Container Icon

ต้นแมคคาเดเมีย พืชที่น่าทึ่ง

 ต้นแมคคาเดเมีย เป็นพืชที่น่าทึ่ง

ลูกพลับอมก๋อย สดใหม่ ใหญ่ ไร้สาร

ลูกพลับสดใหม่ ใหญ่ ไร้สาร

แจกฟรี.. เม็ดพันธุ์ลิ้นฟ้าหรือเพกา

แจกฟรี..เม็ดพันธุ์


แอปเปิ้ลสีดำ “Scorpion apple”

แอปเปิ้ลสีดำ “Scorpion apple”

                   แอปเปิลสีดำปลูกขึ้นได้เฉพาะที่ราบสูงที่มีอุณหภูมิต่ำ ทำให้การเจริญเติบโตเป็นไปได้ช้าโดยเฉลี่ยแล้วแอปเปิลสีดำมีอายุเพียง 2-3 ปี นานที่สุดคือ 5 ปี ทำให้ผลผลิตแอปเปิลสีดำมีจำนวนจำกัด และมีผลผลิตที่สมบูรณ์เพียง 30% เท่านั้นที่สามารถผ่านมาตรฐานเรื่องสีสันอันเข้มงวดของผู้ผลิตก่อนจะมาถึงผู้บริโภคได้ ความพิเศษเหล่านี้ทำให้ราคาของแอปเปิลสีดำสูงถึง $20 ต่อลูก! (ประมาณ 600 บาท) สมกับการเป็นของขวัญพิเศษในตลาดระดับไฮเอนด์ นอกจากนี้ผู้บริโภคที่ต้องการซื้อต้องสั่งล่วงหน้าเหมือนทุเรียนเมืองนนท์บ้านเราไม่ผิดเพี้ยน .
ข้อมูล/รูปภาพ : Good Times https://bit.ly/2NAtBjX

 

จิงจูฉ่าย พืชอาหารและยาดี

จิงจูฉ่ายพืชอาหารและราชาสมุนไพร

 

ผักกูด (Paco fern)

ผักกูด (Paco fern) 




มารู้จักผักกูด
ผักกูด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Diplazium esculentum) เป็นชื่อของผักชนิดหนึ่งที่อยู่ในตระกูลเฟิร์นที่อยู่ในวงศ์ Athyriaceae ซึ่งมนุษย์สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้ นอกจากจะนำมาเป็นอาหารได้แล้วยังนำมาเป็นสมุนไพรได้อีกด้วย ผักกูดมักจะขึ้นอยู่ตามริมน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำ มากกว่าในป่าทึบ มักพบบ่อยเพราะเป็นช่วงเจริญเติบโตในฤดูฝน
มีเหง้าสูงได้ 1 เมตร ใบเป็นแผงรูปขนนก ตอนอายุยังน้อยจะแตกเป็นรูปขนนกชั้นเดียวคู่ขนานกันไปตั้งแต่โคนใบถึงปลายใบ เมื่ออายุมากขึ้นใบจะเปลี่ยนเป็นรูปขนนก 2 ชั้น ยอดอ่อนและปลายยอดม้วนงอแบบก้นหอย พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปเอเชียและโอเชียเนีย
ใบของผักกูดใช้ต้มน้ำดื่มหรือกินสด ช่วยแก้ไข้ตัวร้อน, แก้พิษอักเสบ, บำรุงสายตา, บำรุงโลหิต, แก้โลหิตจาง ป้องกันเลือดออกตามไรฟันและขับปัสสาวะเด็ดขาดมาก ลดความดันโลหิตสูง ลดคอเลสเตอรอลในเม็ดเลือด มีสารบีตา-แคโรทีนและธาตุเหล็กสูง ส่วนใหญ่จะนำใบอ่อน ช่ออ่อน ทำแกงกับปลาเนื้ออ่อนน้ำจืด เช่นปลาช่อนหรือลวกจิ้มน้ำพริกชนิดต่างๆ ยำผักกูด, ผักกูดผัดน้ำมันหอย, แกงกะทิกับปลาย่าง, ลวกกะทิ แต่ไม่นิยมกินสด ๆ กันเพราะจะมียางเป็นเมือกอยู่ที่ก้าน


นอกจากนี้แล้ว ผักกูดยังเป็นดัชนีชี้วัดถึงสภาพแวดล้อมให้ได้รู้ว่า บริเวณไหนอากาศไม่ดี ดินไม่บริสุทธิ์ มีสารเคมีเจือปนอยู่ ผักกูดจะไม่ขึ้นหรือแตกต้นในบริเวณนั้นเด็ดขาด 
ผักกูด (Paco fern) เป็นพืชที่อยู่ในตระกูลของเฟิร์น ลักษณะขอบใบเป็นเกล็ดหยักเป็นซี่ มักขึ้นอยู่ตามริมทาง ริมลำน้ำ โดยผักกูดมีหลายชนิด สามารถนำมารับประทานได้ แต่จะมีรสชาติที่แตกต่างกันไป โดยบางชนิดอาจจะมีรสขมจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก สำหรับส่วนของผักกูดที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด ก็คือ ใบนั่นเอง

คุณค่าทางโภชนาการ 

1.ช่วยบำรุงเลือด  
2.ลดคอเลสเตอรอล
3.ป้องกันอาการอ่อนเพลีย
4.เสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
5.บำรุงผิวพรรณ
6.บำรุงสายตา
7.คลายร้อน แก้ร้อนใน
8.บำรุงกระดูก
9.ช่วยให้ขับถ่ายง่ายขึ้น
10.ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน
11.ลดความดันโลหิต

ไอเดียการใช้ผักกูดเพื่อสุขภาพ

1.ใช้ห้ามเลือด
2.ลดไข้ ตัวร้อน
3.แก้ผื่นคัน
4.รักษาโรคริดสีดวงทวาร
5.ขับปัสสาวะ

ไอเดียการกินผักกูดเพื่อสุขภาพ

1.ยำผักกูด
2.แกงส้มผักกูด
3.ผัดผักกูดน้ำมันหอย
4.ไข่เจียวผักกูด
5.ยำผักกูดใส่กะทิ
6.ลวกจิ้มกับน้ำพริก


ข้อควรระวัง

          ผักกูด 100 กรัม ประกอบไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้...    

พลังงาน 19 กิโลแคลอรี โปรตีน 4.09 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3.67 กรัม วิตามินอี 0.99 กรัม แคลเซียม 18.79 กรัม ฟอสฟอรัส 72.72 กรัม ธาตุเหล็ก 0.82 กรัม โซเดียม 10.90 กรัม โพแทสเซียม 507.70 กรัม วิตามินบี 2 0.07 มิลลิกรัม และแอนติออกซิแดนท์ 211.92 มิลลิกรัม


ประโยชน์ของผักกูด

     
 ผักกูดเป็นพืชที่อุดมไปด้วยสารอาหารและวิตามินมากมาย จึงมีสรรพคุณทางยาและมีประโยชน์อย่างหลากหลาย โดยประโยชน์ของผักกูดก็มีดังนี้        ในผักกูดมีธาตุเหล็กสูง ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือด จึงช่วยในการบำรุงเลือดได้เป็นอย่างดี เหมาะกับคนที่มีปัญหาเลือดจาง คนที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด และคุณแม่หลังคลอดเป็นที่สุด นอกจากนี้ธาตุเหล็กยังช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมแร่ธาตุชนิดอื่นได้ดีขึ้นอีกด้วย        ผักกูดมีสรรพคุณช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย ลดความเสี่ยงจากโรคร้าย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น ดังนั้น คนที่ทานผักกูดเป็นประจำจึงสามารถป้องกันภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูงได้เป็นอย่างดี       ผักกูดมีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย ทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังเต็มไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินหลายชนิด ที่จะช่วยให้ร่างกายเกิดความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า และคลายความเหนื่อยล้า ปวดเมื่อย อ่อนเพลียได้อย่างดีเยี่ยม ในคนที่ต้องทำงานหนักเป็นประจำจนมีเวลาพักผ่อนน้อย จึงควรทานผักกูดมากที่สุด       เพียงทานผักกูดเป็นประจำ ก็จะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกายให้มีความแข็งแรงมากขึ้นได้ นั่นก็เพราะในผักกูดมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยป้องกันเซลล์ไม่ให้ถูกทำลาย จึงทำให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ โดยเมื่อภูมิคุ้มกันสูงขึ้น ก็จะช่วยลดความเสี่ยงการป่วยด้วยโรคต่างๆ ได้เช่นกัน       ผักกูดมีสารเบต้าแคโรทีนและวิตามินที่จำเป็นต่อการบำรุงผิวเป็นจำนวนมาก จึงช่วยในการบำรุงผิวพรรณให้สดใส ดูอ่อนเยาว์ และมีสุขภาพผิวที่ดีอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นใครที่อยากมีผิวสวยก็ต้องทานผักกูดกันเป็นประจำ       เนื่องจากผักกูดอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนสูงมาก จึงสามารถบำรุงสายตาและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดกับดวงตาได้เป็นอย่างดี โดยสารเบต้าแคโรทีนจะถูกนำไปย่อยสลายที่ตับ กลายเป็นวิตามินเอ แล้วถูกส่งมาบำรุงสายตา ช่วยป้องกันโรคต้อกระจก ป้องกันความเสื่อมของดวงตา และลดอาการเหนื่อยล้าของดวงตาจากการใช้งานหนักได้ดี       ผักกูดมีส่วนช่วยคลายร้อน แก้ร้อนใน และลดอุณหภูมิในร่างกายได้เป็นอย่างดี จึงเหมาะกับการนำมาทานในช่วงที่อากาศร้อนจัดเป็นที่สุด หรือหากมีอาการร้อนใน การทานผักกูดก็จะช่วยบรรเทาและรักษาให้หายเป็นปกติได้เหมือนกัน       ผักกูดเป็นแหล่งของเส้นใยอาหาร และมีแคลเซียมสูง จึงช่วยในการบำรุงและเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรงได้เป็นอย่างดี สามารถรับประทานแทนการดื่มนมเพื่อเสริมแคลเซียมให้กับร่างกายได้       แค่ทานผักกูดเป็นประจำก็จะช่วยให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น นั่นก็เพราะผักกูดมีเส้นใยอาหารสูงมาก จึงมีคุณสมบัติเป็นยาระบาย ทำให้ขับถ่ายง่าย ถ่ายคล่อง ป้องกันอาการท้องผูกได้อย่างดีเยี่ยม เหมาะกับคนที่มีอาการท้องผูกบ่อยเป็นที่สุด       การทานผักกูดจะช่วยป้องกันปัญหาเลือดออกตามไรฟันได้ พร้อมกับช่วยบำรุงฟันและเหงือกให้แข็งแรง จึงไม่เกิดปัญหาเหงือกอักเสบและไม่ทำให้เลือดออกตามไรฟันนั่นเอง ดังนั้นมาทานผักกูดให้มากขึ้นกันเถอะ       สำหรับคนที่มีปัญหาความดันโลหิตสูง การทานผักกูดก็จะช่วยแก้ปัญหาได้เหมือนกัน เพราะผักกูดมีสรรพคุณในการลดระดับของความดันโลหิตให้ต่ำลง และช่วยควบคุมความดันให้เป็นปกติไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป




              นอกจากประโยชน์ที่มากล้นของผักกูดแล้ว ก็มีไอเดียในการนำผักกูดมาใช้เพื่อสุขภาพได้หลายวิธีอีกด้วย ซึ่งเราก็ได้รวบรวมไอเดียการใช้ผักกูดมาแนะนำกันดังนี้...       เมื่อเป็นแผล มีเลือดออก สามารถนำใบผักกูดมาใช้ห้ามเลือดได้ โดยให้นำใบผักกูดมายีหรือตำพอแหลก แล้วนำมาโปะตรงที่เลือดออกไว้สักพัก ก็จะทำให้เลือดหลุดไหลเร็วขึ้น และยังช่วยป้องกันการติดเชื้อโรคที่บาดแผลได้อีกด้วย       ในคนที่มีอาการไข้ตัวร้อน ให้นำใบผักกูดมาต้มในน้ำ แล้วนำมาดื่ม จะช่วยลดไข้ แก้ตัวร้อนได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะทำให้หายป่วยจากอาหารไข้หวัดเร็วขึ้น       การนำผักกูดทั้งต้นมาแช่ในน้ำประมาณ 30 นาที แล้วนำน้ำมาอาบจะช่วยแก้อาการผื่นคันได้ โดยอาบบ่อยๆ จะทำให้ผื่นคันค่อยๆ ยุบลงและหายเป็นปกติในที่สุด       ผักกูดสามารถนำมาใช้เพื่อรักษาโรคริดสีดวงทวารได้ โดยให้นำหัวผักกูด รากถั่วพู เปลือกมะเดื่ออุทุมพร เมล็ดมะกอก และรากกระทุงหมาบ้า มาฝนให้ละเอียดเป็นผง จากนั้นนำมาชงกับน้ำซาวข้าว ดื่มเป็นประจำครั้งละ 1 แก้ว 3 เวลาหลังมื้ออาหาร           ผักกูดมีสรรพคุณในการช่วยขับปัสสาวะ พร้อมขับสารพิษและสิ่งตกค้างในร่างกายออกมาพร้อมกับปัสสาวะด้วย โดยให้นำใบผักกูดมาต้มกับน้ำสะอาด แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่มวันละครั้ง จะทำให้ปัสสาวะถูกขับออกมาได้ดี


          ผักกูดเป็นผักพื้นบ้าน ที่มีคุณค่าทางสารอาหารสูง นิยมนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู เราลองมาดูวิธีการปรุงอาหารจากผักกูดง่ายๆ กันเลย           เมนูยำๆ ที่มากไปด้วยประโยชน์ โดยวิธีการทำ ให้นำผักกูดไปลวก ตักขึ้นมาแช่น้ำเย็นเอาไว้ นำกุ้งไปลวก จนเริ่มสุก ตักขึ้นมา นำหมูสับลงไปลวกต่อ เมื่อสุกแล้วให้ตักขึ้น ขั้นตอนการทำน้ำยำ ใส่พริกขี้หนูกับกระเทียมลงไปตำให้ละเอียด ตักใส่ถ้วย ใส่น้ำมะนาว น้ำปลา น้ำตาลทราย ผสมทุกอย่างให้เข้ากัน เอาน้ำยำเทราดลงบนกุ้งและผักกูด พร้อมยกขึ้นเสิร์ฟได้เลย            เมนูง่ายๆ ที่ทั้งอร่อยและดีต่อสุขภาพ โดยวิธีทำ ให้ตำพริกขี้หนู กระเทียม ใส่กะปิ ใส่เกลือลงไป ตำจนทุกอย่างเข้ากัน จากนั้นเด็ดผักกูดเอาแต่เฉพาะส่วนยอด นำปลาแดดเดียวลงไปทอดจนเหลือง นำน้ำใส่หม้อไปตั้งไฟจนเดือด ใส่เครื่องแกงที่ตำเสร็จแล้วลงไป รอจนเดือดอีกครั้งก็ใส่ใบมะกรูด คนให้เข้ากัน ใส่ผักกูดลงไป คนสักครู่ ใส่เนื้อปลาทอด ปิดไฟ ตักใส่ถ้วยยกขึ้นเสิร์ฟทานพร้อมข้าวสวยร้อนๆ ได้ทันที          อีกหนึ่งเมนูผักกูดที่อยากแนะนำ เพราะทำง่ายแถมดีต่อสุขภาพอีกด้วย โดยวิธีการทำ ให้หั่นผักกูดเตรียมไว้ หั่นกระเทียม ตั้งกระทะใส่น้ำมันลงไป เมื่อกระทะร้อน ใส่กระเทียมลงไปผัดจนหอม ใส่ผักกูดลงไป ปรุงรสด้วย น้ำมันหอย น้ำตาล น้ำปลา ตักใส่จาน ทานกับข้าวสวยร้อนๆ ซึ่งก็เป็นเมนูที่ทำง่ายมากเปลี่ยนไข่เจียวธรรมดาให้กลายเป็นไข่เจียวเพื่อสุขภาพด้วยการใส่ผักกูดลงไป โดยวิธีทำ ให้นำผักกูดมาเด็ดเอาเฉพาะยอดอ่อน นำน้ำใส่หม้อตั้งจนเดือด แล้วลวกผักกูดตักขึ้นมาพักไว้ จากนั้นตอกไข่ ใส่ยอดผักกูดลงไป ใส่น้ำมันหอย น้ำปลา พริกไทย ตีไข่จนทุกอย่างเข้ากัน ใส่น้ำมันลงไปบนกระทะ ตั้งจนร้อน เทไข่ลงไปทอด เมื่อสุกแล้วตักขึ้นเสิร์ฟ ปรุงรสด้วยซอสมะเขือเทศหรือซอสพริก ก็ได้เมนูเพื่อสุขภาพที่อร่อยและมีประโยชน์สุดๆ          เมนูยำผักกูดแบบปักษ์ใต้ ที่ทั้งอร่อยและมีความกลมกล่อมเป็นอย่างมาก โดยเมนูนี้ให้นำผักกูดมาเด็ดเอาแต่ใบแล้วลวกในน้ำร้อน ตักขึ้นแช่ในน้ำแข็งตั้งพักไว้ จากนั้นตำมะพร้าวคั่ว หอมแดง กระเทียม และพริกไทยดำพอละเอียด ใส่ปลาทูย่างลงไปตำให้เข้ากันอีกครั้ง ตักส่วนผสมทั้งหมดใส่ถ้วย ปรุงรสให้อร่อยด้วยน้ำตาล เกลือ และมะนาว คลุกเคล้าให้เข้ากัน พร้อมเสิร์ฟได้เลย ซึ่งเมนูนี้ก็ต้องบอกเลยว่าอร่อยมาก แนะนำให้ลองทำกันดูเป็นไอเดียง่ายๆ ในการกินผักกูด เพียงแค่นำผักกูดมาลวกให้สุก แล้วนำมาจิ้มกับน้ำพริก รับรองว่าได้ทั้งความอร่อยและดีต่อสุขภาพเลยทีเดียว ทั้งนี้จะต้องลวกให้สุกก่อนนำมากินเท่านั้น ห้ามกินแบบดิบๆ เป็นอันขาด เพราะอาจเกิดผลเสียต่อร่างกายได้

  

แม้ว่าผักกูดจะอุดมไปด้วยประโยชน์มากมาย แต่ก็มีข้อควรระวังที่ควรรู้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียจากการทานผักกูด โดยในผักกูดมีสารออกซาเลตสูงมาก ซึ่งสารชนิดนี้จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นนิ่วและอาจมีปัญหาไตอักเสบได้ จึงไม่ควรทานแบบดิบๆ เป็นอันขาด แนะนำให้นำไปปรุงให้สุกก่อนทุกครั้ง เพราะเมื่อโดนความร้อน สารออกซาเลตจะถูกสลายออกไป จึงไม่เป็นอันตรายนั่นเอง           

         ผักกูดเป็นผักพื้นบ้านที่หาทานง่าย มีวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด ทั้งยังมีสรรพคุณในการบำรุงสุขภาพให้แข็งแรง ป้องกันการเกิดโรคร้ายได้หลายชนิดอีกด้วย เพราะฉะนั้นมาทานผักกูดเพื่อสุขภาพที่ดีของคุณกันดีกว่า แต่อย่าลืมนำไปปรุงให้สุกทุกครั้งก่อนนำมาทานด้วย แล้วคุณจะได้รับประโยชน์จากผักกูดแบบจัดเต็มอย่างแน่นอน


การปลูกและการดูแลผักกูด
                 



























ข้อมูลศึกษาเพิ่มเติมจากแหล่งอื่น



ฟักแม้ว (ซาโยเต้)

ฟักแม้ว (ซาโยเต้)




ชื่อเรียกต่าง ๆ

         ฟักแม้ว, มะระแม้ว, มะระหวาน, มะเขือเครือ หรือ ชาโยเต้ (อังกฤษChayote; ชื่อวิทยาศาสตร์ Sechium edule) เป็นไม้เถาวงศ์แตง(Cucurbitaceae) ผลและยอดอ่อนรับประทานได้


ถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์

          มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเม็กซิโก และแถบอเมริกากลาง ปัจจุบันมีปลูกอยู่ทั่วโลก พบปลูกทั่วไปในพื้นที่สูง 500-1,700 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล มีดินอุดมสมบูรณ์ แสงสว่างพอเพียง (ช่วงแสง 12 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อชักนำให้เกิดการเจริญของดอก) และใกล้แหล่งน้ำ สันนิษฐานกันว่าพืชชนิดนี้นำเข้ามาในประเทศไทยโดยหมอสอนศาสนา และให้ชาวบ้านปลูกเป็นครั้งแรกที่จังหวัดแพร่


ลักษณะ






ฟักแม้วเป็นไม้เถาเลื้อย สามารถเจริญเติบโตข้ามปีได้ มีลักษณะคล้ายเป็นพืชที่อยู่ในกลุ่มของพืชตระกูลแตง แต่มีลักษณะหลายอย่างที่ไม่เหมือนพืชตระกูลแตงที่พบเห็นโดยทั่วไป ลักษณะลำต้น ใบ ยอด และมือจับ คล้ายแตงกวาผสมกับฟักเขียว มีระบบรากสะสมขนาดใหญ่ ลำต้นเป็นเหลี่ยม เจริญเป็นเถา ยาว 15-30 ฟุต มีเถาแขนง 3-5 เถา มือเกาะเจริญที่ข้อ ใบมีขอบใบลักษณะเป็นเหลี่ยม 3-5 เหลี่ยม ยาว 8-15 เซนติเมตร ดอกสีขาวปนเขียว ดอกเกิดที่ข้อระหว่างต้นกับก้านใบเป็นชนิดดอกช่อ (Inflorescence) ส่วนดอกเป็นประเภทไม่สมบูรณ์เพศ (Imperfect flower) กล่าวคือดอกตัวผู้และดอกตัวเมียเป็นคนละดอก แต่อยู่ในต้นเดียวกัน (Monoecious plant) ผลของมะเขือเครือเป็นประเภทผลเดี่ยว (Simple fruit) เนื้อของผลเจริญมาจากฐานรองดอกที่ขยายใหญ่ไปหุ้มเมล็ดไว้มีเมล็ดเพียงเมล็ดเดียว ในผลเหมือนกับมะม่วง มะปราง ซึ่งเป็นข้อแตกต่างของพืชตระกูลแตงที่พบเห็นโดยทั่วไป
ผลทรงกลมยาวสีเขียวอ่อน รูปร่างคล้ายแพร์ มีขนาดความยาว 7-20 เซนติเมตร กว้าง 5-15 เซนติเมตร น้ำหนักผล 200-400 กรัม เนื้อมีรสหวาน รสชาติคล้ายมันฝรั่งปนแตงกวา


คุณค่าทางอาหาร และยา



ใช้ ผล ใบ และรากประกอบอาหาร แต่ก็สามารถรับประทานลำต้นและเมล็ดได้ ในประเทศไทยนิยมรับประทานยอดซาโยเต้ผัดน้ำมันหอย
  • ผล สามารถรับประทานได้ทั้งเปลือก มีรสชาติคล้ายอาร์ติโช๊ค หรือมันฝรั่ง สามารถนำมาตำส้มตำแทนมะละกอก็ได้ เพราะเนื้อหวานกรอบ นำมาหั่นฝอยหรือสไลด์เป็นแผ่นผัดกับไข่ หรือผัดน้ำมัน หวานอร่อย
  • ราก ส่วนใหญ่ประกอบด้วยแป้ง ใช้ต้มหรือผัด ใช้เป็นอาหารสัตว์ได้
  • ผลและเมล็ดประกอบด้วยกรดอะมิโนที่สำคัญหลายชนิด และวิตามินซี
  • ใบและผล ใช้ดองยา มีคุณสมบัติช่วยขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจและหลอดเลือด แก้อักเสบ
  • น้ำต้มใบและผล ใช้ในการรักษาอาการเส้นเลือดแข็งตัว ความดันโลหิตสูง และสลายนิ่วในไต
  • ชาวกะเหรี่ยงนำยอดอ่อนและผลไปผัด แกง หรือลวกจิ้มน้ำพริก





เทคนิคการปลูกและดูแล ผลผลิตและด้านตลาด

























ข้อมูลคุณประโยชน์จากแหล่งอื่น ๆ

ซูกินี่ (Zucchini)

ซูกินี่ (Zucchini) 



       กินดี แถมมีประโยชน์ต่อสุขภาพ 
อร่อยไม่แพ้แตงกวา

       หากพูดถึงผักเพื่อสุขภาพที่ควรหามารับประทาน ซูกินี่ หรือ ซุกินี (Zucchini) ก็กำลังได้รับความนิยมไม่แพ้ผักชนิดอื่น ๆ 

ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของซูกินี..



ซูกินี่ คืออะไร

       ซูกินี่ เป็นพืชตระกูลแตง มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบเม็กซิโก มีรสชาติหวานกรอบ จะมีกลิ่นเฉพาะตัว นิยมนำมารับประทานกันแบบสดหรือปรุงเป็นอาหารชนิดต่างๆ ใช้แทนบวบหรือแตงในอาหารชนิดต่างๆ เช่น ผัด แกงจืด แกงเลียง ต้มจิ้มน้ำพริก หรือใช้เป็นผักสด สามารถนำไปดองได้ด้วย อีกทั้งยังเป็นผักที่มีแคลอรี่ต่ำ ไม่มีไขมัน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักเป็นอย่างมาก

       ซูกินี่ เป็นผักที่อุดมไปด้วยวิตามินต่างๆ เช่น วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 วิตามินเค เบตาแคโรทีน แคลเซียมและแมกนีเซียม โปแทสเซียม คอปเปอร์ โฟเลต ฟอสฟอรัส และแมงกานีส omega-3

สรรพคุณของซูกินี่



       ช่วยรักษาโรคหอบหืด บำรุงสุขภาพของดวงตา ป้องกันต้อกระจก ลดความดันเลือด ลดความเสี่ยงของโรคภูมิต้านทานบกพร่อง ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงประสาท และช่วยเพิ่มความจำได้ดีมาก ๆ

วิธีการปลูกซูกินี่
ซูกินี (Zucchini) /10 เมล็ด ฟักทองสครอส ซูซินี่ - Zucchini Black Beauty Squash เมล็ดพันธุ์นำเข้าจาก : USA ชื่อวิทยาศาสตร์ :-Cucurbita L.var.cylindica Pans. ถิ่นกำเนิด :- แถบแม็กซิโก ลักษณะของซูกินี :-ซูกินี่เป็นพืชตระกลูแตง เป็นพืชฤดูเดียว เจริญเป็นพุ่ม หรือเป็นกิ่งเลื้อย ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อสั้น ใบเป็นเหลี่ยม ผิวใบหยาบ มีขนอ่อนด้านบนใบ ดอกแยกเพศ แต่อยู่บนต้นเดียวกัน มีแมลงช่วยในการผสมเกสร เช่น ผึ้ง ลักษณะผลยาว รี มีสันนูนตามยาว ผิวผลเป็นมันวาว ผลมีสีเขียวแก่ หรือ สีเขียวแก่สลับลายขาว หรือสีเหลือง เนื้อผลแน่น กรอบ ฉ่ำน้ำ สภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต :-ซูกินีเจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่มีอุณหภูมิ 18-30 องศาเซลเซียส และเจริญได้ดีในสภาพดินร่วนซุย ระบายน้ำดี ความเป็นกรด-ด่าง ประมาณ 6.0-6.5 และต้องการแสงเต็มที่ วิธีปลูกซูกินีและบำรุงรักษา :-ซูกินีปลูกด้วยการเพาะเมล็ด เมื่อเมล็ดงอกและมีอายุได้ 6-8 วัน ให้ย้ายปลูก โดยใช้ระยะปลูก 70x100 ซม. ให้ปุ๋ยคอก 1-2 ตัน/ไร่ ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ปริมาณ 50 กก./ไร่ และใส่ แคลเซียมไนเตรท 50 กก./ไร่ ให้น้ำ เช้า-เย็น อายุการเก็บเกี่ยว :-75-80 วัน เริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 40 วัน

การปลูกซูกินี่ : ข้อมูลก่อนปลูก


ข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งอื่น 























มะม่วงหิมพานต์ ราชาสู้ภัยแล้ง

มะม่วงหิมพานต์ ไม้โบราณปลูกไว้ดีกว่าที่คาดคิด


ศึกษาประโยชน์และสรรพคุณ : คลิกไปชม

ผักขะแยง ยอดฮิต คุณค่าสูง

ผักขะแยง





ผักขะแยงพืชผัก ประดับก็สวยงาม 







ปลูกผักแขยงไว้สำหรับฤดูแล้ง






45 วันผักแขยงปลูกขายรายได้งาม






ผักแขยงพืชผักเศรษฐกิจไทย







สรรพคุณสุดยอดทางสมุนไพรผักขะแยง

บั้นปลาย ของเกษตรปราณีตกับเกษตรเชิงเดี่ยว..

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวง ร.9

บั้นปลาย ของเกษตรปราณีตกับเกษตรเชิงเดี่ยว..





ติดตามชมคลิปวิดิทัศน์










ขอบคุณที่มาของข้อมูล : คลิ๊ก

มันเทศ มันไทย (The sweet potato)

มันเทศ  Sweet potato 

การปลูกมันเทศ


มันเทศ
ชื่อวงศ์
Convolvulaceae
ชื่อสามัญ
Sweet potato



ชื่อวิทยาศาสตร์
Ipomoea batatas (L.) Lam.
ชื่ออื่นๆ
-
             ทุกวันนี้มันเทศไทยดั้งเดิมค่อนข้างหาทานลำบากแล้ว แต่จะพบขายในห้างสรรพสินค้า ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นสายพันธุ์เมืองนอก นำเข้ามาราคาแพงเกินกว่าคนชาวบ้านทั่ว ๆไปจะซื้อมากินได้บ่อย ๆนัก มันเทศไทยดั้งเดิมชาวบ้านขายในไร่กิโลกรัมและ 2-5 บาท ไปถึงกรุงเทพฯก็ 25 บาท แต่มันเทศต่างประเทศที่เข้ามาในตลาดกลางเมือง เช่น มันเทศจากญี่ปุ่น  มันเทศจากเกาหลี มันเทศจากไต้หวัน หรือมันเทศจากจากอินโดนีเซีย เป็นต้น ราคาจะหลัก100-1,000 บาท ส่วนสายพันธุ์ไทยนั้นขาดการดูแล อนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ ก็มีอันจะสูญหายไป และหายากมากขึ้นแล้วจริง ๆ
              มันเทศเป็นพืชอาหารที่มีความสำคัญอันดับที่ ๕ ของโลกรองจากข้าวสาลี ข้าวเจ้า ข้าวโพด และมันฝรั่ง ในประเทศไทยเราแม้จะปลูกมันเทศกันทั่วๆ ไป แต่ไม่ใคร่เป็นล่ำเป็นสันเท่าใดนัก เพราะเรามีข้าวเจ้าเป็นอาหารหลักอยู่แล้ว
         มันเทศมีหลายสายพันธุ์ หลายสี เช่น เนื้อสีขาว สีส้ม สีม่วง เฉพาะในประเทศไทยมีมันเทศกว่า 500 สายพันธุ์
      แม้รสชาติพันธุ์ดั้งเดิมในไทยและต่างประเทศจะแตกต่างกัน หรือแม้แต่สายพันธุ์เดียวกันปลูกพื้นที่ต่างกัน สภาพดิน อากาศต่างกัน การดูแลรักษาที่ต่างกันอาจจะทำให้รสชาติและคุณภาพแตกต่างกันได้
  จากการศึกษาเพิ่มเติมคุณค่าทางโภชนาการของมันเทศสายพันธุ์ไทย เกี่ยวกับการต้านการเกิดไกลเคชั่น ซึ่งเป็นการทำปฏิกิริยาระหว่างน้ำตาลกับโปรตีนในร่างกาย ทำให้เซลล์แก่ และมักพบในผู้สูงอายุ หรือในกรณีผู้ป่วยเบาหวาน น้ำตาลจะไปจับโปรตีนในเซลล์ เส้นเลือดเสื่อมสภาพเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น
  และจากการทดลองกับแมลงหวี่ ซึ่งมีระบบเอนไซม์คล้ายกับมนุษย์พบว่า มันเทศเนื้อสีม่วงมีส่วนช่วยในการชะลอความแก่ได้ 13% มันเทศสีเหลือง 11% มีประสิทธิภาพในการชะลอความแก่ให้มนุษย์เพิ่มเติม และศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องของการยับยั้งโรคเบาหวาน โรคอัลไซเมอร์ ความดัน โลหิตสูง ต้านการอักเสบ และโรคอ้วน ต่อไป
                แต่ไม่ว่าจะเป็นมันเทศสายพันธุ์ไทยหรือสายพันธุ์ใหม่จากต่างประเทศ รูปร่างไม่ค่อยสวยงาม แต่เรื่องคุณค่าทางโภชนาการนั้นไม่ได้แพ้สายพันธุ์นอกเลย
1.สายพันธุ์ ได้แก่
1.1 พันธุ์โอกุด เถาเลื้อยยาวพอควร ใบเป็นแฉก เนื้อในสีเหลืองอ่อนนิยมมากในบ้านเรา
1.2 พันธุ์ไทจุง เถาไม่เลื้อยมากนัก ลำต้นลักษณะคล้ายทรงพุ่ม ใบเป็นแฉก หัวรูปร่างคล้ายรูปไข่ เนื้อในมีสีเหลีองต้มหรือนึ่งจะไม่เละ
1.3 พันธุ์ห้วยสีทน 1 เถาว์เลื้อยยาว ใบกว้างพอประมาณ เนื้อในสีแดงรสหวาน
2. การเตรียมดิน ควรไถดินลึกไม่ตํ่ากว่า 25-30 เซนติเมตรตากดิน 7-10 วันใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วประมาณ 1.5-2 ตันต่อไร่พรวนดินหรือย่อยดินคลุกเคล้าให้เข้ากันและควรใส่ปูนขาวเพื่อ ปรับสภาพดินด้วย ทำการยกร่องแบบร่องปลูกข้าวโพดหวานเพื่อจะปลูกบนสันร่อง
3. การปลูก ใช้ ระยะปลูกระหว่างต้น 30-50 เซนติเมตรระหว่างแถว 100 เซนติเมตรขุดหลุมบนสันร่องตามระยะปลูกใช้ท่อนพันธุ์วางทำมุมกับพื้นประมาณ 40-60 องศา ลึกลงไปในดินประมาณ 8-10 เซนติเมตรกลบดินด้วยดินผสมหรือดินละเอียดรดนํ้าให้ชุ่ม
4.การให้นํ้าระยะแรกที่ปลูกต้องให้นํ้าจนกว่าจะติดหรือเจริญเติบโตดีแล้วสามารถงดการให้นํ้าได้
เพราะมันเทศเป็นพืชทนแล้งได้ดีและควรงดการไห้นํ้าก่อนการเก็บเกี่ยวประมาณ 3-4 สัปดาห์เพื่อสะดวกในการขุดหัว
5. การใส่ปุ๋ย ครั้ง แรกใส่รองก้นหลุมใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 10-10-20 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ครั้งที่ 2 เมื่อต้นมันอายุได้ประมาณ 15 วัน และครั้งที่ 3 เมื่อมันอายุได้ 30 วันอัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ตามความอุดมสมบูรณ์ของดินแล้วพรวนดินกลบโคน
7. การเก็บเกี่ยว อายุการเก็บเกี่ยวหัวมันเทศประมาณ 90-150 วันแล้วแต่พันธุ์ที่ปลูกสังเกตจากผิวต้นบริเวณโคนต้นมันเทศจะแตกแยกออกเป็น รอยหรือทดลองขุดดูสัก 2-3 ต้นใช้มีดตัดหัวมันเทศถ้าแก่เต็มที่รอยตัดจะมียางไหลซึมออกมาและแห้งไปอย่างรวดเร็ว การขุดต้องระมัดระวังอย่าให้บอบชํ้าหรือมีรอยแผล นำหัวที่ขุดมาไปผึ่งลมให้ดินที่ติดมาแห้งและหลุดร่วงไป ทำความสะอาด คัดขนาดบรรจุถุงรอการจำหน่าย
8. โรค โรคใบจุด โรคหัวเน่าควรฉีดพ่นด้วย มาเน็บ หรือรอยตัดที่หัวหรือแผลทาด้วยนํ้าปูนใสหรือบอร์โดมิกซ์เจอร์
9. แมลง ได แก่ ด้วงงวงมันเทศ หนอนชอนใบมันเทศควรฉีด พ่นด้วยคาร์โบซัลแฟนหรือใช้รองก้นหลุม ด้วยคาร์โบซัลแฟน หรือคาร์โบฟูรานและฉีดพ่นด้วย อะบาเม็กติน

ขอบคุณแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม :

มันเทศและคุณค่าทางอาหาร







เมนูอาหารมันเทศ







ประโชชน์ดี ๆ 8 ข้อ ของมันเทศ







มันเทศ มันไทย







ขนมไข่นกกระทา จากมันเทศ







สูตรมันเทศทอด







มันเทศทำขนมรังนก







มันเทศไทย อร่อย คุณค่าสูง








การปลูกมันเทศ ที่ญี่ปุ่น








เทคนิคการปลูกมันเทศให้หัวดก








การปลูกมันเทศหลังฤดูทำนาปี







การปลูกมันเทศพันธ์ดีสร้างรายได้ดี








ปลูกมันเทศญี่ปุ่นสลับผักสวนครัวแบบพอเพียง