926 และในปี 1981 มีการยืนยันผลการลดน้ำตาลในเลือดและเพิ่มปริมาณอินซูลินในสัตว์ทดลองและในคนที่เป็นอาสามัครที่แข็งแรง พบว่าผักเชียงดาไปฟื้นฟูเบต้าเซลของตับอ่อน (อวัยวะที่สร้างอินซูลิน) ทำให้ผักเชียงดาสามารถช่วยคุมน้ำตาลได้ในคนเป็นเบาหวานทั้งชนิด type 1และ type 2 และตั้งแต่ในปี 1990 เป็นต้นมามีการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบประสิทธิภาพ กลไกออกฤทธิ์ ในการลดน้ำตาลในเลือดและมีการศึกษาความเป็นพิษอย่างมากมาย ยกตัวอย่างเช่น การศึกษา ในมหาวิทยาลัยมัทราส ในประเทศอินเดียศึกษาผลของผักเชียงดาในหนูโดยให้สารพิษที่ทำลายเซลเบต้าในตับอ่อนของหนู พบว่าหนูที่ได้รับผักเชียงดาทั้งในรูปของผงแห้งและสารสกัดมีระดับน้ำตาลในเลือดกลับมาเป็นปกติภายใน 20-60 วันระดับอินซูลินกลับมาเป็นปกติ และจำนวนของเบต้าเซลเพิ่มขึ้น
ผักเชียงดา ราชินี ผักพื้นบ้านของชาวเหนือ
ผักเชียงดา ชื่ออื่นๆ ผักเซี่ยงดา ,ผักเซ่งดา, ผักว้น, ผักม้วนไก่, ผักเซ็ง, ผักจินดา ( GYMNEMA INODORUM DECNE ) อยู่ในวงศ์ ACLEPIADACEAE
ผักเชียงดา ชื่ออื่นๆ ผักเซี่ยงดา ,ผักเซ่งดา, ผักว้น, ผักม้วนไก่, ผักเซ็ง, ผักจินดา ( GYMNEMA INODORUM DECNE ) อยู่ในวงศ์ ACLEPIADACEAE
บำรุงตับอ่อน รักษาเบาหวาน ผักเชียงดาถูกใช้เป็นยารักษาเบาหวานในอินเดียและประเทศในแถบเอเชียมานานกว่า 2000 ปีแล้ว มีสารสำคัญคือ gymnemic acid
ในภาษาฮินดู Gurmar แปลตรงตัวว่า ผู้ฆ่าน้ำตาล
ประเทศญี่ปุ่น ใช้ยอดอ่อนของผักเชียงดาที่นำเข้าจากประเทศไทยผลิตเป็น ชาชงสมุนไพร (Herbal tea)
ลักษณะเชียงดา
ผักเชียงดา เป็นไม้เลื้อยไม้เถา ส่วนต่างๆมีน้ำยางใส ออกใบเดี่ยวสลับ ดอกช่อ ออกที่ง่ามใบ ดอกเล็กๆสีเหลืองหรือเหลืองอมส้มหรือเขียว ผลรูปหอก พบขึ้นตามป่าดิบแล้งทางภาคเหนือ
การขยายพันธุ์
ใช้ในการปักชำกิ่ง นิยมปลูกตามริมรั้ว หรือให้ขึ้นเลื้อยไม้อื่น...
ผักเชียงดามีคุณค่าทางโภชนาการสูง ในยอดอ่อนและใบอ่อนมีวิตามินซี เบต้าแคโรทีน และสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง นอกจากนี้ผักเชียงดายังมี กรดจิมนีมิก (gymnemic acid) ที่มีรูปร่างโมเลกุลเหมือนน้ำตาลกลูโคส เวลาเราทานผักเชียงดาเข้าไป ลำไส้จะดูดซึมกรดจิมนีมิกเข้าสู่ร่างกาย(กระแสเลือด) ได้ดีกว่าน้ำตาล มีผลทำให้การดูดซึมน้ำตาลลดลง นอกจากลดการดูดซึมน้ำตาลแล้ว ผักเชียงดายังช่วยเพิ่มปริมาณอินซูลิน(สารที่ควบคุมป ริมาณน้ำตาลในเลือด)ให้สูงขึ้น ด้วยคุณสมบัติทั้งสองอย่างนี้จึงทำให้ผักเชียงดาสามา รถลดน้ำตาลในเลือดได้และดีกว่ายาแผนปัจจุบันที่ใช้รั กษาโรคเบาหวานที่ชื่อ ไกลเบนคาไมด์ เสียอีก
ข้อมูลวิจัยในไทยครับ
- ช่วยบำรุงและปรับสภาพของตับอ่อนให้เป็นปกติ
- ช่วยชำระล้างสารพิษและฟื้นฟูตับอ่อนให้แข็งแรง
- ช่วยบำรุงและซ่อมแซมหมวกไตและระบบการทำงานของใต
- ช่วยปรับระดับอินซูลินในร่างกายให้อยู่ในภาวะที่สมดุล
- ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้มีภาวะน้ำตลาในเลือดสูง(โรคเบาหวาน)
- ช่วยควบคุมปริมาณไขมัน(cholesterol)ในร่างการให้สมดุล
- บรรเทาอาการภูมิแพ้และหอบหืด
- บรรเทาอาการปวดข้อจากโรคเก๊าต์
- แก้ร้อนในกระหายน้ำ
ข้อมูลเพิ่มเติม
สรรพคุณผักเชียงดา
- ผักเชียงดามีสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน โรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ โรคต้อกระจกในผู้สูงอายุ ช่วยป้องกันการแตกของเม็ดเลือดแดง และการเสียของ DNA ข้ออักเสบรูมาตอยด์และเก๊าท์
- ผักเชียงดามีสารออกฤทธิ์ที่ช่วยควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ[2] และชาวบ้านยังนิยมกินผักเชียงดาหน้าร้อน เพื่อช่วยลดความร้อนในร่างกายอีกด้วย
- หมอยาพื้นบ้านในจังหวัดจะใช้ผักเชียงดาเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อยอันเนื่องมาจากการทำงาน[7]
- ช่วยทำให้เจริญอาหาร
- ช่วยชำระล้างสารพิษตกค้างในร่างกาย
- ใช้รักษาเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ปรับระดับอินซูลินในร่างกายให้สมดุล ช่วยสร้างเนื้อเยื่อใหม่ให้ตับอ่อน ด้วยการนำผักเชียงดามาปรุงเป็นอาหารรับประทาน จากการศึกษาพบว่า การรับประทานผงผักเชียงดาก่อนอาหารประมาณวันละ 8-12 กรัม (แบ่งการรับประทานเป็น 3 มื้อ มื้อละ 4 กรัม) จะสามารถควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานให้เป็นปกติได้ หรือจะรับประทานเป็นผักสดอย่างน้อยวันละประมาณ 50-100 กรัม หรือ 1 ขีด ก็สามารถช่วยป้องกันและบำบัดโรคเบาหวานได้เช่นกัน
- ช่วยควบคุมและปรับระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ
- ช่วยลดและควบคุมปริมาณไขมันในร่างกายให้สมดุล
- ผักเชียงดาสามารถนำไปใช้ลดน้ำหนักได้ เพราะผักชนิดนี้สามารถช่วยให้มีการนำน้ำตาลไปเผาผลาญมากกว่าการนำไปสร้างเป็นไขมันสะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีรายงานว่าผักเชียงดาสามารถช่วยลดน้ำหนักได้จริง
- ผักเชียงดามีสรรพคุณช่วยบำรุงสายตา แก้ตาฝ้าฟาง มีอาการเคืองตา เนื่องจากผักชนิดนี้มีวิตามินสูง[1]
- ช่วยแก้หูชั้นกลางอักเสบ (ต้น)
- ใบนำมาตำให้ละเอียดใช้พอกบริเวณกระหม่อมเพื่อรักษาไข้ อาการหวัด ปรุงเป็นยาลดไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ หรือนำไปประกอบในตำรายาแก้ไข้อื่น ๆ
- ผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ (ผล)
- ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้และหอบหืด
- ต้นสรรพคุณเป็นยาแก้หลอดลมอักเสบ แก้ไอ แก้ปอดอักเสบ (ต้น)
- ช่วยแก้โรคบิด (ต้น)
- การรับประทานผักเชียงดาใบแก่ จะช่วยทำให้ระบบขับถ่ายในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น และชาวบ้านยังนิยมนำมาแกงรวมกับผักตำลึงและยอดชะอมเพื่อใช้รักษาอาการท้องผูกอีกด้วย
- ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร (ต้น)
- ต้นแห้งหรือต้นสดใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ต้น)
- ช่วยขับระดูของสตรี
- ช่วยฟื้นฟูตับอ่อนให้แข็งแรง ช่วยบำรุงและปรับสภาพการทำงานของตับอ่อนให้เป็นปกติ
- ช่วยบำรุงและซ่อมแซมหมวกไต และระบบการทำงานของไตให้สมบูรณ์
- ช่วยแก้อาการบวมน้ำ (ต้น)
- ใบใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนังทุกชนิด ทำให้น้ำเหลืองแห้ง และแก้กามโรค
- ใบสดใช้ตำพอกฝีหรือหัวลำมะลอก งูสวัด เริม ถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน
- หัวมีรสมันขม มีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษอักเสบ พิษร้อน ช่วยดับพิษกาฬ แก้พิษไข้เซื่องซึม และแก้เริม (หัว)
- ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อจากโรคเก๊าท์
- ในบ้านเรามีการใช้ผักเชียงดาเป็นทั้งยาสมุนไพรและเป็นอาหารเพื่อรักษาโรคโดยกลุ่มหมอเมืองทางภาคเหนือมานานแล้ว กล่าวคือ การใช้เป็น “ยาแก้หลวง” (คล้ายยาครอบจักรวาลของแผนปัจจุบัน) ถ้าคิดไม่ออกก็บอกผักเชียงดา เช่น แก้เบาหวาน เวียนศีรษะ ปวดศีรษะตัวร้อน แก้ไข้สันนิบาต (ชักกระตุก) แก้หวัด ภูมิแพ้ หอบหืด แก้แพ้ยา แพ้อาหาร ปวดข้อ เป็นยาระบาย ช่วยระงับประสาท หรือเมื่อมีอาการคิดมากหรือจิตฟั่นเฟือน ฯลฯ ส่วนการนำมาใช้เป็นยาก็ให้นำผักเชียงดามาสับแล้วนำไปตากแห้งบดเป็นผง ใช้ชงเป็นชาดื่ม หรือจะนำมาบรรจุลงในแคปซูลก็ได้