Container Icon

ผักเชียงดาเป็นอาหารและยาเลิศ

ผักเชียงดา



                  ปลูกผักเชียงดา ได้อาหารและสมุนไพรอย่างเลิศ..มีข้อมูลทางการศึกษาและวิจัยที่เชื่อถือได้ นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าผักเชียงดามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดมาตั้งแต่ปี 1926 และในปี 1981 มีการยืนยันผลการลดน้ำตาลในเลือดและเพิ่มปริมาณอินซูลินในสัตว์ทดลองและในคนที่เป็นอาสามัครที่แข็งแรง พบว่าผักเชียงดาไปฟื้นฟูเบต้าเซลของตับอ่อน (อวัยวะที่สร้างอินซูลิน) ทำให้ผักเชียงดาสามารถช่วยคุมน้ำตาลได้ในคนเป็นเบาหวานทั้งชนิด type 1และ type 2 และตั้งแต่ในปี 1990 เป็นต้นมามีการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบประสิทธิภาพ กลไกออกฤทธิ์ ในการลดน้ำตาลในเลือดและมีการศึกษาความเป็นพิษอย่างมากมาย ยกตัวอย่างเช่น การศึกษา ในมหาวิทยาลัยมัทราส ในประเทศอินเดียศึกษาผลของผักเชียงดาในหนูโดยให้สารพิษที่ทำลายเซลเบต้าในตับอ่อนของหนู พบว่าหนูที่ได้รับผักเชียงดาทั้งในรูปของผงแห้งและสารสกัดมีระดับน้ำตาลในเลือดกลับมาเป็นปกติภายใน 20-60 วันระดับอินซูลินกลับมาเป็นปกติ และจำนวนของเบต้าเซลเพิ่มขึ้น 




ผักเชียงดา ราชินี ผักพื้นบ้านของชาวเหนือ
             ผักเชียงดา ชื่ออื่นๆ ผักเซี่ยงดา ,ผักเซ่งดา, ผักว้น, ผักม้วนไก่, ผักเซ็ง, ผักจินดา ( GYMNEMA INODORUM DECNE ) อยู่ในวงศ์ ACLEPIADACEAE
             บำรุงตับอ่อน รักษาเบาหวาน  ผักเชียงดาถูกใช้เป็นยารักษาเบาหวานในอินเดียและประเทศในแถบเอเชียมานานกว่า 2000 ปีแล้ว มีสารสำคัญคือ gymnemic acid
             ในภาษาฮินดู Gurmar แปลตรงตัวว่า ผู้ฆ่าน้ำตาล
             ประเทศญี่ปุ่น ใช้ยอดอ่อนของผักเชียงดาที่นำเข้าจากประเทศไทยผลิตเป็น ชาชงสมุนไพร (Herbal tea)
ลักษณะเชียงดา
            ผักเชียงดา เป็นไม้เลื้อยไม้เถา ส่วนต่างๆมีน้ำยางใส ออกใบเดี่ยวสลับ ดอกช่อ ออกที่ง่ามใบ ดอกเล็กๆสีเหลืองหรือเหลืองอมส้มหรือเขียว ผลรูปหอก พบขึ้นตามป่าดิบแล้งทางภาคเหนือ

การขยายพันธุ์ 
           ใช้ในการปักชำกิ่ง นิยมปลูกตามริมรั้ว หรือให้ขึ้นเลื้อยไม้อื่น...




               ผักเชียงดามีคุณค่าทางโภชนาการสูง ในยอดอ่อนและใบอ่อนมีวิตามินซี เบต้าแคโรทีน และสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง นอกจากนี้ผักเชียงดายังมี กรดจิมนีมิก (gymnemic acid) ที่มีรูปร่างโมเลกุลเหมือนน้ำตาลกลูโคส เวลาเราทานผักเชียงดาเข้าไป ลำไส้จะดูดซึมกรดจิมนีมิกเข้าสู่ร่างกาย(กระแสเลือด) ได้ดีกว่าน้ำตาล มีผลทำให้การดูดซึมน้ำตาลลดลง นอกจากลดการดูดซึมน้ำตาลแล้ว ผักเชียงดายังช่วยเพิ่มปริมาณอินซูลิน(สารที่ควบคุมป ริมาณน้ำตาลในเลือด)ให้สูงขึ้น ด้วยคุณสมบัติทั้งสองอย่างนี้จึงทำให้ผักเชียงดาสามา รถลดน้ำตาลในเลือดได้และดีกว่ายาแผนปัจจุบันที่ใช้รั กษาโรคเบาหวานที่ชื่อ ไกลเบนคาไมด์ เสียอีก 


สรรพคุณทางยาที่มาพร้อมอาหาร
      ข้อมูลวิจัยในไทยครับ 
  1. ช่วยบำรุงและปรับสภาพของตับอ่อนให้เป็นปกติ 
  2. ช่วยชำระล้างสารพิษและฟื้นฟูตับอ่อนให้แข็งแรง 
  3. ช่วยบำรุงและซ่อมแซมหมวกไตและระบบการทำงานของใต 
  4. ช่วยปรับระดับอินซูลินในร่างกายให้อยู่ในภาวะที่สมดุล 
  5. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้มีภาวะน้ำตลาในเลือดสูง(โรคเบาหวาน) 
  6. ช่วยควบคุมปริมาณไขมัน(cholesterol)ในร่างการให้สมดุล 
  7. บรรเทาอาการภูมิแพ้และหอบหืด 
  8. บรรเทาอาการปวดข้อจากโรคเก๊าต์ 
  9. แก้ร้อนในกระหายน้ำ 

ข้อมูลเพิ่มเติม





สรรพคุณผักเชียงดา
  1. ผักเชียงดามีสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน โรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ โรคต้อกระจกในผู้สูงอายุ ช่วยป้องกันการแตกของเม็ดเลือดแดง และการเสียของ DNA ข้ออักเสบรูมาตอยด์และเก๊าท์
  2. ผักเชียงดามีสารออกฤทธิ์ที่ช่วยควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ[2] และชาวบ้านยังนิยมกินผักเชียงดาหน้าร้อน เพื่อช่วยลดความร้อนในร่างกายอีกด้วย
  3. หมอยาพื้นบ้านในจังหวัดจะใช้ผักเชียงดาเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อยอันเนื่องมาจากการทำงาน[7]
  4. ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  5. ช่วยชำระล้างสารพิษตกค้างในร่างกาย
  6. ใช้รักษาเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ปรับระดับอินซูลินในร่างกายให้สมดุล ช่วยสร้างเนื้อเยื่อใหม่ให้ตับอ่อน ด้วยการนำผักเชียงดามาปรุงเป็นอาหารรับประทาน จากการศึกษาพบว่า การรับประทานผงผักเชียงดาก่อนอาหารประมาณวันละ 8-12 กรัม (แบ่งการรับประทานเป็น 3 มื้อ มื้อละ 4 กรัม) จะสามารถควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานให้เป็นปกติได้ หรือจะรับประทานเป็นผักสดอย่างน้อยวันละประมาณ 50-100 กรัม หรือ 1 ขีด ก็สามารถช่วยป้องกันและบำบัดโรคเบาหวานได้เช่นกัน
  7. ช่วยควบคุมและปรับระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ
  8. ช่วยลดและควบคุมปริมาณไขมันในร่างกายให้สมดุล
  9. ผักเชียงดาสามารถนำไปใช้ลดน้ำหนักได้ เพราะผักชนิดนี้สามารถช่วยให้มีการนำน้ำตาลไปเผาผลาญมากกว่าการนำไปสร้างเป็นไขมันสะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีรายงานว่าผักเชียงดาสามารถช่วยลดน้ำหนักได้จริง
  10. ผักเชียงดามีสรรพคุณช่วยบำรุงสายตา แก้ตาฝ้าฟาง มีอาการเคืองตา เนื่องจากผักชนิดนี้มีวิตามินสูง[1]
  11. ช่วยแก้หูชั้นกลางอักเสบ (ต้น)
  12. ใบนำมาตำให้ละเอียดใช้พอกบริเวณกระหม่อมเพื่อรักษาไข้ อาการหวัด ปรุงเป็นยาลดไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ หรือนำไปประกอบในตำรายาแก้ไข้อื่น ๆ
  13. ผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ (ผล)
  14. ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้และหอบหืด
  15. ต้นสรรพคุณเป็นยาแก้หลอดลมอักเสบ แก้ไอ แก้ปอดอักเสบ (ต้น)
  16. ช่วยแก้โรคบิด (ต้น)
  17. การรับประทานผักเชียงดาใบแก่ จะช่วยทำให้ระบบขับถ่ายในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น และชาวบ้านยังนิยมนำมาแกงรวมกับผักตำลึงและยอดชะอมเพื่อใช้รักษาอาการท้องผูกอีกด้วย
  18. ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร (ต้น)
  19. ต้นแห้งหรือต้นสดใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ต้น)
  20. ช่วยขับระดูของสตรี
  21. ช่วยฟื้นฟูตับอ่อนให้แข็งแรง ช่วยบำรุงและปรับสภาพการทำงานของตับอ่อนให้เป็นปกติ
  22. ช่วยบำรุงและซ่อมแซมหมวกไต และระบบการทำงานของไตให้สมบูรณ์
  23. ช่วยแก้อาการบวมน้ำ (ต้น)
  24. ใบใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนังทุกชนิด ทำให้น้ำเหลืองแห้ง และแก้กามโรค
  25. ใบสดใช้ตำพอกฝีหรือหัวลำมะลอก งูสวัด เริม ถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน
  26. หัวมีรสมันขม มีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษอักเสบ พิษร้อน ช่วยดับพิษกาฬ แก้พิษไข้เซื่องซึม และแก้เริม (หัว)
  27. ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อจากโรคเก๊าท์
  28. ในบ้านเรามีการใช้ผักเชียงดาเป็นทั้งยาสมุนไพรและเป็นอาหารเพื่อรักษาโรคโดยกลุ่มหมอเมืองทางภาคเหนือมานานแล้ว กล่าวคือ การใช้เป็น “ยาแก้หลวง” (คล้ายยาครอบจักรวาลของแผนปัจจุบัน) ถ้าคิดไม่ออกก็บอกผักเชียงดา เช่น แก้เบาหวาน เวียนศีรษะ ปวดศีรษะตัวร้อน แก้ไข้สันนิบาต (ชักกระตุก) แก้หวัด ภูมิแพ้ หอบหืด แก้แพ้ยา แพ้อาหาร ปวดข้อ เป็นยาระบาย ช่วยระงับประสาท หรือเมื่อมีอาการคิดมากหรือจิตฟั่นเฟือน ฯลฯ ส่วนการนำมาใช้เป็นยาก็ให้นำผักเชียงดามาสับแล้วนำไปตากแห้งบดเป็นผง ใช้ชงเป็นชาดื่ม หรือจะนำมาบรรจุลงในแคปซูลก็ได้
หมายเหตุ : การนำมาใช้เป็นยาในหน้าแล้งให้เอารากมาทำยา ส่วนในหน้าฝนให้ใช้ส่วนของเถาและใบ โดยนำมาสับตากแห้งแล้วบดให้เป็นผง ใช้ชงเป็นชาดื่ม




































ขอบคุณข้อมูลศึกษาเพิ่มเติม :  คลิกไปดูต่อไป..

เตาถ่านบริสุทธิ์และกลั่นน้ำส้มควันไม้

เตาถ่านบริสุทธิ์กลั่นน้ำส้มควันไม้

                 ปัจจุบันมีพืชผักจากต่างประเทศจำนวนมากหลั่งไหลเข้าไทย ถึงเดือนละนับพันตัน และยิ่งจะมีโอกาสเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากราคาพืชผักของเกษตรกรไทยไม่มีพื้นที่เป็นของตนเองอย่างแท้จริง เรียกว่ากำหนดราคาเองไม่ได้ ต้นทุนไม่คุ้ม ราคาขายจากสวนถูก แต่ไปแพงที่ตลาดกลางหรือร้าน่ขายปลีก การผลิดไม่มีระบบที่เพียงพอต่อความต้องการ พ่อค้ารับซื้อตลาดคนกลางทำกำไรมากว่าผู้ปลูก แต่..ผักพืชต่าง ๆที่นำเข้าเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ ปนเปื้อนสารเคมี มีพิษสูงกว่าของไทยแน่นอน
                ฉะนั้น เกษตรกรไทย หรือคนไทยต้องเรียนรู้ที่จะเพาะปลูกและใช้แนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้มแข็ง ปลอดภัยและมั่นคงทางอาหารอย่างแท้จริง  บทความนี้ขอเสนอเตาผลิตถ่ายปลอดสารพิษ ได้ถ่านคุณภาพไม่ทำให้หม้อดำ ไร้ควัน ไฟแรง และได้น้ำส้มควันไม้มาใช้ปราบศัตรูพืชผักได้อย่างดี และดีต่อสุขภาพของผู้ปลูกและผู้บริโภคด้วย..




ข้อมูลสนับสนุนบทความนี้..















ต้นเอกมหาชัย ไม้มหัศจรรย์

ต้นเอกมหาชัย 


             นับเป็นไม้มหัศจรรย์ ให้คุณประโยชน์รอบด้าน สูงค่ามหัศจรรย์กว่าไม้อื่นใด แถมอายุยาวนาน 200-300 ปี ควรช่วยกันปลูก อนุรักษ์วิจัยต่อยอดให้ดียิ่ง ๆขึ้นต่อไป..


          เอกมหาชัย.. ทรงต้นสวย  ใบทึบ เหมาะในการปลูกให้ร่มเงา  ใบและเนื้อไม้มีสรรพคุณทางยาสูง   เนื้อผลมีน้ำเชื่อมทำเเอทานอล    เมล็ดมีเปอร์เซนต์น้ำมันคุณภาพสูงใช้บริโภคได้เทียบเท่าน้ำมันมะกอก   กากเมล็ดที่หีบน้ำมันแล้วนำไปทำปุ๋ย  เนื้อไม้นำไปทำเฟอร์นิเจอร์  ฯลฯ 




ภาพต้นเอกมหาชัย   ถ่ายจากศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น

สรรพคุณ

          คุณประโยชน์ของต้นไม้นี้ ไปรับทราบมาจากการสัมมนา พืชพลังงานทางเลือกใหม่  ที่สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดขอนแก่นจัดขึ้นเมื่อเดือนที่แล้ว  วิทยากรที่นำเสนอต้นไม้นี้คือ อาจารย์แฉล้ม  มาศวรรณาแห่งศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น  ภาพส่วนใหญ่ดิฉันนำมาจากไสลด์ของท่าน เว้นแต่ 2 ภาพข้างบนไปถ่ายเองค่ะ..

     ผู้อำนวยการคนแรกของศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่นนำมาปลูกแล้วตั้งชื่อภาษาไทย.. เอกมหาชัย..ชื่อภาษาอังกฤษ คือ Raintree  หรือ Paradise  tree หรือ Bitter  wood  ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Simarouba  gauca   

  • เป็นไม้ยืนต้นให้ผลเมื่ออายุ  4-6 ปี  ให้ผลนานถึง 50-70 ปี

  • ติดผลในเดือนมีนาคม - เมษายน ของทุกปี

 

              

ภาพต้นเอกมหาชัยกำลังติดผล เต็มต้น


  • เมื่อต้นโตเต็มที่ให้ผล  15 - 20 กิโลกรัมต่อต้น

  • เนื้อผลมีน้ำตาล  11 - 16 เปอร์เซนต์  ใช้ทำเครื่องดื่ม   น้ำหมักชีวภาพ และเอทานอล

  • เนื้อในมีเมล็ดที่มีน้ำมันถึง  55 - 60 เปอร์เซนต์ เป็นน้ำมันคุณภาพดีไม่มีโคเรสเตอรอล เหมือนน้ำมันมะกอก  (ต้นอายุ 7-8 ปี ให้น้ำมัน 128-144 กิโลกรัมต่อไร่)

       




      

สรรพคุณ มีประโยชน์ทุกส่วน

  1. ผล 

        - ใช้ผลิตเอทานอล   ที่ประเทศอินเดียซื้อขายกันราคากิโลกรัมละ 5 บาท   ปลูก 1 ไร่ให้ผลผลิต  1.28 ตัน นำไปผลิตเอทานอลได้  1920 ลิตร

        - ใช้ทำน้ำเชื่อม ผสมในเครื่องดื่ม

        - ใช้ทำน้ำหมักชีวภาพ 

   2. เมล็ด

        - หีบได้น้ำมันดิบนำไปผสมดีเซล  นำไปทำ trans-esterified ได้ดีเซลชีวภาพ 100 เปอร์เซนต์  นำไปทำเนยเทียม หรือโกโก้เทียม 

       - กากเมล็ดที่หีบน้ำมันแล้ว ประมาณ 160 -240 กิโลกรัมต่อไร่  นำไปทำปุ๋ย

  3. สรรพคุณทางยา

      - ใบ  เนื้อไม้  เปลือกลำต้น  มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อโรค อะมีบา  โปรโตซัว  แบททีเรีย  ไวรัส  เชื้อรา มะเร็ง  ทำให้ใช้ทำยาแก้ไข้  หวัด  ปวดท้อง  บิด  ท้องเสีย  ท้องร่วง  ลดอาการเจ็บปวด  ห้ามเลือด  สมานแผล  เพิ่มเม็ดเลือดแดง  ลดน้ำตาลในเลือด

      - ใบ  ใช้แก้โรครูมาติซึ่ม (ปวดตามข้อ) หรือใช้ทำครีม ทาแก้ปวด  แก้ฟกซ้ำ/คัน

      - กลุ่มสารเคมีหลักที่เป็นตัวยาในเอกมหาชัยคือ Quassinoids  ที่ประกอบด้วย ailanthinone  glaucaru  binone  holacanthon  ต่อต้านเชื้อมาเลเรีย  เซลล์มะเร็ง  มะเร็งเม็ดเลือดขาว  มะเร็งต่อน้ำเหลือง  เนื้องอก

   4 ลำต้น

        - เจริญเติบโตเร็ว ปีละ 2 เมตร ร่มรื่น เหมาะ ปลูกสองข้างทางเพื่อให้ร่มเงา  ปรับภูมิทัศน์ วัว/ควายไม่กินเพราะใบขม

       - เนื้อไม้มีสีน้ำตาลอ่อน  สวย  ทนแมลง  ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์  ของเล่นเด็ก  ไม้ขีดไฟ  กระดาษ

         

            เป็นไม้ที่น่าสนใจมาก ใครมีที่ทาง น่าจะปลูกไว้.. ติดต่อขอต้นกล้าได้ที่อาจารย์แฉล้ม   มาศวรรณา ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น ท่านกำลังส่งเสริม  ล่าสุดได้ทราบว่าส่งไปปลูกป่าที่จังหวัดบุรีรัมย์หลายพันไร่... อยู่ในมหาวิทยาลัยขอนแก่นก็มีนับร้อยต้น..(ตรงข้ามกับอุทยานเกษตรไปทางโรงเรียนสาธิตฯ)

  • ระยะปลูกที่แนะนำคือ   5 x 5 เมตร

     ของดีที่คนอีกมากมายไม่รู้ ต้องส่งเสริมป่า สร้างสีเขียว โอโซนให้โลกเรา โปรดบอกต่อเป็นวิทยาทานให้มากยิ่งไป...


ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม : อ้อ  ขอนแก่น



ชมคลิปแนะนำ... 



หว้า

หว้า


               หว้า (อังกฤษJambolan plum, Java plumชื่อวิทยาศาสตร์Syzygium cumini) เป็นไม้ประเภทไม้ยืนต้น มีถิ่นกำเนิดจากอินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยพบทั่วไปตามป่าดิบชื้นและป่าผลัดใบ

 หว้ามีทั้งพันธุ์ลูกใหญ่ และลูกเล็ก  

        หากจะปลูกเพื่ออาหารและการค้าต้องเลือกให้ดี หากจะปลูกเพื่ออนุรักษ์เป็นป่า และอาหารสัตว์ป่าก็พันธุ์ผลเล็ก มีแจกฟรีตามสถานีเพาะพันธุ์กล้าไม้โครงการป่าไม้ต่าง ๆ

“หว้า” มีคุณค่าทางโภชนาการคือ ในผลหว้าจะประกอบด้วย น้ำตาล วิตามินซี มีแคลเซียม(สูง) และเหล็ก
ส่วนในเมล็ดหว้าจะมีสารอัลคาลอยด์ น้ำมันหอมระเหย ฟอสฟอรัส และแคลเซียม



สรรพคุณของหว้าและวิธีใช้

เปลือกและใบหว้า ใช้ทำยาอม ยากวาดคอ แก้ปากเปื่อย ลิ้นและคอมีเม็ด

ใบและเมล็ดหว้า ใช้แก้บิด มูกเลือด ท้องเสีย นำใบและเมล็ดหว้ามาต้มกับน้ำ แล้วนำน้ำที่ได้มาใช้ในการชะล้างแผลเน่าเปื่อย หรือนำใบและเมล็ดหว้ามาตำแล้วใช้ทาแก้โรคผิวหนัง

เมล็ดหว้า เมล็ดหว้าเมื่อนำมาต้มหรือบด แล้วนำมารับประทาน มีสรรพคุณใช้แก้เบาหวาน แก้บิด แก้ท้องร่วงได้

"ผลหว้าสุก" จะลักษณะสีม่วงดำ และมีรสเปรี้ยวฝาดอมหวาน จึงสามารถนำมาใช้ในการทำไวน์ได้ดี ส่วนยอดอ่อนของหว้า สามารถใช้รับประทานเป็นผักสด

เครื่องดื่มน้ำลูกหว้า

ส่วนผสม..

  1. -ผลลูกหว้าล้างสะอาดฝานเอาแต่เนื้อ 3 ถ้วยตวง
  2. -น้ำเชื่อม 1 ถ้วยตวง
  3. -เกลือป่น 1 ช้อนชา
  4. -น้ำสะอาด 2 ลิตร
  5. -น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ


วิธีทำ

1.นำเนื้อลูกหว้าที่ฝานไว้แล้ว ใส่ลงในหม้อ เติมน้ำนำไปตั้งไฟจนเดือด จากนั้นยกลง
2.กรองเอากากออก เติมน้ำเชื่อม เกลือป่น และน้ำมะนาว ตั้งไฟให้เดือดอีกครั้ง ยกลง
3.ตั้งน้ำลูกหว้าทิ้งไว้ให้เย็นแล้วเทใส่ขวดที่ล้างสะอาดและลวกน้ำร้อนแล้วปิดฝานำไปแช่ตู้เย็นดื่มใสน้ำแข็ง
4.วิธีเสิร์ฟ ตักน้ำแข็งใส่แก้ว รินน้ำลูกหว้าใส่ เสิร์ฟได้ทันที

คุณค่าทางโภชนาการ :

           ในผลลูกหว้าจะประกอบไปด้วยสารอาหารต่างๆ พลังงาน คาร์โบไฮเดรต เส้นใย

สรรพคุณทางยา :

           แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม ขับเสมหะแก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน เมารถเมาเรือ ช่วยให้เจริญอาหารกินข้าวได้ลดการจับตัวของลิ่มเลือด ช่วยย่อยอาหารโดยเพิ่มการหลั่งน้ำดีและน้ำย่อยต่างๆด้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยต้านมะเร็ง


รูปภาพประกอบเนื้อหา :
































ข้อมูลเพิ่มเติม :





การปลูกอ้อยคั้นน้ำ

การปลูกอ้อยคั้นน้ำพืชที่คนมองข้ามกำไรงาม



อากาศร้อนๆแบบนี้หากคิดถึงเครื่องดื่มเย็นๆหวานเจี๊ยบล่ะก้ออ..ผู้เขียนขอแนะนำน้ำอ้อยคั้นน้ำที่ช่วยดับกระหายคลายร้อนได้เป็นอย่างดีเลยหล่ะคร๊าบ...วันนี้ blogger farmfriend เลยจะขอเสนอวิธีการปลูกและดูแลรักษาอ้อยคั้นน้ำ ที่จะสร้างรายไดีให้เกษตรกรเป็นกอบเป็นกำเลยทีเดียว...


อ้อยที่นิยมนำมาคั้นน้ำและเป็นอ้อยเคี้ยวนั้น เปลือกและเนื้อจะนิ่ม เคี้ยวง่าย ให้ปริมาณน้ำอ้อยสูง รสชาติหอมหวาน อร่อย อย่างเช่น อ้อยพันธุ์ สิงคโปร์ เมอริชาร์ต สุพรรณบุรี 50 สุพรรณบัรี 72 เป็นต้น...




การปลูกอ้อยคั้นน้ำนั้นเกษตรกรกำลังนิยมปลูกกัยมากขึ้นเพราะให้ผลตอบแทนต่อไร่สูงมาก เมื่อเทียบกับการปลูกอ้อยโรงงาน และตลาดการบริโภคน้ำอ้อยสดก็กำลังขยายเป็นที่นิยมมากขึ้น
เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยคั้นน้ำกล่าวว่า ปลูกอ้อยคั้นน้ำพันธุ์ เมอริชาร์ต และสิงคโปร์ พื้นที่หนึ่งไร่ ปลูกอ้อยได้ 1,060 กอ โดยใช้ระยะปลูก 1.5x 1 เมตร หลังปลูกได้ 8 เดือนก็สามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว โดยอ้อยแต่ละกอจะให้ผลผลิตประมาณ 5-6 ลำ เฉลี่ยพื้นที่ 1 ไร่จะอยู่ที่ประมาณ 5,000 ลำ อ้อยคั้นน้ำขายที่ลำละ 10 บาท ทำให้มีรายได้สูงถึงไร่ละ 50,000 บาท เลยทีเดียว แต่ถ้านำมาคั้นน้ำบรรจุขวด อ้อยหนึ่งลำจะคั้นน้ำได้ 3-4 ขวด (ขวดขนาด 350 ซีซี) ขายราคาขวดละ 10 บาท ก็จะช่วยเพิ่มรายได้ถึง 150,000-200,000 เลยทีเดียว นับว่า อ้อยคั้นน้ำเป็นอีกพืชทางเลือกที่จะส่งผลตอบแทนให้เกษตรกรได้ดีเลยทีเดียว....





พันธุ์อ้อยคั้นน้ำที่ผู้เขียนจะแนะนำนั้นคือพันธุ์ สุพรรณบุรี 50 จะมีลักษณะใบสีเขียวเข้ม ลำขนาดใหญ่ สีเขียวอมเหลือง ปล้องยาว ให้ผลผลิตต่อกอ 5-6 ลำ ไว้ตอได้ 3-4 ครั้ง ต้านทานต่อโรคลำต้นเน่าแดง อายุการเก็บเกี่ยวที่ 8 เดือน ให้ผลผลิตต่อไร่สูงถึง 4,600-5,200 ลิตร มีค่าความหวานอยู่ที่ 15-17 องศาบริกซ์ เหมาะสำหรับปลูกทั้งในที่ลุ่มและที่ดอน..นับว่าเป็นสายพันธุ์อ้อยคั้นน้ำที่ทนต่อทุกสภาพพื้นที่ ทนต่อโรค ให้ปริมาณน้ำอ้อยเยอะ ให้ความหวานสูง ปลูกครั้งเดียวไว้ตอได้ 3-4 ครั้ง ทำให้ลดต้นทุนในการปลูกได้มาก ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น.....




การปลูกอ้อยคั้นน้ำนั้นเราจะต้องมีการเตรียมดินก่อน...

การเตรียมดิน




- ในสภาพที่ลุ่ม ต้องขุดเป็นรองหรือยกร่อง โดยมีสันร่องกว้าง 5-6 เมตร ความยาวร่องตามขนาดพื้นที่ และให้มีคูน้ำรอบแปลงลึกประมาณ 1 เมตร ในสภาพที่ดอน เป็นการปลูกในพื้นที่ราบจึงควรมีการปรับระดับพื้นที่ให้มีความลาดเอียงประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์

- ถ้าดินมีอินทรีย์วัตถุต่ำกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ ควรหว่านปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดีแล้วอัตรา 1,000-2,000 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วพรวนกลบ

- ไถด้วยผาลสาม 1 ครั้ง ลึก 30-50 เซนติเมตร ตากดิน 7-10 วัน พรวนด้วยผาลเจ็ด 1-2 ครั้ง แล้วคราดเก็บเศษซาก ราก เหง้า หัว และไหล ของวัชพืชข้ามปี ออกจากแปลง

- ในสภาพที่ลุ่ม ให้ทำร่องปลูกตามแนวขวางบนสันร่อง ระยะระหว่างร่อง 0.75-1.0 เมตร ในสภาพที่ดอน ให้ยกร่อง ระยะระหว่างร่อง 1.2-1.5 เมตร

การเตรียมท่อนพันธุ์อ้อยคั้นน้ำ



- ใช้ท่อนพันธุ์อายุ 6-8 เดือน จากแหล่งและแปลงที่ไม่มีโรคลำต้นเน่าแดงระบาด หรือจัดทำแปลงพันธุ์ไว้ใช้เอง เพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยเตรียมแปลงพันธุ์ 1 ไร่ สำหรับแปลงปลูก 10 ไร่

- ใช้มีตัดลำอ้อยชิดโคน และตัดยอดอ้อยต่ำกว่าคอใบสุดท้ายที่คลี่แล้วประมาณ 20 เซนติเมตร ลอกกาบใบ ตัดอ้อยเป็นท่อน จำนวน 3 ตาต่อท่อน แล้วนำไปปลูกทันที ไม่ควรทิ้งไว้เกิน 7 วัน

- ตรวจแปลงพันธุ์อย่างสม่ำเสมอ ถ้าพบการระบาดของโรคลำต้นเน่าแดง ต้องขุดกออ้อยออก เผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที


วิธีการปลูกอ้อยคั้นน้ำ




- ปลูกเป็นแถวเดี่ยวทั้งในแปลงพันธุ์และแปลงปลูก

- วางท่อนพันธุ์ในร่อง ให้มีระยะระหว่างท่อน 50 เซนติเมตร

- กลบดินให้สม่ำเสมอ หนา 3-5 เซนติเมตร สำหรับพันธุ์สุพรรณบุรี 50 และหนา 1-2 เซนติเมตร สำหรับพันธุ์สิงคโปร์

การให้ปุ๋ยอ้อยคั้นน้ำ

- ให้ปุ๋ยเคมีหลังปลูก หรือหลังแต่งตออ้อย 2 ครั้ง

ดินร่วน ดินร่วนเหนียว หรือ ดินเหนียว ให้ปุ๋ยสูตร 16-8-8 ครั้งแรกเมื่ออายุ 1 เดือน อัตรา 35 กิโลกรัมต่อไร่ ครั้งที่สองเมื่ออายุ 3 เดือน อัตรา 40 กิโลกรัมต่อไร่

ดินร่วนปนทราย ให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 ครั้งแรกพร้อมปลูก อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ครั้งที่สองเมื่ออายุ 3 เดือน อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่

- ในอ้อยปลูก ให้ปุ๋ยแบบโรยเป็นแถวข้างกออ้อยแล้วพรวนกลบ ในอ้อยตอ ให้ฝังกลบปุ๋ยห่างจากกออ้อย 10-15 เซนติเมตร


การให้น้ำสำหรับอ้อยคั้นน้ำ




- ให้น้ำทันทีหลังปลูก เพื่อให้อ้อยงอกสม่ำเสมอ หลังจากนั้นให้น้ำทุก 2-3 สัปดาห์

ในสภาพที่ลุ่ม ให้น้ำโดยการตักน้ำสาดหรือใช้เครื่องสูบน้ำวางลงในเรือขนาดเล็ก สูบน้ำจากร่อง

ในสภาพที่ดอน ให้น้ำประมาณครึ่งร่อง โดยไม่ต้องระบายน้ำออก

- งดให้น้ำ 2 สัปดาห์ก่อนเก็บเกี่ยว ถ้าในช่วงเก็บเกี่ยวมีฝนตกหนัก ต้องระบายน้ำออกจากร่องทันทีให้เหลือไม่เกินครึ่งร่อง

ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม

- เก็บเกี่ยวอ้อยที่อายุประมาณ 8 เดือน

- น้ำอ้อยมีความหวาน 13-17 องศาบริกซ์

- ลำอ้อยมีความยาวไม่น้อยกว่า 2 เมตร

- ควรเก็บเกี่ยวในช่วงเข้าหรือเย็น ขณะที่อากาศไม่ร้อนจัด

วิธีการเก็บเกี่ยวอ้อยคั้นน้ำ


- ตัดเฉพาะลำอ้อยที่มีอายุ 8 เดือน สังเกตได้คือ พันธุ์สุพรรณบุรี 50 จะมีลำสีเขียวอมเหลือง สำหรับพันธุ์สิงคโปร์ จะมีสีเหลืองเข้ม

- ใช้มีดถากใบและกาบออกทั้งสองด้าน อย่าให้เปลือกหรือลำเสียหาย ตัดลำอ้อยชิดดิน แล้วตัดยอดอ้อยต่ำกว่าจุดคอใบประมาณ 25 เซนติเมตร วางบนแคร่หรือพื้นที่สะอาด ห้ามวางบนพื้นดินใช้ยอดอ้อยหรือเชือกฟางมัดโคนและปลายลำอ้อย มัดละ 10 ลำ แล้วใส่รถบรรทุกนำส่งให้ลูกค้าทันที หรือนำไปไว้ในที่ร่มเพื่อเตรียมจัดส่ง 



ข้อมูลเพิ่มเติม :คลิก

แหล่งข้อมูลที่น่าสนใจ (เลื่อนลงด้านล่าง)


















ขอบคุณที่มาของข้อมูลต่าง ๆ ไว้ ณ ที่นี้