Container Icon

การเลือกเมล็ดฟักข้าวตัวเมีย

วิธีเลือกพันธุ์ฟักข้าวตัวเมีย






1. เมล็ดฟักข้าวมีทั้งตัวผู้และตัวเมีย  ตามคำบอกเล่าของเกษตรกรผู้ปลูกฟักข้าวการใหแบ่งลูกฟักข้าวออกเป็น 3 ส่วน ๆ หัวจะเป็นเมล็ดตัวเมีย ไม่มีหลักฐานทางวิชาการ
2. การเลือกเมล็ดว่าเมล็ดไหนเป็นตัวผู้หรือตัวเมียมีหลักดูดังนี้
เมล็ดฟักข้าวตัวผู้  ดูลักษณะจะเป็นเมล็ดใหญ่และสมบูรณ์ คาดว่าเป็นต้นตัวผู้ประมาณคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์
เมล็ดฟักข้าวตัวเมีย  ดูลักษณะจะเป็นเมล็ดเล็ก ๆ ดูแล้วเหมือนไม่ค่อยสมบูรณ์คาดว่าจะเป็นเมล็ดตัวเมียคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ประมาณ 60 – 70 เปอร์เซ็นต์ เพราะถ้าลูกหรือผลฟักข้าว เล็ก ๆ ไม่สมบูรณ์เมล็ดก็จะเล็ก ๆ ตามไปด้วย



บางประสบการณ์คัดโดยคำนวณเช่นนี้..




การคัดเลือกเม็ดพันธุ์



การคัดเลือกต้นพันธุ์ตัวเมีย






อ้างอิงที่มา :ฟักข้าวโคราช

ฟักข้าว สุดยอดอาหารสุขภาพ

ฟักข้าว สุดยอดอาหารสุขภาพ


 ”ฟักข้าว”เป็นพืชที่มีศักยภาพสูงสำหรับการเป็นพืชเพื่อสุขภาพ เนื่องจากมีคุณค่าทางสารอาหาร และมีประโยชน์ต่อสุขภาพสูง  โดยมีรายงานของต่างประเทศว่า ในเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวนั้น มีปริมาณเบต้าแคโรทีน มากกว่าแครอท 10 เท่า และมีสารไลโคพีนมากกว่ามะเขือเทศ 70 เท่า นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า สารไลโคพีนจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ โดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมาก
สำหรับฟักข้าวสายพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทยพบว่า มีปริมาณสารไลโคพีนมาก กว่ามะเขือเทศ 12-60 เท่า (พันธุ์จากทาง สวนลุงเชยพบว่ามีมากถึง 59.6 เท่า)

ลักษณะฟักข้าว และพื้นที่ที่ปลูกได้

    ฟักข้าว เป็นพืชไม้เลื้อยอยู่ในวงศ์แตงกวาและมะระ มีชื่อสามัญว่า Spring Bitter Cucumber เป็นพืชที่ขึ้นตามรั้วบ้าน หรือตามต้นไม้ต่าง ๆ มีมือเกาะคล้ายกับตำลึง ใบเป็นรูปหัวใจคล้ายใบโพธิ์ ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก 3-5 แฉก ดอกจะมีสีขาวแกมเหลือง ตรงกลางมีสีน้ำตาลแกมม่วง
                ผลของฟักข้าว 2 ลักษณะ คือ ทรงกลม และทรงรี ผลกลม ๆ จะยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร ส่วนผลรีจะยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร ถ้ายังเป็นผลอ่อนอยู่ ผลจะมีสีเขียวอมเหลือง มีหนามถี่ ๆ อยู่รอบผล แต่เมื่อสุกแล้ว ผลจะมีสีแดง หรือแดงอมส้ม และหากผ่าผลฟักข้าวออกดูข้างใน ก็จะเห็นเมล็ดจำนวนมากเรียงตัวกันคล้ายเมล็ดแตง แต่ละผลหนักประมาณ 0.5-2 กิโลกรัม
                  หลายคนที่อยู่ต่างจังหวัดอาจจะไม่คุ้นชื่อกับ “ฟักข้าว” แต่คุณอาจจะคุ้นกับชื่อที่เรียกกันในท้องถิ่น อย่างจังหวัดปัตตานี จะเรียก “ฟักข้าว” ว่า “ขี้กาเครือ” จังหวัดตาก จะเรียกว่า “ผักข้าว” จังหวัดแพร่ เรียก “มะข้าว” เป็นต้น

      เปรียบเทียบพื้นที่ปลูกประเทศเวียดนามกับไทย



      เวียดนามมีพื้นที่ภูเขาสูงมากกว่าไทยยังปลูกได้ดี ไทยเราก็ต้องปลูกได้..


      พันธุ์เวียดนามทีผลโตน้ำหนักถึง 5 กิโลกรัม ก็มี

      สรรพคุณของฟักข้าว

      1. ผลอ่อนและใบอ่อน ช่วยลดน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานได้ (ผลอ่อน,ยอดฟักข้าว)
      2. ช่วยบำรุงปอด ช่วยแก้ฝีในปอด (เมล็ด)
      3. ใบฟักข้าวมีรสขมเย็น มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้ตัวร้อนได้ (ใบ)
      4. สรรพคุณฟักข้าว รากช่วยถอนพิษไข้ (ราก)
      5. ช่วยขับเสมหะ (ราก)
      6. ช่วยแก้ท่อน้ำดีอุดตัน (เมล็ด)
      7. ช่วยขับปัสสาวะ (เมล็ด)
      8. ฟักข้าว สรรพคุณของใบช่วยแก้ริดสีดวง (ใบ)
      9. ใบนำมาตำใช้พอกแก้อาการปวดหลังได้ (ใบ)
      10. ช่วยแก้กระดูกเดาะ (ใบ)
      11. ช่วยแก้เข้าข้อ อาการปวดตามข้อ (ราก)
      12. เมล็ดแก่นำมาบดให้แห้ง ผสมน้ำมันหรือน้ำส้มสายชูเล็กน้อย นำมาใช้ทาบริเวณที่มีอาการอักเสบ อาการบวม จะช่วยรักษาอาการได้ และยังช่วยรักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ผดผื่นคันต่างๆ อาการฟกช้ำได้อีกด้วย (เมล็ดแก่)
      13. รากใช้ต้มดื่มช่วยถอนพิศทั้งปวง (ราก)
      14. ฟักข้าวสรรพคุณทางยา ใบช่วยถอนพิษอักเสบ (ใบ)
      15. ช่วยแก้พิษ แก้ฝี (ใบ)
      16. ช่วยแก้ฝีมะม่วง (ใบ)
      17. ฟักข้าวสรรพคุณ ใบช่วยแก้หูด (ใบ)
      18. เมล็ดฟักข้าว สามารถนำมาใช้แทนเมล็ดแสลงใจได้ (โกฐละกลิ้ง

        ประโยชน์ของฟักข้าว

        1. ฟักข้าว มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
        2. ช่วยในการชะลอวัย ป้องกันการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ปัญหาผิวแห้งกร้าน ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด
        3. ฟักข้าวมีเบต้าแคโรทีนสูงกว่าแครอท 10 เท่า และมีไลโคพีนมากกว่ามะเขือเทศ 12 เท่า !
        4. ประโยชน์ ฟักข้าวช่วยบำรุงและรักษาสายตา ป้องกันโรคเกี่ยวกับดวงตา โรคต้อกระจก ประสาทตาเสื่อม ตาบอดตอนกลางคืน (เยื่อเมล็ด)
        5. ช่วยป้องกันโรคหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด
        6. ช่วยป้องกันและช่วยยับยั้งการเกิดลิ่มเลือดในเส้นเลือด
        7. ช่วยป้องกันเส้นเลือดในสมองแตก ซึ่งเป็นสาเหตุของการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
        8. งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า ฟักข้าวมีโปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อเอดส์ (HIV) และยังช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย ซึ่งได้ทำการจดสิทธิบัตรในประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
        9. ประโยชน์ของฟักข้าว กับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ฟักข้าวมีฤทธิ์ในการต่อต้านมะเร็ง ไวรัส ช่วยยับยั้งระดับน้ำตาลในเลือด และยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน
        10. ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร และมะเร็งปอด
        11. งานวิจัยของมหาวิทยาลับฮานอย พบว่า น้ำมันจากเยื่อหุ้มเมล็ดของฟักข้าวมีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งตับ
        12. ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้
        13. ช่วยในการขับเสมหะ ใช้กลั้วคอช่วยลดอาการเจ็บคอ หรืออาการอักเสบที่ลำคอ
        14. ฟักข้าวเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะพักฟื้น หรือผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ มีโรคประจำตัวหรือร่างกายอ่อนแอ
        15. รากฟักข้าว ใช้แช่น้ำสระผม ช่วยทำให้ผมดกดำขึ้น แก้ปัญหาผมร่วง แก้อาการคันหนังศีรษะ รังแค และช่วยฆ่าเหาได้อีกด้วย (ราก)
        16. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ ได้ทำการศึกษาร่วมกัน ในเรื่องของการนำน้ำมันเยื้อหุ้มเมล็ดของฟักข้าว มาพัฒนาเป็นเครื่องสำอางสูตรลดเลือนริ้วรอย ซึ่งก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จนได้รับรางวัล “IFSCC Host Society Award 2011″ จากงานประชุมสมาพันธ์นักเคมีเครื่องสำอางนานาชาติ
        17. ผลอ่อนฟักข้าว ใช้ทำเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น นำไปต้มหรือนึ่งจิ้มกินกับน้ำพริก หรือนำไปใส่แกงต่างๆ แกงส้มลูกฟักข้าว เป็นต้น
        18. ยอดฟักข้าวอ่อน ใช้ทำเป็นอาหารก็อร่อย (กลิ่นจะคล้ายๆกับยอดหรือใบมะระ) เมนูฟักข้าว เช่น แกงเลียง แกงส้ม ผัดไฟแดง คั่วแค ใช้ลวกหรือต้มกินกับน้ำพริก ฯลฯ
        19. ฟักข้าว สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง เช่น น้ำฟักข้าว ฟักข้าวแคปซูล เป็นต้น

      การปลูกฟักข้าว

      อันดับแรกเราต้องเพราะเมล็ด หรือ ปักชำ หรือทับเถาว์ก่อนคะ หลังจากนั้นจึง ทำค้างให้เกาะ พอมีดอกเราก็ช่วยผสมเกสรช่วยให้เขาติดผลคะ หรือ จะปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติก็ได้คะ แต่อัตราการติดผลจะน้อยมากถ้าเราไม่ช่วย 

      เมล็ดฟักข้าว
      วิธีการเพาะเมล็ดฟักข้าว

      1. แช่น้ำทิ้งไว้เลยค่ะ 1 คืน ขึ้นไป เมล็ดจะอิ่มน้ำ หรือ จะใช้วิธีกะเทาะเปลือกแข็งๆออก เพื่อช่วยให้เขางอกได้ง่ายและเร็วขึ้นเพราะเปลือกฟักข้าวจะแข็งมากคะ โดยส่วนตัวแล้วจะเอาเมล็ดฟักข้าวมาแช่น้ำยาเร่งรากก่อนคะ หรือ แช่ในน้ำขี้หมูแทนก็ได้ถ้าเราไม่มีน้ำยาเร่งราก แช่ไว้ประมาณ 20-45 นาที
      2. ใส่เมล็ดลงบนดินเพาะปลูกที่โปร่งเปียกชุ่ม  แต่ไม่แฉะ โดยใช้ดินมาทับเมล็ดประมาณ2-3เซ็น
      3. รดน้ำตลอดไม่ปล่อยให้ดินแห้ง แต่ระวังไม่ให้แฉะ(เทคนิค คือ ดินเพาะควระบายน้ำดี ป้องกันการเน่าได้)
      4. พอเมล็ดแตกใบจริงออกมาสักสี่ใบก็เอาไปปลูกลงแปลงได้คะ
      เมล็ดฟักข้าว กะเทาะเมล็ดฟักข้าว
      ฟักข้าวเพาะจากเมล็ด
      วิธีแยกราก ปักชำ หรือ ทับเถาว์

      วิธีนี้เราจะสามารถเลือกได้ว่าอยากได้ต้นฟักข้าวตัวผู้หรือตัวเมีย คะซึ่งผลที่ได้ คือ เรากำหนดเพศได้ ฟักข้าวออกดอกติดผลเร็วไม่ต้องรอนานคะ ทำง่ายๆ คะถ้าอยากได้เพศไหนก็นำเถาว์ของต้นเพศนั้นมาชำ ด้วยเถาว์หรือ ยอดก็ได้ หรือ จะทับเถาว์ก็เลือกได้เช่นกัน ยิ่งถ้าแยกรากจะทำได้เร็วกว่าแต่จะมีผลกระทบต่อต้นพรรณเล็กน้อย หรือ ถ้าไม่ระวังต้นพรรณอาจตายได้  ทุกครั้งก่อนเอาเมล็ด หรือ ต้นที่ได้มาจากการชำ หรือวิธีใดก็แล้วแต่ปลูกลงดิน ท่านควรแช่น้ำยาเร่งรากก่อน และอย่าลืมเอาปูนข้าวหว่านเพื่อปรับสภาพดินเตรียมดินก่อนนะคะ
      ฟักข้าวจากการชำ ทำที่ไต่ให้ฟักข้าว
      การทำให้ฟักข้าวติดผลเยอะ

      นอกจากการช่วยผสมเกสรช่วยแล้ว จากประสบการณ์การปลูกฟักข้าวและการหาความรู้เพิ่มเติม ตลอดจนแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้ปลูกด้วยกันแล้ว พบว่า
      การปลูกฟักข้าวถ้าไม่ทำค้างให้ฟักข้าวไต่ ฟักข้าวจะติดลูกน้อย และลูกจะเน่าง่ายถ้าปล่อยให้ติดผลบนดิน
      ถ้าท่านไม่หมั่นตัดแต่งกิ่ง ปล่อยให้เถาว์แตกหน่อแตกใบหนาแน่นเกินไป ฟักข้าวก็จะติดผลน้อยเช่นกัน
      ถ้าท่านปล่อยให้ฟักข้าวสุกคาต้นไม่ได้เก็บไปใช้ประโยชน์ และไม่ได้ตัดกิ่งที่ติดลูกเก่าออก ฟักข้าวจะไม่ติดลูกใหม่คะ
      ลูกฟักข้าว

      การผสมเกสรฟักข้าว (ช่วยให้ฟักข้าวติดผล)

      ก่อนที่เราจะไปผสมเกสรให้กับฟักข้าว ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักและแยกแยะให้ออกว่าดอกฟักข้าว ดอกไหนตัวผู้ ดอกไหนตัวเมีย ดูจากภาพประกอบนะคะ
      การดูดอกฟักข้าว

      เมล็ดพันธุ์และต้นพันธุ์
      เมล็ดฟักข้าว

      เมล็ดฟักข้าวขาย

      เมล็กฟักข้าวขาย

      ต้นพันธุ์ฟักข้าว
      ฟักข้าวจากการชำ

      ขายฟักข้าว

      ขายฟักข้าว2

      การเก็บผลฟักข้าวให้ได้สารอาหารสูงสุด

                  เราควรเก็บลูกฟักข้าวตอนที่มันสุกเต็มที่ หรือมีสีแดงทั้งลูก และหลังจากตัดมาแล้ว ให้นำมาผึ่งลมในร่ม ต่ออีกไม่น้อยกว่า 3 วัน เพราะเวลานี้จะทำให้สารอาหารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และถ้าเก็บไว้ราวๆ 6 วัน จะมีสารอาหารเพิ่มขึ้นกว่า 60% เลยทีเดียว แต่ถ้าเก็บเกิน 10 วันอาจมีการเน่าเกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้สารลดลง 




      ขอบคุณที่มาข้อมูลดี ๆ :




      ชะพลู

      ชะพลู 

      ปลูกชะพลู ดูแลง่าย ได้ทั้งอาหารและยา ไร้โรคและแมลงรบกวน






      ชะพลู ชื่อภาษาอังกฤษ : WildbetalLeafbush มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Piper sarmentosumRoxb. สำหรับชื่ออื่นๆ ภาคเหนือจะเรียกว่า "ผักพลูนก" "พลูลิง" "ปูลิง" "ปูลิงนก" หรือ "ผักปูนา" ทางภาคกลางจะเรียกว่า "ช้าพลู" สำหรับภาคอีสานก็จะเรียกกันว่า "ผักแค" "ผักอีเลิด" "ผักนางเลิด" และสำหรับภาคใต้จะเรียกกันว่า "นมวา"

      ลักษณะของต้นชะพลู
      ชะพลูเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มักขึ้นทั่วไปตามที่เปียกชื้น ปลูกขึ้นง่าย เจริญเติบโตได้ดี มีลักษณะเป็นเถาเลื้อยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ลำต้นแบ่งเป็นข้อโดยตามข้อจะมีรากช่วยในการยึดเกาะ มีกลิ่นเฉพาะตัวใบมีสีเขียวสดเป็นมัน คล้ายกันกับใบ พลูที่ใช้เคี้ยวกินกับหมาก ฐานใบกว้าง ปลายใบแหลมคล้ายรูปหัวใจหรือใบโพธ์เล็กน้อย เห็นเส้นใบชัดเจน ใบมีกลิ่นฉุน มีรสเผ็ดเล็กน้อย ดอกสีขาวมีขนาดเล็กจะออกเป็นช่อ

      สรรพคุณของใบชะพลู
      ดอก : ทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้
      ราก : ขับเสมหะให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง
      ต้น : ขับเสมหะในทรวงอก
      ใบ : มีรสเผ็ดร้อน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ในใบชะพลูมีสาร เบต้า-แคโรทีน สูงมาก

      ข้อควรระวัง
      อย่างไรก็ตามใบชะพลูก็มีข้อควรระวังที่สำคัญนั่นคือ ไม่ควรกินใบชะพลูในปริมาณมากเกินไปเพราะมีสารออกซาเลต (Oxalate) ที่หากสะสมในร่างกายมาก ๆ จะทำให้เกิดนิ่วในไตได้ แต่หากเรารับประทานในจำนวนพอเหมาะเว้นระยะบ้างเชื่อกันว่าชะพลูจะช่วยปรับธาตุในร่างกายให้สมดุล

      ประโยชน์ของใบชะพลู

      ในใบชะพลูมีสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายของมนุษย์อย่างมาก คือ แคลเซียมและวิตามินเอซึ่งจะมีสูงเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีฟอสฟอรัส เหล็ก เส้นใย และสารคลอโรฟิล ส่วนสรรพคุณทางยานั้นช่วยบำรุงธาตุ แก้จุกเสียด การกินใบชะพลูมาก ๆ ชนิดที่เรียกว่า กินกันทุกวัน กินกันแทบทุกมื้อ เช่น ชาวบ้านภาคอีสานนั้น แคลเซียมที่มีในใบชะพลูจะเปลี่ยนเป็นแคลเซียมออกซาเลท ซึ่งถ้าสะสมมาก ๆ อาจกลายเป็นนิ่วในไตได้ แต่โดยทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวันก็ไม่มีใครกินชะพลูได้มากมายขนาดนั้น ถ้ากินใบชะพลูต้องกินร่วมกับเนื้อสัตว์ร่างกายจึงใช้แคลเซียมที่มีอยู่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

      1.ช่วยในการขับถ่ายเนื่องจากมีเส้นใยในปริมาณมาก (ใบ)
      2.เมนูใบชะพลู ก็ได้แก่ แกงคั่วไก่ใบชะพลู แกงคั่วหอยขมใบชะพลู หมูห่อใบชะพลู ไข่น้ำใบชะพลู ยำตะไคร้ใบชะพลู เมี่ยงปลาเผาใบชะพลู ผัดป่าใบชะพลู แกงอ่อมใบชะพลู ยำปลาทูใบชะพลู เป็นต้น
      3.ใบชะพลูมี เบต้าแคโรทีน ในปริมาณมากซึ่งช่วยบำรุงและรักษาสายตา ช่วยในการมองเห็น ป้องกันโรคตา  บอดตอนกลางคืน แก้โรคตาฟาง เป็นต้น (ใบ)
      4.ประโยชน์ของใบชะพลู ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระต่างๆ (ใบ)ชะพลู
      5.ช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง (ใบ)
      6.ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ด้วยการใช้รากประมาณ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวจนเหลือ 3 ใน 4 ถ้วยแก้วแล้วรับประทานครั้งละ 1 ส่วน 4 ถ้วยแก้ว (ราก,ทั้งต้น)
      7.ช่วยบำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ (ราก)
      8.ช่วยแก้อาการบิด ด้วยการใช้รากประมาณครึ่งกำมือ ใช้ผลประมาณ 3 หยิบมือ นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวจนเหลือ 1 ถ้วยแก้ว แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1 ส่วน 4 ถ้วยแก้ว (ราก)
      9.ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน และช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน (ใบ)
      10.ช่วยทำให้เสมหะงวดและแห้ง (ดอก,ราก)ใบชะพลู
      11.สรรพคุณของใบชะพลู มีรสเผ็ดร้อน ช่วยทำให้เจริญอาหารมากยิ่งขึ้น (ใบ)
      12.สรรพคุณใบชะพลู ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ชะพลูสดทั้งต้นประมาณ 7 ต้น นำมาล้างน้ำให้สะอาด ใส่น้ำพอท่วมแล้วต้มให้เดือดสักพัด แล้วนำมาดื่มเป็นชา (ทั้งต้น)
      13.ช่วยในการขับเสมหะทางอุจจาระ (ราก)
      14.ช่วยขับลมในลำไส้ ด้วยการใช้รากประมาณ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวจนเหลือ 3 ใน 4 ถ้วยแก้วแล้วรับประทานครั้งละ 1 ส่วน 4 ถ้วยแก้ว (ดอก,ราก)
      15.สรรพคุณชะพลู ช่วยในการขับเสมหะบริเวณทรวงอก ลำคอ (ใบ,ราก,ต้น)
      16.รากชะพลูเป็นหนึ่งในส่วนผสม ของตำรับสมุนไพรพิกัดยาตรีสาร ซึ่งช่วยบำรุงธาตุ บำรุงโลหิต แก้คูถเสมหะ





      อ้างอิงที่มา :คลิ๊ก