Container Icon

มันเทศ มันไทย (The sweet potato)

มันเทศ  Sweet potato 

การปลูกมันเทศ


มันเทศ
ชื่อวงศ์
Convolvulaceae
ชื่อสามัญ
Sweet potato



ชื่อวิทยาศาสตร์
Ipomoea batatas (L.) Lam.
ชื่ออื่นๆ
-
             ทุกวันนี้มันเทศไทยดั้งเดิมค่อนข้างหาทานลำบากแล้ว แต่จะพบขายในห้างสรรพสินค้า ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นสายพันธุ์เมืองนอก นำเข้ามาราคาแพงเกินกว่าคนชาวบ้านทั่ว ๆไปจะซื้อมากินได้บ่อย ๆนัก มันเทศไทยดั้งเดิมชาวบ้านขายในไร่กิโลกรัมและ 2-5 บาท ไปถึงกรุงเทพฯก็ 25 บาท แต่มันเทศต่างประเทศที่เข้ามาในตลาดกลางเมือง เช่น มันเทศจากญี่ปุ่น  มันเทศจากเกาหลี มันเทศจากไต้หวัน หรือมันเทศจากจากอินโดนีเซีย เป็นต้น ราคาจะหลัก100-1,000 บาท ส่วนสายพันธุ์ไทยนั้นขาดการดูแล อนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ ก็มีอันจะสูญหายไป และหายากมากขึ้นแล้วจริง ๆ
              มันเทศเป็นพืชอาหารที่มีความสำคัญอันดับที่ ๕ ของโลกรองจากข้าวสาลี ข้าวเจ้า ข้าวโพด และมันฝรั่ง ในประเทศไทยเราแม้จะปลูกมันเทศกันทั่วๆ ไป แต่ไม่ใคร่เป็นล่ำเป็นสันเท่าใดนัก เพราะเรามีข้าวเจ้าเป็นอาหารหลักอยู่แล้ว
         มันเทศมีหลายสายพันธุ์ หลายสี เช่น เนื้อสีขาว สีส้ม สีม่วง เฉพาะในประเทศไทยมีมันเทศกว่า 500 สายพันธุ์
      แม้รสชาติพันธุ์ดั้งเดิมในไทยและต่างประเทศจะแตกต่างกัน หรือแม้แต่สายพันธุ์เดียวกันปลูกพื้นที่ต่างกัน สภาพดิน อากาศต่างกัน การดูแลรักษาที่ต่างกันอาจจะทำให้รสชาติและคุณภาพแตกต่างกันได้
  จากการศึกษาเพิ่มเติมคุณค่าทางโภชนาการของมันเทศสายพันธุ์ไทย เกี่ยวกับการต้านการเกิดไกลเคชั่น ซึ่งเป็นการทำปฏิกิริยาระหว่างน้ำตาลกับโปรตีนในร่างกาย ทำให้เซลล์แก่ และมักพบในผู้สูงอายุ หรือในกรณีผู้ป่วยเบาหวาน น้ำตาลจะไปจับโปรตีนในเซลล์ เส้นเลือดเสื่อมสภาพเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น
  และจากการทดลองกับแมลงหวี่ ซึ่งมีระบบเอนไซม์คล้ายกับมนุษย์พบว่า มันเทศเนื้อสีม่วงมีส่วนช่วยในการชะลอความแก่ได้ 13% มันเทศสีเหลือง 11% มีประสิทธิภาพในการชะลอความแก่ให้มนุษย์เพิ่มเติม และศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องของการยับยั้งโรคเบาหวาน โรคอัลไซเมอร์ ความดัน โลหิตสูง ต้านการอักเสบ และโรคอ้วน ต่อไป
                แต่ไม่ว่าจะเป็นมันเทศสายพันธุ์ไทยหรือสายพันธุ์ใหม่จากต่างประเทศ รูปร่างไม่ค่อยสวยงาม แต่เรื่องคุณค่าทางโภชนาการนั้นไม่ได้แพ้สายพันธุ์นอกเลย
1.สายพันธุ์ ได้แก่
1.1 พันธุ์โอกุด เถาเลื้อยยาวพอควร ใบเป็นแฉก เนื้อในสีเหลืองอ่อนนิยมมากในบ้านเรา
1.2 พันธุ์ไทจุง เถาไม่เลื้อยมากนัก ลำต้นลักษณะคล้ายทรงพุ่ม ใบเป็นแฉก หัวรูปร่างคล้ายรูปไข่ เนื้อในมีสีเหลีองต้มหรือนึ่งจะไม่เละ
1.3 พันธุ์ห้วยสีทน 1 เถาว์เลื้อยยาว ใบกว้างพอประมาณ เนื้อในสีแดงรสหวาน
2. การเตรียมดิน ควรไถดินลึกไม่ตํ่ากว่า 25-30 เซนติเมตรตากดิน 7-10 วันใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วประมาณ 1.5-2 ตันต่อไร่พรวนดินหรือย่อยดินคลุกเคล้าให้เข้ากันและควรใส่ปูนขาวเพื่อ ปรับสภาพดินด้วย ทำการยกร่องแบบร่องปลูกข้าวโพดหวานเพื่อจะปลูกบนสันร่อง
3. การปลูก ใช้ ระยะปลูกระหว่างต้น 30-50 เซนติเมตรระหว่างแถว 100 เซนติเมตรขุดหลุมบนสันร่องตามระยะปลูกใช้ท่อนพันธุ์วางทำมุมกับพื้นประมาณ 40-60 องศา ลึกลงไปในดินประมาณ 8-10 เซนติเมตรกลบดินด้วยดินผสมหรือดินละเอียดรดนํ้าให้ชุ่ม
4.การให้นํ้าระยะแรกที่ปลูกต้องให้นํ้าจนกว่าจะติดหรือเจริญเติบโตดีแล้วสามารถงดการให้นํ้าได้
เพราะมันเทศเป็นพืชทนแล้งได้ดีและควรงดการไห้นํ้าก่อนการเก็บเกี่ยวประมาณ 3-4 สัปดาห์เพื่อสะดวกในการขุดหัว
5. การใส่ปุ๋ย ครั้ง แรกใส่รองก้นหลุมใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 10-10-20 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ครั้งที่ 2 เมื่อต้นมันอายุได้ประมาณ 15 วัน และครั้งที่ 3 เมื่อมันอายุได้ 30 วันอัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ตามความอุดมสมบูรณ์ของดินแล้วพรวนดินกลบโคน
7. การเก็บเกี่ยว อายุการเก็บเกี่ยวหัวมันเทศประมาณ 90-150 วันแล้วแต่พันธุ์ที่ปลูกสังเกตจากผิวต้นบริเวณโคนต้นมันเทศจะแตกแยกออกเป็น รอยหรือทดลองขุดดูสัก 2-3 ต้นใช้มีดตัดหัวมันเทศถ้าแก่เต็มที่รอยตัดจะมียางไหลซึมออกมาและแห้งไปอย่างรวดเร็ว การขุดต้องระมัดระวังอย่าให้บอบชํ้าหรือมีรอยแผล นำหัวที่ขุดมาไปผึ่งลมให้ดินที่ติดมาแห้งและหลุดร่วงไป ทำความสะอาด คัดขนาดบรรจุถุงรอการจำหน่าย
8. โรค โรคใบจุด โรคหัวเน่าควรฉีดพ่นด้วย มาเน็บ หรือรอยตัดที่หัวหรือแผลทาด้วยนํ้าปูนใสหรือบอร์โดมิกซ์เจอร์
9. แมลง ได แก่ ด้วงงวงมันเทศ หนอนชอนใบมันเทศควรฉีด พ่นด้วยคาร์โบซัลแฟนหรือใช้รองก้นหลุม ด้วยคาร์โบซัลแฟน หรือคาร์โบฟูรานและฉีดพ่นด้วย อะบาเม็กติน

ขอบคุณแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม :

มันเทศและคุณค่าทางอาหาร







เมนูอาหารมันเทศ







ประโชชน์ดี ๆ 8 ข้อ ของมันเทศ







มันเทศ มันไทย







ขนมไข่นกกระทา จากมันเทศ







สูตรมันเทศทอด







มันเทศทำขนมรังนก







มันเทศไทย อร่อย คุณค่าสูง








การปลูกมันเทศ ที่ญี่ปุ่น








เทคนิคการปลูกมันเทศให้หัวดก








การปลูกมันเทศหลังฤดูทำนาปี







การปลูกมันเทศพันธ์ดีสร้างรายได้ดี








ปลูกมันเทศญี่ปุ่นสลับผักสวนครัวแบบพอเพียง

ผักไชยา คะน้าเม็กซิโก

ผักไชยา คะน้าเม็กซิโก



คะน้าเม็กซิโกผักโขมต้น หรือ ชายา (สเปนchaya) เป็นไม้พุ่มหลายปีชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์เดียวกับยางพาราและสบู่ดำ เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดในคาบสมุทรยูกาตันของประเทศเม็กซิโก[3] มีลำต้นอวบน้ำซึ่งจะคายน้ำยางขาวออกมาเมื่อถูกตัด ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่ โตเร็ว สามารถสูงได้ถึง 6 เมตร แต่มักถูกลิดกิ่งก้านออกให้สูงประมาณ 2 เมตรเพื่อให้เด็ดใบมาใช้ประโยชน์ง่ายขึ้น ใบกว้าง มีแฉกตั้งแต่ 3 แฉกขึ้นไป คะน้าเม็กซิโกเป็นผักกินใบยอดนิยมชนิดหนึ่งในตำรับอาหารเม็กซิโก กัวเตมาลา และอเมริกากลาง (บริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากตำรับอาหารมายา)


คะน้าเม็กซิโกเป็นแหล่งที่ดีของโปรตีนวิตามินแคลเซียมโพแทสเซียม และเหล็ก และยังเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ของสารต้านอนุมูลอิสระ[5] ที่จริงแล้ว ใบคะน้าเม็กซิโกยังมีระดับสารอาหารสูงกว่าผักใบเขียวชนิดใด ๆ ที่ปลูกบนดินถึง 2-3 เท่าอีกด้วย[6][7] อย่างไรก็ตาม ใบคะน้าเม็กซิโกดิบนั้นมีพิษเนื่องจากมีสารกลูโคไซด์ซึ่งจะปลดปล่อยสารพิษจำพวกไซยาไนด์ออกมา จึงจำเป็นต้องทำให้สุกก่อนรับประทาน โดยใช้เวลาประมาณ 15 นาทีในการทำให้สุกเพื่อลดฤทธิ์ของสารที่เป็นพิษให้อยู่ในระดับปลอดภัย[8] การต้มในภาชนะอะลูมิเนียมอาจทำให้น้ำต้มเป็นพิษและก่อให้เกิดอาการท้องร่วงได้[7]






คะน้าเม็กซิโกสามารถนำไปปรุงอาหารได้หลายอย่าง วิธีปรุงดั้งเดิมอย่างหนึ่งในเม็กซิโกและอเมริกากลางจะนำใบไปแช่น้ำแล้วต้มไฟอ่อนประมาณ 20 นาที จากนั้นเสิร์ฟกับน้ำมันหรือเนย นอกจากนี้ยังมีการนำใบที่หั่นและทำให้สุกแล้วไปคลุกข้าวรับประทานกับอาหารรสจัด, นวดผสมกับมันฝรั่งบดแล้วทอด, นวดผสมกับแป้งข้าวโพดแล้วจี่เป็นตอร์ตียาหรือนึ่งเป็นตามัล, ผสมกับมะเขือเทศ หัวหอม ผักชี และพริกหั่นลูกเต๋าทำเป็นเครื่องจิ้ม หรือนำใบอ่อนและยอดอ่อนที่หนานุ่มไปต้มแล้วปรุงรับประทานอย่างผักโขม เป็นต้น


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง :



เมนูอาหารผักไชยา